กฎหมาย "แข่งขันทางการค้า" ด่านใหญ่ขวาง "ผูกขาด"

29 ธ.ค. 2562 | 05:33 น.

จากกรณีที่มีสื่อนอกอย่าง “บลูมเบิร์ก”  รายงานว่า มี  3 กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย จะซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทย  โดย 3 กลุ่มบริษัทใหญ่ จาก 3 ตระกูลคือ ซีพี ของตระกูลเจียรวนนท์  , เซ็นทรัล กรุ๊ป ของตระกูลจิราธิวัฒน์  และทีซีซี กรุ๊ป ของตระกูลสิริวัฒนภักดี แต่งานนี้เหมือน “ซีพี” ของเจ้าสัวธนินท์  เจียรวนนท์ จะมีภาษีมากสุด เพราะถือเป็นผู้ปลุกปั้น ก่อร่างสร้างชื่อ “เทสโก้ โลตัส” ในเมืองไทย ก่อนที่จะขายต่อออกไปในช่วงวิกฤต 

 

ล่าสุด “สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า(กขค.)” โดย นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ โฆษกคณะกรรมการ การแข่งขันทางการค้า  (กขค.) ได้ออกมาเตือนเช่นกันว่า หากการซื้อขายกิจการ “เทสโก้ โลตัส” เกิดขึ้นจริง จะต้องดำเนินการขออนุญาตและต้องได้รับการอนุญาตจากกขค. ก่อน ที่จะทำการรวมธุรกิจได้  เนื่องจากเข้าข่ายเป็นการรวมธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560

กฎหมายได้กําหนดแนวปฎิบัติไว้ 2 แนวทาง  คือ 1.  เมื่อมีการรวมธุรกิจแล้วอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีอํานาจเหนือตลาด  คือมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% และมียอดเงินขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจ 3 รายแรกในตลาดมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกิน 75%  ต้องขออนุญาต จาก กขค. ก่อนและต้องได้รับการอนุญาตจึงจะทําการรวมธุรกิจได้ 

2.  เมื่อมีการรวมธุรกิจแล้ว อาจก่อให้เกิดการแข่งขันลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ต้องแจ้งให้ กขค. ทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่รวมธุรกิจ  โดย กขค. ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าเป็นการรวมธุรกิจที่มียอดเงินขาย          ในตลาดตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และไม่ก่อให้เกิดการผูกขาด หรือ เป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอํานาจเหนือตลาด

กฎหมาย "แข่งขันทางการค้า" ด่านใหญ่ขวาง "ผูกขาด"

นายสันติชัย บอกอีกว่า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560โดยพ.ร.บ. แข่งขันทางการค้าฯ ได้กําหนดแนวปฎิบัติไว้ 2 แนวทาง  คือ 1.  เมื่อมีการรวมธุรกิจแล้วอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีอํานาจเหนือตลาด  คือมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% และมียอดเงินขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจ 3 รายแรกในตลาดมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกิน 75%  ต้องขออนุญาต จาก กขค. ก่อนและต้องได้รับการอนุญาตจึงจะทําการรวมธุรกิจได้ 2.  เมื่อมีการรวมธุรกิจแล้ว อาจก่อให้เกิดการแข่งขันลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ต้องแจ้งให้ กขค. ทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่รวมธุรกิจ  โดย กขค. ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าเป็นการรวมธุรกิจที่มียอดเงินขาย          ในตลาดตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และไม่ก่อให้เกิดการผูกขาด หรือ เป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอํานาจเหนือตลาด

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” โดยสรุปสาระสำคัญของ “พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า” ว่า กฎหมายฉบับนี้มี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” เป็นผู้รักษาการกฎหมาย โดยหลักการและเหตุผลของกฎหมายฉบับนี้  เพื่อป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบอันจะเป็นการส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเสรีและป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ 

“พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้า โดยห้ามผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด ผู้ประกอบธุรกิจใดซึ่งร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่น  ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักร กระทำการใดๆอันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน จำกัดการแข่งขันในตลาดสินค้าหรือบริการหรือกระทำการอื่นใดอันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งกระทำการรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการผูกขาด หรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันและมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน จำกัดการประกอบธุรกิจ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า”

กฎหมายจึงกำหนดให้มี “คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า” ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ปัจจุบัน มี “ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา”  เป็นประธานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นอดีตเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์
 

กฎหมาย "แข่งขันทางการค้า" ด่านใหญ่ขวาง "ผูกขาด"

ดังนั้นถ้าผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะกระทำการอันก่อให้เกิดการผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน จะต้องยื่นคำขอตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าประกาศกำหนดตามขั้นตอน ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้โดยส่งคำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ประกอบธุรกิจ  โดยในคำสั่งนั้นต้องระบุเหตุผล ปัญหาข้อเท็จจริง แต่ในกรณีนี้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับคำสั่งและไม่เห็นด้วยกับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 

แต่ถ้าหากว่า คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจกระทำการฝ่าฝืนมาตรการป้องกันการผูกขาดทางการค้าตามที่บัญญัติ ก็มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจระงับ หยุด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการกระทำดังกล่าวได้ และถ้าผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับคำสั่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์อีกเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้กฎหมายยังเปิดช่องให้ ในกรณีมีบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจกระทำการผูกขาดหรือจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายโดยให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคหรือสมาชิกของสมาคมได้  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ดีลยักษ์‘โลตัส’3แสนล้าน ‘ซีพี-เจริญ-เซ็นทรัล’โดดซื้อยึดตลาดค้าปลีก

ซีพี ซื้อ “โลตัส” ไม่ง่าย “กขค.” จ้องอยู่