Gen Z ครองแชมป์โฆษณามีผลการตัดสินใจ

16 ม.ค. 2563 | 05:53 น.

กสทช. จับมือ ม.ธรรมศาสตร์ สำรวจการบริโภคสื่อคนไทย พบ GenZ รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาสูงสุด

ล่าสุดสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานกสทช. ร่วมกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการสำรวจโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คนจากทั่วประเทศ จากโครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง โดยแบ่งพื้นที่ออก เป็น 5 ภูมิภาค 26 จังหวัด โดยการสำรวจครอบคลุมพฤติกรรมการบริโภคสื่อหลายแง่มุมด้วยกัน ซึ่งในบทความได้กล่าวถึงอิทธิพลของสื่อโฆษณาที่มีต่อผู้บริโภค ดังนี้

Gen Z ครองแชมป์โฆษณามีผลการตัดสินใจ

จากอิทธิพลของโฆษณาในภาพรวมที่มีระดับแตกต่างกันแล้ว สื่อโฆษณาแต่ละประเภทยังมีอิทธิพล ต่อผู้บริโภคในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันอีกด้วย โดยกลุ่มผู้บริโภคที่อายุมากกว่าอย่าง Gen G.I. Baby Boomer และ GenX จะมีสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุดประมาณ 43%  39.3%  และ 36.1% ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่าอย่าง GenY และ GenZ จะได้รับอิทธิพลจากสื่อออนไลน์ มากที่สุดราว 54.1% และ 68.1% ตามลำดับ

 

ขณะเดียวกันอิทธิพลของสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุมีแนวโน้ม ลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุของผู้บริโภคลดลง สวนทางกับอิทธิพลของสื่อโฆษณาออนไลน์และสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่งแนวโน้มการมีอิทธิพลของสื่อโฆษณาที่จำแนกตามช่วงอายุยังสอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกใช้อุปกรณ์สื่อสารของแต่ละช่วงวัย ขณะที่กลุ่มผู้บริโภค GenX Baby Boomer และ Gen G.I. เลือกใช้โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์สื่อสารหลัก สวนทางกลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่ากลับ มีอัตราการใช้โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์สื่อสารหลักน้อยกว่าแต่มีอัตราการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มากก ว่า

Gen Z ครองแชมป์โฆษณามีผลการตัดสินใจ

นอกจากนี้ยังพบว่า สื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจยังโดยแบ่งเป็นภูมิภาคดังนี้  ผู้บริโภคภาคใต้ยอมรับว่าสื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่ที่ 63.7% ขณะที่ภาคอื่นพบว่าสื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80.2%ภาคกลางที่ 79.3% กรุงเทพฯ และปริมณฑล 77.0% และ ภาคเหนือ 72.1%

Gen Z ครองแชมป์โฆษณามีผลการตัดสินใจ

และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจร่วมกับระดับรายได้ โดยแบ่ง รายได้ครัวเรือนออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1.ผู้มีรายได้ 12,000 บาท/เดือน  2.ผู้มีรายได้ 12,001–20,000 บาท/เดือน 3.ผู้มีรายได้ 20,001–30,000 บาท 4. ผู้มีรายได้ 30,001–50,000 บาท และ 5.ผู้มีรายได้ 50,001 บาท ขึ้นไป โดยพบว่ารายได้ไม่ได้มีผลต่อการมีอิทธิพลของสื่อโฆษณา  ยกเว้นในกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนต่ำกว่า 12,000 บาท ที่มีผู้ระบุว่า สื่อโฆษณาไม่มีมีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่ 36.3%  ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ 20,001–30,000 บาท ที่มีผู้ไม่เชื่อในสื่อโฆษณารองลงมาที่ 25.2%