กรกฎาคม 2563 ปฐมบท เลือกตั้งท้องถิ่น

29 ธ.ค. 2562 | 03:00 น.

 

แม้ว่า “พ...การเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น .. 2562” ที่ประกาศให้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2562 ในมาตรา 11 ได้บัญญัติไว้ว่า ให้จัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระ หรือภายใน 60 วัน นับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระเว้นแต่ในกรณีของสมาชิกสภาท้องถิ่น ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึง 180 วัน จะไม่จัดการเลือกตั้งก็ได้

ขณะที่ใน บทเฉพาะกาล มาตรา 142 นั้น ระบุเงื่อนไขและขั้นตอนไว้ว่า ในการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังจากที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี” (ครม.) เห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทราบเพื่อประกาศให้มีการเลือกตั้ง

...แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่สามารถ จัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ด้วยเหตุผลมากมาย...

 

เลือกตั้งท้องถิ่นเริ่มก..63

กลางเดือนพฤศจิกายน 2562 คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ..พิษณุโลก พรรคอนาคตใหม่ เป็นประธานกมธ. ได้เชิญภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยว ข้องมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความล่าช้าที่เกิดขึ้น ได้รับคำชี้แจงว่า เกิดจากหลายปัจจัย อาทิ การสำรวจจำนวนประชากรในช่วงเดือนมกราคม 2563, ...งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ที่คาดว่าจะผ่านการพิจารณาได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ทั้งนี้ จากข้อมูลเบื้องต้น กกต. คาดว่าจะใช้งบประมาณเพื่อเตรียมการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นในปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 1,141 ล้านบาทรวมถึงความพร้อมเกี่ยวกับกฎหมายที่ กกต.จะต้องปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน

อย่างไรก็ดี พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สรุปกรอบเวลาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นเอาไว้ว่า เมื่อ กกต.ออกระเบียบต่างๆ เสร็จในเดือนธันวาคม ก็จะเสนอให้ ครม.เห็นชอบเพื่อส่งผ่านสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายใน 120 วัน โดยการเลือกตั้งผู้ว่าฯการกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะเกิดขึ้นเป็นอย่างแรก ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเริ่มเกิดขึ้นไม่เกินเดือนกรกฎาคม 2563

 

กกต.เตรียมเลือกตั้งท้องถิ่น

กระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 กกต.ได้ออกระเบียบคณะ กรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น .. 2562” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จำนวน 18 หมวด 228 ข้อ และบทเฉพาะกาล 3 ข้อ รวม 231 ข้อ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ ในข้อ 2 ระบุว่า ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก ระเบียบกกต.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฉบับต่างๆ รวม 8 ฉบับ และยก เลิกประกาศกกต.เรื่องมอบอำนาจให้กกต.จังหวัดดำเนินการรับคำร้องและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นปี 2552

หมวด 1 บททั่วไป ส่วนที่ 1 การประกาศให้มีการเลือกตั้ง ในข้อ 6 ระบุว่า ก่อนวันครบวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือกรณีที่จะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้หัวหน้า พนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นแจ้งให้ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบเพื่อเตรียมการจัดให้มีการเลือกตั้งและให้รายงาน กกต.โดยเร็ว

ข้อ 7 ให้ผอ.เลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอร่างประกาศให้มีการเลือกตั้งตามแบบต่างๆ แล้วแต่กรณีต่อผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด เมื่อผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัดได้เห็นชอบตามมาตรา 12 วรรค 1 แห่งพ...การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ..2562 แล้วให้ ผอ.เลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศให้มีการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน

หมวด 2 เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง ส่วนที่ 1 เขตเลือกตั้ง ข้อ 12 เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

 

 

กรกฎาคม 2563  ปฐมบท เลือกตั้งท้องถิ่น

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

 

(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง 150,000 คน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะพึงมี โดยแต่ละเขตเลือกตั้งต้องมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกัน สำหรับจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะพึงมีในแต่ละเขตให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่า 1 คน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น และมีสมาชิกเขตเลือกตั้งละ 1 คน สำหรับจำนวนสมาชิกสภา อบจ.ที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น

(3) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็น 2 เขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็น 3 เขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็น 4 เขตเลือกตั้ง ในการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลหรือสมาชิกสภาเมืองพัทยาเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง

(4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต.ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและอบต.จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

(5) การเลือกตั้งสมาชิกสภา อปท.อื่น ให้ถือเขตของ อปท.นั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งอปท.นั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น


 

 

 

ข้อ 13 ให้ ผอ.เลือกตั้งจังหวัด ดำเนินการเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละอปท.ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและหลักเกณฑ์ข้างต้นโดยพิจารณาจำนวนราษฎรของ อปท.จากประกาศจำนวนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งโดย

(1) ต้องให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันมากที่สุด

(2) ให้แบ่งพื้นที่ของแต่ละเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ติดต่อกัน เว้นแต่ตามสภาพพื้นที่ของ อปท.ทำให้ไม่อาจแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ติดต่อกันได้ จะกำหนดให้เขตเลือกตั้งมีพื้นที่ไม่ติดต่อกันเท่าที่จำเป็นก็ได้ ในเขตเทศบาลหรือเขตชุมชนหนาแน่นอาจกำหนดให้ใช้แนวเขตภูมิประเทศ เช่น ถนน ตรอก ซอย หรือแยก คลอง หรือแม่นํ้าเป็นแนวเขตเลือกตั้งก็ได้

