พฤกษศิลป์

26 ธ.ค. 2562 | 09:56 น.

คอลัมน์แบรนด์ สตอรีส์

กฤษณ์ ศิรประภาศิริ

[email protected]

 

บ่ายวันนั้นในปีค.ศ. 2010 ถ้าสุภาพสตรีผู้ดีอังกฤษท่านหนึ่งไม่เกิดอาการคันศีรษะและเดินจากโรงแรมหรูที่พักมายังร้านทำผม THE BEST ใน ORIENTAL ARCADE

วันนี้โลกแห่งพฤกษศิลป์” (BOTANICAL ART) คงไม่ได้รู้จักศิลปินหนุ่มจากแหลมฟาน ศรีราชา

และงานภาพเขียนสีนํ้าฝีมือขั้น MASTERPIECE ของเขา คงได้รับการชื่นชมในวงจำกัด

สุภาพสตรีเท่านั้นคือ DR.SHIRLEY SHERWOOD OBE เศรษฐินีผู้หลงใหลในงานพฤกษศิลป์มีภาพใน COLLECTION ของเธอเป็นพันภาพจากศิลปินกว่า 300 คน นานาชาติกว่า 30 ประเทศ

DR.SHIRLEY SHERWOOD สนใจภาพ BOTANICAL ART ตั้งแต่ครั้งศึกษาวิชา BOTANY ระดับปริญญาตรีที่ OXFORD UNIVERSITY

 

SHIRLEY สนใจต้นไม้ใบหญ้าและ วิชาศิลปะตั้งแต่เด็กด้วยความรักในพฤกษาและศิลป์เธอได้ทุ่มเทชีวิตให้กับ BOTANICAL ART และได้เริ่มสะสมภาพตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990

ในร้านทำผมTHE BEST” ใน ORIENTAL ARCADE ประเทศไทย DR.SHIRLEY SHERWOOD ตะลึงกับภาพเขียนสีนํ้า 2 ภาพที่ประดับข้างฝา รูปดอกบัว และ รูปดอกกุหลาบอังกฤษ โดยศิลปินไทยที่สากลโลกยังไม่เคยได้ยินชื่อ (ขณะนั้น) พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก

DR.SHIRLEY SHERWOOD วานให้เจ้าของร้านผู้มีรสนิยมสูงในงานศิลป์ รีบติดต่อ พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินเจ้าของผลงานโดยด่วน เนื่องจากเธอต้องเดินทางออกจากประเทศไทย

ศิลปินเอกของโลก BOTANICAL ART ของประเทศไทยจึงได้รู้จัก DR.SHIRLEY SHERWOOD

 

พฤกษศิลป์

 

พันธุ์ศักดิ์นำภาพงานฝีมือที่มีขณะนั้นทั้งหมด 8 ภาพ มาแสดงให้ DR.SHIRLEY ชมที่โรงแรม ORIENTAL โดยเธอขอซื้อ 2 ภาพในราคาสูงมากที่ศิลปินไทยไม่เคยได้มาก่อน PHILANTHROPIST เศรษฐีใจบุญจากอังกฤษท่านนี้ให้ราคาสูงสมคุณภาพ คุณค่าของภาพวิจิตรที่คัดเลือกไป

แต่ช้าก่อนพันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินเมืองชลบุรี ใจ นักเลงสมเป็นคนเมืองชล และที่น่ายกย่องกว่านั้นคือ เป็น คนมองการณ์ไกล

พันธุ์ศักดิ์ ยกภาพที่เหลืออีก 6 ภาพให้กับ DR.SHIRLEY SHERWOOD ฟรีๆ ด้วยความรักที่มีต่อภาพงานฝีมือของตนเอง เชื่อว่า ถ้าภาพอยู่ใน COLLECTION ของ DR.SHIRLEY SHERWOOD แล้ว จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี

ในปี ค.ศ. 2008 DR.SHIRLEY SHERWOOD เพิ่งเปิด THE SHIRLEY SHERWOOD GALLERY OF BOTANICAL ART ใน KEW GARDENS สร้างด้วยเงินของครอบครัว และได้ชื่อว่าเป็นห้องแสดงภาพที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยอุณหภูมิและแสงที่เหมาะสม นอกจากภาพจะได้เปล่งความงามอย่างเต็มที่ อายุของภาพยังยืนยาวด้วยการถนอมรักษา

มาจะกล่าวบทไปถึง พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินไทยที่โลกสากลปัจจุบันยอมรับแล้วว่าเป็น MODERN MASTER ARTIST แห่งงาน BOTANICAL ART

พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก จบสถาปัตย์ จุฬา (เกียรตินิยม ด้านออกแบบอุตสาหกรรม) ความที่ไม่ชอบออกแบบอาคาร จึงหันไปหาความเชี่ยวชาญทาง GRAPHIC ART ที่น่ายกย่องคือ เริ่มเรียนเขียนสีนํ้าด้วยตนเองในวัยที่ อายุเพิ่งเริ่มต้น(40) โดยมีอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ช่วยชี้แนะ และมีบางเวลาที่อาจารย์จักรพันธุ์เขียนภาพวิวที่บ้านจันทบุรี ใกล้วัดเขาสุกิม ลูกศิษย์อั๋นก็นั่งวาดหุ่นนิ่งดอกไม้ในแจกัน อยู่อีกมุมหนึ่งของห้องโถงเดียวกัน

พันธุ์ศักดิ์ เขียนภาพสีนํ้า ด้วยความรักไม่เคยคิดจะเขียนเพื่อ ขาย

ในบันทึกส่วนตัวเผยใจว่า ... “มองเห็นความงามของดอกไม้ ผล ที่จับตาจับใจให้จัดภาพมาเป็นแบบ ให้เขียนบันทึกเก็บไว้ ...”

ในงานแสดงภาพเพื่อฉลอง 30 ปีแห่งการสะสมภาพ BOTANICAL ART ของ DR.SHIRLEY SHERWOOD GALLERY ใน KEW GARDENS

 

ภาพฝีมือของ PHANSAKDI CHAKKAPHAK ได้รับการคัดเลือกมาแสดงถึง 3 ภาพ เป็นหนึ่งในศิลปินที่ยังมีชีวิตเพียง 2 คนที่ได้รับเกียรตินี้ อีกคนคือ MIEKO ISHIKAWA จากญี่ปุ่น (3ภาพ)

นิทรรศการ MODERN MASTERPIECES OF BOTANICAL ART จัดแสดงระหว่าง 16 พฤศจิกายน 2562-15 มีนาคม 2563 ใน GALLERY ที่ให้แสงได้เหมาะสม ในสวน KEW GARDENS ที่รื่นรมย์ยิ่งนัก

ในปี ค.ศ. 1993 “เจ้าฟ้าศิลปินสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชดำรัสจับใจเป็นยิ่งนัก

ถ้าจะสอนเยาวชนของเราให้รักษาต้นไม้ ความงดงามของดอกไม้ น่าที่จะนำเสนอด้วยความสนุกสนาน ประทับใจ (JOY AND IMPRESSION) หากใช้วิธีสอนให้กลัวที่จะสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ... น่าจะทำให้เกิดความเครียด (STRESS)”

เพลินภาพพฤกษศิลป์เถิด ชื่นใจ

 

หน้า 31 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,534 วันที่ 26-28 ธันวาคม 2562

พฤกษศิลป์