รัฐเข็นแพคเกจดูแลหนี้เอสเอ็มอี เข้าครม. 7 ม.ค.

23 ธ.ค. 2562 | 09:16 น.

สมคิด สั่งตั้งคณะทำงาน ลุยหาแพคเกจดูแลหนี้เอสเอ็มอี-ประชาชน ก่อนเสนอครม.อนุมัติ 7 ม.ค. 2563 เบื้องต้นขอผ่อนปรนสินเชื่อเอสเอ็มอี พร้อมดันจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตประชชน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการสนับสนุนเอสเอ็มอี ร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ว่า ได้สั่งการให้นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะทำงานจัดทำแพคเกจดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง เพื่อออกแพคเกจการป้องกันและแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนและธุรกิจเอสเอ็มอี โดยคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้ในวันที่ 7 ม.ค. 2563 นี้

รัฐเข็นแพคเกจดูแลหนี้เอสเอ็มอี เข้าครม. 7 ม.ค.

เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ดังนั้นรัฐบาลจะต้องดูแลกลุ่มที่ขณะนี้มีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ และกลุ่มที่ยังไม่ประสบปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ แต่ต้องหาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสียขึ้น โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาดูแลเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบว่ามีมากน้อยเพียงใด ขณะที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) จะเข้ามาดูกลไกการชำระหนี้ของประชาชนและเอสเอ็มอีว่ามีความผิดปกติหรือไม่

รัฐเข็นแพคเกจดูแลหนี้เอสเอ็มอี เข้าครม. 7 ม.ค.

ส่วนธนาคารพาณิชย์อยากให้ผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีที่ยังมีปัญหาการขอสินเชื่ออยู่ ขณะที่ภาคประชาชนอยากให้เข้าไปดูแลเรื่องโครงสร้างหนี้บัตรเครดิตว่าจะมีแนวทางช่วยเหลือได้อย่างไร หรือมีการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้ได้อีกหรือไม่

รัฐเข็นแพคเกจดูแลหนี้เอสเอ็มอี เข้าครม. 7 ม.ค.

ขณะที่ภาครัฐซึ่งมีกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่มีเงินอยู่ 10,000 ล้านบาท จะให้นำเงินบางส่วนมามาดูแลเอสเอ็มอีเพิ่มเติม และการให้เอสเอ็มอีเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเรื่องดังกล่าวพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ เนื่องจากมองว่ารัฐควรสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีรายย่อยให้มากขึ้น

ด้านนายอุตตม กล่าวว่า หลังจากนี้จะหารือกับ สสว. และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำเงินกองทุนสสว.บางส่วนมาใช้ในการดูแลเอสเอ็มอีเพิ่มเติม ขณะที่การสนับสนุนสินเชื่ออื่นๆ นั้น จะมอบหมายให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ทวนทวนการปล่อยสินเชื่อให้มีความเหมาะสมกับแพคเกจที่จะดำเนินการมากขึ้น และจะให้กรมสรรพากรไปพิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้ของเอสเอ็มอีและประชาชน ว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีในด้านใดบ้าง

รัฐเข็นแพคเกจดูแลหนี้เอสเอ็มอี เข้าครม. 7 ม.ค.

ขณะที่นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย ยอมรับว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้กระแสเงินสดมีปัญหา ฉะนั้นการที่หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแล ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งสถาบันการเงินพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่