(3) คำนึงถึงตำบลที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุดเป็นหลัก

(4) คำนึงถึงการเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน

ในการดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ ผอ.เลือกตั้งจังหวัด ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ โดยในแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดประกอบด้วย อาทิ แผนที่ภาพสีที่แสดงมาตรา ส่วนมาตรฐานที่มีรายละเอียดแสดงความแตกต่างระหว่างเขตเลือกตั้งได้อย่างชัดเจน และบรรยายแนวเขตโดยรอบพื้นที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง หรือระบุท้องที่ที่ประกอบเป็นเขต เลือกตั้งก็ได้ เป็นต้น

ในบทเฉพาะกาล ข้อ 231 ระบุว่า ภายหลังระเบียบนี้มีผลใช้บังคับให้หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นดำเนินการสรรหา บุคคลเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้ดำเนินการตามหมวด 3 เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ส่วนที่ 2 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอให้กกต.พิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำอปท.ให้แล้วเสร็จก่อนประกาศให้มีการเลือกตั้ง

 

เลือกตั้ง“ผู้ว่าฯกทม.”ก่อน

ดังนั้น ระหว่างนี้ กกต.จึงต้องดำเนินกระบวนการคัดเลือกหาผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและดำเนินการจัดแบ่งเขตเลือกตั้งท้องถิ่นระดับต่างๆ ซึ่งคาดว่า จะใช้เวลา 2 -3 เดือน จากนั้นจึงแจ้งให้ ครม.ทราบว่า กกต.พร้อมรับศึกเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศในระดับต่างๆ แล้ว เพื่อให้ ครม.เรียกไปหารือว่า จะเลือกตั้งท้องถิ่น กันได้เมื่อใด อย่างไร ซึ่งประกอบด้วย

1.การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภา กทม. 1 แห่ง 2.เลือกตั้งนายกเมืองพัทยา และสภาเมืองพัทยา 1 แห่ง 3.เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) และสภา อบจ. จำนวน 76 แห่ง 4.เลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสภาเทศบาล จำนวน 2,444 แห่ง และ 5.เลือกตั้ง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ทั่วประเทศ 5,330 แห่ง รวมจะมีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ กว่า 130,000-140,000 คน

หลังได้ข้อสรุป กกต.จึงจะ ออกประกาศกำหนดการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ ว่าจะเป็น ผู้ว่าฯกทม. เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล และ อบต. ต่อไป

จากการคาดการณ์ของ พล..อนุพงษ์ ระบุไทม์ไลน์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะเกิดขึ้นก่อน ขณะที่การเลือกตั้งท้องถิ่นจะเริ่มเกิดขึ้นได้ไม่เกินเดือนกรกฎาคม 2563

 

 

 

ชัชชาติ-รสนาออกตัวแรง

ท้าชิงผู้ว่าฯ กทม.’

แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า คนกรุงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.กันวันไหน ซึ่งอาจทอดยาวไปถึงเดือนกรกฎาคม 2563 กว่าจะได้มีการจัดการเลือกตั้ง แต่วันนี้เราได้เห็น 2 แคนดิเดตสำคัญที่เปิดหน้า เปิดตัว ประกาศเตรียมลงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.” กันแล้ว

เรียกได้ว่ามีกระแสมาตั้งแต่แรก สำหรับชัชชาติ สิทธิพันธุ์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในยุครัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เจ้าของฉายารัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีที่ครั้งนี้ประกาศลงสมัครในนามอิสระ ไม่ขอสังกัดพรรคเพื่อไทย

 

กรกฎาคม 2563  ปฐมบท เลือกตั้งท้องถิ่น

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

 

เนื่องจากเห็นว่า การทำงานกรุงเทพฯ ต้องทำงานร่วมกับทุกฝ่าย ดังนั้น การทำงานในนามอิสระจะช่วยหาแนวร่วมคนที่จะมาร่วมทำงานได้ง่ายขึ้น ชูสโลแกนสร้างกรุงเทพฯ ที่ดีกว่าเดิม

เช่นเดียวกับ รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (..) ที่ประกาศตัวชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ในนามอิสระ กับแคมเปญกทม.มีทางออกบอกรสนาโดยเปิดเพจเฟซบุ๊กในชื่อเดียวกันกทม.มีทางออกบอกรสนาเพื่อเป็นช่องทางรวบรวมความคิดเห็น และนำไปจัดทำนโยบาย

 

กรกฎาคม 2563  ปฐมบท เลือกตั้งท้องถิ่น

รสนา โตสิตระกูล

 

รสนา อดีตส..รายนี้ ยืนยันว่า จะแก้ปัญหาคนกรุงในหลากหลายเรื่องให้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหานํ้าท่วมขัง การจราจรติดขัด และแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นต้น

เริ่มศักราชใหม่ สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะเปิดศึกโหมโรงให้การเมืองท้องถิ่นกลับมา คึกคักเป็นสนามแรกได้อีกครั้ง หลังจากที่เงียบเหงามานาน

 

หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,535 วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562-1 มกราคม พ.ศ. 2563

กรกฎาคม 2563  ปฐมบท เลือกตั้งท้องถิ่น