พิษบาทแข็ง ค่ายรถย้ายฐานกลับประเทศ

26 ธ.ค. 2562 | 02:03 น.
  • มาสด้าเตรียมทบทวนฐานการปลิตในไทยกลับไปยังญี่ปุ่นจากค่าเงินบาที่แข็งค่า
  • CX3 สปอร์ต ยูทิลิตี้  เป็นรุ่นที่ส่งออกไปยังออสเตรเลียมากที่สุดแพงขึ้น 8 %
  • ค่ายรถยนต์พร้อมจะทบทวนเช่นเดียวกันจากผลกระทบค่าเงินบาที่แข็งค่า   

มีรายงานข่าวจากสื่อญี่ปุ่น “นิเคอิ อาเซียน รีวิว” นำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานการผลิตในประเทศไทย ว่าจะมีการทบทวน และย้ายฐานการผลิตหากค่าเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง  

ในรายงานได้กล่าวถึง “มาสด้า มอเตอร์” จะทบทวนฐานการผลิตในประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นฐานการผลิตอับดับต้นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ข้อมูลว่าจะพิจารณากลับไปผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะกำลังเผชิญค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

การผลิตที่ มาสด้า จะทบทวนคือรุ่น cx-3 sport utility โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังออสเตรเลีย ซึ่งหากมีการย้ายฐานการผลิตจะกลับไปที่ตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นในเมืองโอฟู ยามากุจิ ซึ่งรถยนต์รุ่น CX 3 เป็นรุ่นที่ส่งออกมากที่สุดจากประเทศไทย

โรงงานมาสด้าในประเทศไทย แต่ละปีสามารถผลิตได้มากถึง 1.35 แสนคัน รุ่น cx-3 อยู่ที่ 2หมื่นคัน จำนวนนี้ 1.4 หมื่นคันส่งออกไปยังออสเตรเลีย

ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือค่าเงินบาทของไทย แข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกินดุล ในปีนี้ค่าเงินบาทไทยแข็งค่ามากถึง 8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินออสเตรเลียดอลลาร์ และ 6 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ  

นอกจากนี้ยังรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นกับค่ายรถยนต์อื่นๆ เช่น เจเนอร์รัล มอเตอร์ ได้ลดจำนวนพนักงานลงไป 300 คน ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่10เดือนแรกของปีนี้ การผลิตลดลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เปรียบเทียบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ที่มา: Nikkei Asian review

ผู้ผลิตรถยนต์ต้องเผชิญกับภาวะยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง ขณะที่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของญี่ปุ่น นิปปอน สตีล ได้ลดกำลังการผลิตเหล็กจากโรงงานในประเทศไทย  โดยโรงงานเหล่านี้จะที่ผลิตวัตถุดิบหลักให้กับค่ายรถยนต์ในประเทศไทยรวมถึงมาสด้าด้วย

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็น  โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มาสด้า และอีซูซุ

ในปี 2561 ประเทศไทยผลิตรถยนต์มากถึง 2.1 ล้านคัน ครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นรถยนต์ส่งออก

นักการเงินของไทยคาดว่าหลังจากนี้จะมีค่ายรถยนต์ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยเพิ่มอีก
มีการประเมินว่าปัญหาค่าเงินทำให้รายได้ของมาสด้า
ในเดือนเมษายนจนถึงกันยายนที่ผ่านมาหายไปถึง 3.75หมื่นล้านเยนหรือ 343 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โตโยต้า9หมื่นล้านเยน ฮอนด้า500 ล้านเยน
ด้าน มิตซูบิชิ มอเตอร์ มีฐานการผลิตเพื่อส่งออกอยู่ประเทศไทย ต้องเผชิญกับภาวะรายได้ที่ลดลงถึง 2หมื่นล้านเยนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

โคจิ อิเกยะ หัวหน้าการเงินของ มิซูบิชิ มอเตอร์ กล่าวว่า เดิมมียอดผลิตรถยนต์ในประเทศไทยที่ส่งออกมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้ต้องพยายามขายในประเทศไทยให้มากขึ้นเพื่อชดเชยกับยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงจากค่าเงินบาท

ส่วนอีซูซุที่ผลิตรถปิคอัพในประเทศไทยและส่งออกไปยังทั่วโลก ได้รับความเสียหายจากค่าเงินบาทเช่นเดียวกัน ประธานของอีซูซุ มาซาโนริ คาตามายา กล่าวว่า รถยนต์ที่ผลิตในไทยส่งออกไปมากว่า 120 ประเทศทั่วโลก ที่ผ่านมาปัญหาค่าเงินทำให้กำไรของบริษัทลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