สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (49)

16 ม.ค. 2563 | 04:05 น.

คอลัมน์ทางออกนอกตำรา ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3540 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 16-18 ม.ค.63 โดย... บากบั่น บุญเลิศ


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน'
ประวัติศาสตร์การประมูล (49)



          ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด
          กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
          สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามเรื่องสัญญาในเรื่องข้อพิพาทและการยกเลิกโครงการ
          2) ในส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้นำข้อ 30.2(1)(ค)3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่มีการนำรายได้ที่เกิดจากการประมูลให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้พร้อมทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้นั้น (ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ) มาชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(2)(ค)1) แต่ทั้งนี้ไม่เกินกว่ารายได้ที่ รฟท.ได้รับจากการประมูลให้เช่าข้างต้น
          3) ในระหว่างการดำเนินการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของ รฟท.เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม อันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้ หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
          ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญา จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม

          (3) การเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
          (ก) การใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ กรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29 เกิดขึ้น รฟท.อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนนี้ ได้ทันที โดยมิต้องบอกกล่าวใดๆ อีก (ข) ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ
          1) กรณีเหตุการณ์ตามข้อ 29 เกิดขึ้นโดยเป็นความผิดของเอกชนคู่สัญญา คู่สัญญาตกลงให้ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(1)(ค)
          2) กรณีเหตุการณ์ตามข้อ 29 เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา คู่สัญญาตกลงให้ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเป็นไปตามที่กฎหมายไทยกำหนด
          3) ในระหว่างการดำเนินการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้ หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
          ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม
          (4) การเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน (ก) การใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)และเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)
          กรณีเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)หรือเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)เกิดขึ้นและเหตุดังกล่าวมีความรุนแรงถึงขนาดที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเห็นว่าเหตุดังกล่าวทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้สมดังวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของสัญญาร่วมลงทุนนี้ ให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะให้มีการเลิกสัญญาร่วมลงทุนหรือไม่ โดยหากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ให้มีการเลิกสัญญาร่วมลงทุน โดยให้นำผลของการเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามข้อ 30.2(4)(ข) มาบังคับ แต่หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ให้มีการดำเนินการระงับข้อพิพาทตามข้อ 39.12
          (ข) ผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน 1) กรณีมีการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1)และผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2)คู่สัญญาตกลงว่า
          ก) กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ในส่วนของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ซึ่งปลอดจากการรอนุสิทธิและภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้นให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากับมูลค่าทางบัญชีรวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงิน ที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี โดยค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้
          ข) กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) รฟท.ตกลงชำระค่าชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญา ดังต่อไปนี้

          1. สำหรับทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ จะชำระเท่ากับมูลค่าทางบัญชีหักด้วยเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่เอกชนคู่สัญญาได้รับแล้ว (ซึ่งเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯดังกล่าวจะต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าเสื่อมราคาสะสมที่ใช้คำนวณมูลค่าทางบัญชีของงานดังกล่าว ณ วันที่วัดมูลค่าค่าชดเชย) ทั้งนี้ โดยค่าชดเชยสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟจะต้องไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ และ
          2. ชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี ทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ การชำระค่าชดเชยข้างต้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ โดยหากไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทดังกล่าว ในกรณีนี้เอกชนคู่สัญญา จะต้องรื้อถอนบรรดาทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ (ไม่ว่าจะมีการก่อสร้างหรือติดตั้ง หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือการติดตั้ง) พร้อมทั้งส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ที่ รฟท.เป็นเจ้าของหรือจัดหาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน ให้แก่ รฟท.ในสภาพที่ รฟท.สามารถเข้าใช้ดำเนินการต่อได้ ณ วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลบังคับใช้ โดยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาทั้งสิ้น
          2) ในส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้นำข้อ 30.2(1)(ค)3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่มีการนำรายได้ที่เกิดจากการประมูลให้เช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เฉพาะในส่วนทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่เอกชนคู่สัญญาเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้พร้อมทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้นั้น (ซึ่งปลอดจากการรอนสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ) มาชดเชยให้แก่เอกชนคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กำหนดไว้ในข้อ 30.2(4)(ข)1) แต่ทั้งนี้ไม่เกินกว่ารายได้ที่ รฟท.ได้รับจากการประมูลให้เช่าข้างต้น
          3) ในระหว่างการดำเนินการผลของการใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) และเหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) ตามที่กำหนดไว้ในข้อนี้ เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ รฟท.ในการดำเนินโครงการฯ โดยเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการใดๆ หรือจัดให้มีการดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม อันจะมีผลทำให้การดำเนินโครงการฯ ต้องล่าช้าหรือหยุดชะงัก หรือไม่สามารถดำเนินการได้ หรือกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ
          ทั้งนี้ ในการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือข้างต้น รฟท.จะอนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินการข้างต้น รวมถึงกรณีที่เอกชนคู่สัญญาช่วยเหลือการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรม

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (48)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (47)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (46)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (45)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (44)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (43)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (42)
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (41)

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (40)