จับตาเทรนด์โซเชียลพลิกเกมธุรกิจปี 2020

27 ธ.ค. 2562 | 07:38 น.

    ปี 2020 ถือเป็นทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่ได้พลิกโฉมการประกอบธุรกิจแบบดั้งเดิมทั่วโลกไปโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจ การตลาด ไปจนถึงการสร้างธุรกิจให้เติบโต ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเด่นชัดในเอเชีย เนื่องจากทุกประเทศล้วนมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้เศรษฐกิจในแถบนี้เติบโตเร็วมากที่สุดอีกภูมิภาคหนึ่งในโลก

“ชายหนุ่มผู้ขายอาหารทะเลผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง ธุรกิจจำหน่ายขนมเทมเป้ที่เปิดช้อปบน Instagram เฉพาะ และแพลตฟอร์มด้านการศึกษาที่ให้บริการการเรียนการสอนออนไลน์ได้ทั้งในและนอกประเทศได้อย่างไม่มีข้อจำกัด นี่คือตัวอย่างของธุรกิจต้นแบบที่แจ้งเกิดจากการใช้นวัตกรรมได้เหนือชั้นอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน”

จับตาเทรนด์โซเชียลพลิกเกมธุรกิจปี 2020

    นายจอห์น แวกเนอร์ ผู้อำนวยการบริหาร Facebook ประเทศไทย เปิดเผยว่า จากรายงานของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก McKinsey1 มีการคาดการณ์ว่าเอเชียจะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีโลก เนื่องจากทิศทางการค้าการลงทุนข้ามพรมแดนทั่วโลกจะเคลื่อนย้ายมาทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย รายงานนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจอาจเปลี่ยนกระแสโลกาภิวัตน์ไปสู่กระแสภูมิภาคนิยมได้ โดย 60% ของการซื้อขายสินค้าที่ผลิตโดยประเทศในเอเชียนั้นเกิดขึ้นภายในภูมิภาค นอกจากนี้ 71% ของการลงทุนในสตาร์ทอัพในเอเชียยังถือเป็นการลงทุนระหว่างภูมิภาค ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเอเชียนั้นนิยมเดินทางท่องเที่ยวในเอเชีย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 74%1

       ช่วงต้นปี 2019 เฟซบุ๊กได้เผยถึง 3 เทรนด์ที่กำลังมาแรงบนแพลตฟอร์มของเรา ไม่ว่าจะเป็นการแชร์คอนเทนต์แบบชั่วคราว คอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ และการส่งข้อความทางแชท ซึ่งในเอเชียเราจะเห็นพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่การใช้แพลตฟอร์ผ่านมือถือที่เพิ่มขึ้น มีคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอมากขึ้น มีการใช้ Stories มากขึ้น ไปจนถึงการสนทนาและการทำธุรกิจผ่านการทักแชทที่จะเพิ่มมากขึ้น  โดยเอเชียครองตลาดของผู้ใช้งานมือถือรายใหม่มากที่สุดในโลกซึ่งมีถึง 61% เมื่อเทียบกับโซนยุโรปตะวันออกกลาง-แอฟริกา (25%) และสหรัฐอเมริกา (14%) นอกจากนี้ยังมีจำนวนผู้ชมวิดีโอในเอเชียเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในปี 2019 กว่า 54% ของผู้ชมวิดีโอสตรีมมิ่งทั่วโลกมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Video on Mobile หรือวิดีโอที่รับชมบนมือถือจะมอบประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม และแปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยอีกมากมาย จากการศึกษาวิจัยและประสบการณ์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้เห็นว่าประสบการณ์การรับชมวิดีโอที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ กลุ่มที่รับชมวิดีโอระหว่างเดินทาง “on-the-go” และ กลุ่มที่ชื่นชอบการดูและตั้งใจเข้ามารับชมวิดีโอ “captivated viewing”

    ขณะที่เมื่อต้นปี 2018 มีการส่งข้อความผ่านเฟซบุ๊กกว่า 8 พันล้านข้อความระหว่างผู้คนกับธุรกิจบน Messenger ทุกๆ เดือน และเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 2 หมื่นล้านข้อความในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนคาดหวังที่จะสื่อสารกับธุรกิจในลักษณะเดียวกันกับที่พวกเขาส่งข้อความให้กับเพื่อนๆ เมื่อผู้คนใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความกันมากขึ้น เราสามารถช่วยให้ธุรกิจปรับตัวตามเทรนด์นี้ได้ทันเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีธุรกิจที่ใช้ Messenger เป็นประจำทุกเดือนมากกว่า 40 ล้านราย รายงานยังระบุว่า  

      ทั้งนี้ประเด็นย่อยที่น่าสนใจก็คือ ความนิยมส่งข้อความกันมากขึ้นสะท้อนถึงการเติบโตของการซื้อขายสินค้าผ่านการส่งข้อความและแชทออนไลน์อีกด้วย จากรายงานการศึกษาระดับโลกซึ่งจัดทำโดย Boston Consulting Group ร่วมกับ Facebook ใน 9 ประเทศ พบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นนำเทรนด์การซื้อขายสินค้าผ่านแชทออนไลน์แซงหน้าประเทศอื่นๆ ทั้งในแง่การรับรู้และการใช้แชทออนไลน์เพื่อการซื้อสินค้า และประเทศไทยมียอดการทำธุรกรรมจากการซื้อขายผ่านแชทออนไลน์มากที่สุดเป็นอันดับแรก คิดเป็น 40% ตามมาด้วยเวียดนาม 36% อินโดนีเซีย 29% มาเลเซีย 26% และฟิลิปปินส์ 23% ในขณะที่สัดส่วนการซื้อขายผ่านแชทออนไลน์ในประเทศอื่นยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อาทิ สหรัฐอเมริกา 5% เม็กซิโก 6%อินเดีย 10% และบราซิล 11% ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสสำคัญในการเติบโตเช่นกัน

       อย่างไรก็ตามการพัฒนาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าภูมิทัศน์การค้าจะยังคงเปลี่ยนแปลงต่อไป ตามพฤติกรรมและวิธีที่ผู้คนเลือกจะโต้ตอบกับธุรกิจ ผ่านประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพวกเขา โดยยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยอิทธิพลของแพลตฟอร์มและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนมือถือ การสร้างธุรกิจและแบรนด์ให้ปรากฏบนแพลตฟอร์มและค้นหาได้ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะให้ธุรกิจคว้าชัยชนะในศึกการค้ายุคใหม่ได้สำเร็จ  การสร้างความสัมพันธ์ธุรกิจต่างๆ สร้างความสัมพันธ์กับผู้คนเพื่อลดช่องโหว่และสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

 
         สุดท้ายแล้ว ธุรกิจควรเลือกวัดผลเฉพาะสิ่งที่สำคัญ แบรนด์ต้องใช้พื้นที่ของตัวเองในการรังสรรค์ไอเดียให้เป็นจริง เพื่อที่จะดึงดูดความสนใจและรักษาความสนใจจากผู้คนให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยการขยายพื้นที่ให้ใหญ่มากขึ้น น่าสนใจมากขึ้น หรือเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น ที่สำคัญธุรกิจต้องกำหนดวัตถุประสงค์ได้อย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับการวัดผลลัพธ์ ซึ่งจะช่วยในการวางแผนธุรกิจใหม่และสร้างประสบการณ์ที่มอบทางเลือก  การตอบโจทย์เฉพาะบุคคล มีการโต้ตอบ และมีความเกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม