ยื่นศาลปกครองสูงสุดทบทวนคดี "ซีพี" ชิงอู่ตะเภา

15 ม.ค. 2563 | 04:30 น.

คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯเดินคู่ขนานคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ทั้งจะยื่นขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาทบทวนคดีซีพีชิงอู่ตะเภา

ล่าสุดในวันนี้(15 มกราคม2563)ทางคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก  ได้ชี้แจงผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานคณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก แถลงผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2563 สรุปสาระสําคัญดังนี้

คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้รับทราบคําพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จากกรณีที่กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี)และพันธมิตร ที่ได้ยื่นคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำ ที่ อ.381/2562 เกี่ยวกับประเด็นที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติไม่รับพิจารณาข้อเสนอกล่องที่ 6 และกล่องที่ 9 ที่ผู้ยื่นข้อเสนอนำมายื่นภายหลังเวลาที่กำหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชนต่อศาลปกครองสูงสุด โดยในวันที่ 10 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในส่วนที่ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอกล่องที่ 6 และกล่องที่ 9 ของกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร

โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติรับทราบและปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และพิจารณาดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในขั้นตอนต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในที่ประชุมได้มีการพิจารณาผลการประเมินเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านเทคนิค) ของกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเป็นการประเมินแบบให้คะแนน (Scoring) ผลการประเมินพบว่าข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านเทคนิค) ของกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร มีคะแนนของแต่ละข้อย่อยไม่น้อยกว่าร้อยะ 75 และคะแนนรวมของทุกหัวข้อย่อยไม่น้อยกว่า 80 คะแนน

ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีมติให้ข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านเทคนิค) ของกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ผ่านการประเมิน ทำให้มีผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ( ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมและให้ความเสมอภาคแก่ผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย โดยตลอดกระบวนการได้เชิญผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้าร่วมด้วยในทุกขั้นตอน

ยื่นศาลปกครองสูงสุดทบทวนคดี "ซีพี" ชิงอู่ตะเภา

ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เอกชนผู้ชนะการคัดเลือกภายในเดือนมีนาคม 2563 บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เข้าร่วมการเปิดเอกสารข้อเสนอซองที่ 3 (ข้อเสนอด้านราคา) ในวันที่ 17 มกราคม 2563 โดยได้มีมติให้มีหนังสือเชิญผู้ยื่นข้อเสนอรายที่  1. กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส และ ผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ 2 กลุ่ม Grand Consortium ซึ่งได้ทำการเปิดเอกสารซองที่ 3 (ข้อเสนอด้านราคา) ไปแล้ว เข้าร่วมการเปิดซองข้อเสนอในวันดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย

อนึ่งเพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ได้แก่การเจรจากับเอกชนที่ให้ผลตอบแทนต่อภาครัฐที่ดีที่สุดเป็นไปด้วยความรอบคอบและรวดเร็ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้มีมติให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเจรจา 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานเจรจาเงื่อนไขสัญญา และคณะทำงานเจรจาด้านเทคนิค

“นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีการพิจารณาคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้ว และเห็นว่าสืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดมีผลต่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ประกอบกับเป็นกรณีที่กฎหมายได้กำหนดช่องทางให้สามารถดำเนินการได้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีมติให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาพิพากษาคดีใหม่” 

คณะกรรมการคัดเลือกฯ ขอยืนยันว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมและให้ความเสมอภาคแก่ผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย โดยตลอดกระบวนการได้เชิญผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้าร่วมด้วยในทุกขั้นตอน ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เอกชนผู้ชนะการคัดเลือกภายในเดือนมีนาคม 2563