13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

07 ม.ค. 2563 | 13:25 น.

กยท. เปิดบ้านรับผู้แทนชาวสวนยางหารือแก้ราคายางตกต่ำ วันที่ 13 ม.ค.นี้ “อุทัย” เตรียมชงแผนแม่บทแก้ปัญหายาง เชื่อเป็นทางออกที่จะยกระดับราคายางทั้งโลกขยับพุ่ง

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ในวันที่ 13 มกราคมนี้  ได้รับเชิญจากนายประพันธ์ บุญยเกียรติ ประธานบอร์ดกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ให้เข้าพบเวลา 10 โมงที่สำนักงาน กยท. ที่บางขุนนนท์ สาระสำคัญที่จะเสนอ กล่าวคือ จากปัญหาที่ประสบมาตลอดได้ใช้ พรบ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503 จนเปลี่ยนมาเป็น พรบ. การยางแห่งประเทศไทย 2558 การแก้ปัญหายังคงไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเรียกได้ว่ายิ่งแก้ไขปัญหาเกษตรกรยิ่งยากจนลงเรื่อยๆ จนทุกวันนี้

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

“การส่งออกยางพาราของไทยส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้นเท่านั้นเพราะที่ผ่านมาการส่งออกไม่มีการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง จึงทำให้โครงสร้างการผลิตยางพาราของไทย มีความอ่อนแอและขาดความเชื่อมโยงที่ดีระหว่างภาคการผลิตทางเกษตรกรรม กับภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งจากตัวเลขในปี 2560 ผลผลิตยางพาราของประเทศไทย มีผลผลิต 4.429 ล้านตันส่งออกวัตถุดิบ 89.4%  ของปริมาณยางทั้งหมดในประเทศ มีมูลค่า 204,770 ล้านบาท แต่นำมาแปรรูผลิตภัณฑ์ในประเทศ 10.6% มีมูลค่า 262,380 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าถึง 5.33 เท่า”

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

จากความไม่สมดุลเชิงโครงสร้างในลักษณะดังกล่าว จึงทำให้เห็นว่า ระบบยางพาราของไทยยังไม่พัฒนาไปสู่ศักยภาพในการแข่งขันที่เข้มแข็งขึ้นได้ ซึ่งเกษตรกรยังคงมีรายได้เฉลี่ยในระดับที่ต่ำและเป็นรายได้ที่ไม่มีความมั่นคง อีกทั้งยังไม่สามารถพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความเจริญก้าวหน้าตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ของรัฐบาลได้ ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจังและจริงใจและรัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจน

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

นายอุทัย กล่าวว่า  ดังนั้น สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จึงมีมติในการแก้ไขปัญหายางพาราครบวงจรโดยใช้พื้นที่จังหวัดระยองนำร่อง (Pilot Project)  เพื่อเป็นโมเดล ถ้าประสบความสำเร็จ จึงขยายผลไปทั่วประเทศ จะเป็นการรักษาเสถียรภาพราคายางตามวัตถุประสงค์ของการยางแห่งประเทศไทย มาตรา 8(4) แก้ปัญหาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เชื่อว่าจะทำให้ราคายางมีความยั่งยืนได้

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

อาทิ ตาม พรบ. กยท. มาตรา 36 เกษตรกรมีความประสงค์ ขอรับการสนับสนุนการปลูกแทนตาม พรบ. นี้ให้ยื่นคำขอรับการส่งเคราะห์ตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่ง กยท. มีผู้ขอรับการสงเคราะห์ประมาณ 400,000 ไร่/ปี ถ้าคณะกรรมการกำหนดให้ผู้รับสงเคราะห์โค่นยางเก่าปลูกแทนยางใหม่ จากเดิม 70– 80 ตัน/ไร่ ให้เหลือ 40 ตัน/ไร่ ให้เว้นระยะห่างที่จะปลูกพืชแซมยาง อาทิเช่น เหลียง สับปะรด  กาแฟ กล้วย ฯลฯ  และในปีที่สอง ควรปลูกพืชร่วมยาง เช่น ไผ่  สะเดาช้าง กระถินยักษ์  ไม้พยุง ฯลฯ  และสวนยางขนาดเล็กโดยไม่เกิน 15 ไร่ ทาง กยท. ควรขุดสระ 1 ไร่ (โดยไม่ตัดเงินสงเคราะห์) เพื่อเลี้ยงปลา และไก่บนสระ เลี้ยงหมูหลุมรอบสวน เก็บน้ำไว้ใช้กับพืชแซมยาง ก็จะเป็นการแก้ปัญหา โดยไม่ต้องพึ่งการกรีดยางอย่างเดียว และเป็นการลดจำนวนต้นยางลงเพื่อปรับการผลิตได้ไม่เกินความต้องการใช้ยางของโลก(Over Supply)

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

ส่วนการพัฒนากลางน้ำ (ยางก้อนถ้วย) ทาง สยท. จึงร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว) ร่วมมือกันพัฒนายางก้อนถ้วยให้เป็นยางเกรดพรีเมียม เพื่อหลีกเลี่ยงคำว่า “ขี้ยาง” หรือเพื่อปรับให้มีคุณภาพดีขึ้นจึงทำให้ได้ราคาดี กยท.ควรที่จะให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนายางก้อนถ้วยหรือน้ำยางสดซึ่งสะอาด นำมาเข้าเครื่องเครปรีด แล้วนำไปอบแดดให้แห้ง ซึ่งจะมีคุณภาพดีกว่ายางแผ่นรมควัน ราคาก็จะเพิ่มขึ้น

                13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน  

ปิดท้ายการเพิ่มมูลค่ายาง ปลายน้ำ  ตาม พรบ. กยท. มาตรา 8 (1)  กยท.จะต้องบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบ อย่างครบวงจร ดังนั้นในการบริหารตั้งแต่ พรบ. กองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จน 2558 ได้เปลี่ยนมาเป็น พรบ. กยท. จนถึงปี 2562 รัฐบาลไทยมุ่งขายแต่วัตถุดิบ ซึ่งต้องขึ้นกับตลาดล่วงหน้าเป็นผู้กำหนดราคายางมาโดยตลอด แต่ถ้ารัฐบาลสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรม โดยหันไปสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นการเพิ่มมูลค่ายางและเป็นการสร้างงานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาไปสู่นวัตกรรม 4.0 กยท. ควรสร้างแบรนด์ให้ได้มาตรฐาน มอก. โดยเปลี่ยนจากการส่งวัตถุดิบมาส่งผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคายางก็จะเพิ่มขึ้นเอง โดยรัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องมาประกันรายได้  กยท. เพียงแต่สนับสนุนเกษตรกรตามมาตรา 49(3) ดังนั้น สยท. จึงขอเสนอตามนโยบายของ กนย. ขอความร่วมมือ 8 กระทรวงให้ใช้ยางพารา แต่เนื่องจากไม่มีผู้คิดตาม อาทิเช่น ทำถนนยางพาราดิน  ซอยซีเมนต์  ทำบังเกอร์ยาง  กรวยจราจรยาง  หลักถนนทางโค้ง  เขื่อนยาง  ยางปูสระน้ำ ฯลฯ  กนย. ควรมอบหมายให้ กยท. ติดตามงานและรายงานให้ประธาน กนย. ทราบทุกระยะ  เพื่อเพิ่มการใช้ยางในประเทศมากขึ้น

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

อย่างไรก็ดี จากกระแสในโลกออนไลน์การรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติก โดยเริ่ม 1 มกราคม 2563 ซึ่งทำให้เกิดความวุ่นวายดังข่าวที่สื่อนำเสนอ เหตุเพราะเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากความเคยชินที่สะดวกสบายในการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งมีมายาวนานติดต่อกัน 65 ปี โดยนักวิจัยชาวสวีเดนเป็นผู้คิดค้นถุงก๊อบแก๊ปมาก่อน แต่ถ้านโยบายที่ออกมาให้ยกเลิกการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเป็นการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ รัฐบาลควรที่จะต้องหาทางออก เพราะเพียงเริ่มไม่กี่วัน  ก็เกิดปัญหาที่สับสนวุ่นวาย โดยเฉพาะเสียงจากร้านค้ารายย่อย ได้รับผลกระทบ เพราะขายของได้น้อยลง และผู้ซื้อเกิดความโกลาหลวุ่นวายไปตามๆกัน ดังนั้น ต้นเหตุที่ควรแก้ปัญหาทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ขอเสนอแนวทางแก้ปัญหาจากต้นเหตุ 2 ประเด็น ดังนี้

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

ประเด็นแรก  ขอเสนอให้ใช้ยางพาราแบบเม็ดผสมกับเม็ดพลาสติกในอัตราส่วน 30 : 70  เพื่อลดการย่อยสลายถ้าใช้พลาสติกเพียงอย่างเดียว ใช้เวลาย่อยสลาย 3-400 ปี ให้ใช้ยางพาราผสม จะทำให้การย่อยสลายเหลือเพียง 3-4 ปีเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือทดสอบการย่อยสลายมีที่ประเทศญี่ปุ่นหรือเยอรมันนีเป็นผู้ผลิตเครื่องมือทดสอบ ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่า ถ้าใช้ยางพาราผสมพลาสติกทำเป็นกรวยจราจร จะทน ไม่แตกและถ้านำไปฝังกลบเพียง 3 – 4 ปีก็จะย่อยสลายได้

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

ควบคู่กับการขอให้มีการวิจัยนำยางผสมพลาสติกทำถุง ทำเก้าอี้ บัวรดน้ำ ของเล่นเด็ก ฯลฯ และทาง ปตท. ควรใช้ยางพาราผสมทำแกลอนมันเครื่อง จะเป็นการลต้นทุน และเป็นตัวอย่างของการรักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นการช่วยเกษตรกรชาวสวนยางในการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเป็นการดึงยางออกจากระบบ ราคายางก็จะปรับตัวสูงขึ้นเพียงแต่ควรมีการวิจัยให้ชัดเจน ในปัจจุบันทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยได้นำเสนอสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ให้ทำการวิจัยหรือนักวิจัยที่สนใจมาช่วยกันเพียงแต่ทางรัฐบาลจะต้องสนับสนุนงบวิจัย เพราะที่ผ่านมา สยท. เพียงทำกรวยจราจรซึ่งมีผลดี ถ้า วว. ได้วิจัยนำมาใช้ดังกล่าวจะเป็นการแก้ปัญหายางพาราผสมเม็ดพลาสติกและนำไปเผยแพร่ได้ทั่วโลกเพราะปัจจุบัน ราคายางถูกกว่าพลาสติกมาก

13 ม.ค. ‘ประพันธ์’ รับนัดถกแก้ปัญหาราคายางยั่งยืน

ประเด็นที่สอง เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นต้นแบบได้เสนอนำขยะทั้งหมดของประเทศไปผลิตไฟฟ้า จะทำให้ต้องสั่งขยะจากประเทศอื่นเข้ามาเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ ประเทศไทยก็ควรดำเนินการเช่นเดียวกับประเทศสวีเดน ปัญหาขยะในประเทศไทยก็จะใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าจากขยะที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในการเผาขยะให้เป็นพลังงานอีกด้วย ทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จึงขอเสนอแนวทางทั้งสอง มาแก้ปัญหาโดยมีความหวังให้ราคายางสูงขึ้น