BBLเป๋าตุง ดึง  กำไรสะสม 3แสนล้าน  จ่ายสดซื้อแบงก์อินโดฯ

22 ธ.ค. 2562 | 01:21 น.

BBL ยันความพร้อมซื้อแบงก์ “เพอร์มาตาพร้อมจ่ายงวดเดียวปีหน้า เผยสถานะแบงก์กำไรสะสมกว่า 3.1 แสนล้านบาท พอร์ตลงทุนในหลักทรัพย์ บจ. 48 แห่ง กว่า 5.3 หมื่นล้านบาทเดชา ตุลานันท์เผยขายหุ้น BTS ทำกำไร  วงการคาดฟันไม่น้อยกว่า 4.5พันล้านบาท หรือกว่า 60-65%

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ได้ประกาศเข้าซื้อธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค หรือเพอร์มาตาของอินโดนีเซียในสัดส่วน 89.12% มูลค่า 8.1 หมื่นล้านบาทและมีแผนจะซื้ออีก 10.88% ใช้วงเงินรวมเกือบ 9 หมื่นล้านบาท โดยยืนยันการทำธุรกรรมครั้งนี้จะใช้เงินทุนภายในและแหล่งเงินทุนที่ได้จากการจัดหาเงินทุนตามปกติของธนาคาร โดยไม่มีแผนที่จะเพิ่มทุน

แต่ด้วยขนาดวงเงินลงทุนสูง จึงเกิดกระแสว่า BBL จะทยอยขายพอร์ตหุ้นที่ลงทุนบางส่วน เพื่อนำเงินไปชำระค่าหุ้นเพอร์มาตาที่มีกำหนดจ่ายเงินในหน้า หลังช่วงเช้าเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 มีรายการบิ๊กล็อตหุ้น BTS 19 รายการ จำนวน 545.47 ล้านหุ้น มูลค่าซื้อขาย 7,440 ล้านบาท เทรดในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 12.40 บาท ตํ่ากว่าราคาบนกระดานเทรดหลักที่ 13 บาท ก่อนที่นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) จะเปิดเผยกับสื่อว่า รายการ บิ๊กล็อตที่เกิดขึ้นคาดเป็นการขายจาก BBL ให้กับกองทุน เนื่องจาก BBL มีความต้องการใช้เงินในช่วงนี้เพื่อซื้อหุ้นธนาคารในอินโดนีเซีย เพราะก่อนหน้า BBL เสนอขายหุ้น BTS ที่ถืออยู่ทั้งหมดให้กับกลุ่มตน แต่ติดเกณฑ์ห้ามซื้อขาย (Silent Period )

สำหรับ BBL เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 ใน BTS ถือจำนวน 545.47 ล้านหุ้น สัดส่วน 4.34%

อย่างไรก็ดีนายเดชา ตุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ธนาคารกรุงเทพ กล่าวกับฐานเศรษฐกิจการขายหุ้นเป็นการขายเพื่อการลงทุนเมื่อมีกำไรแล้วก็ขายเป็นปกติไม่ใช่ขายเพื่อนำเงินมาซื้อธนาคารในอินโดนีเซีย

“กรณีการขายหุ้น BTS เป็นปกติของการขายเมื่อหุ้นตัวไหนทำกำไรซึ่งในแต่ละปีธนาคารก็ทำอย่างนี้ เมื่อราคาดีเราก็ขาย เมื่อราคาปรับลดเราก็ซื้อซึ่งเป็นการ ลงทุนประเภทหนึ่งแค่นั้นเอง ส่วนจะขายหุ้นตัวไหนเพิ่มอีกผมไม่ทราบ ยืนยันว่าการขายหุ้นไม่ได้นำรายได้มาเพื่อการนี้ ผมว่า BTS ให้ข่าวผิดนายเดชา แจงพร้อมยืนยันว่าธนาคารกรุงเทพมีเงินสำรองเพียงพอในการซื้อธนาคารไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยรับประกันว่าการซื้อหุ้นเพอร์มาตาแล้ว ธนาคารกรุงเทพยังมีเงินสำรองเหลือเฟือมากกว่าที่รัฐบาลบังคับไว้อีก ผมขอยืนยันแล้วยืนยันอีก

ด้านนายปิติ สิทธิอำนวย ประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ กล่าว ยืนยันว่าการเข้าซื้อหุ้น แบงก์พอร์มาตา ในอินโดนีเซียนั้นเนื่องจากมองเห็นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนและมีจำนวนประชากรมากถึง 170 ล้านคนซึ่งการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวถือว่าเป็นธนาคารขนาดเล็กและมีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างสบายขณะที่ธนาคารกรุงเทพก็มีฐานอยู่ที่อินโดนีเซีย 3 สาขามาเป็นเวลาร่วม 20 ปีส่วนขั้นตอนของการซื้อขายหุ้นธนาคารจะมีการประ ซุมผู้ถือหุ้น ต่างประเทศไม่เกิน 30 % เปอร์และในการซื้อขายยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนเนื่องจากธนาคารมีเงินกองทุนสะสมเพียงพอ

BBLเป๋าตุง ดึง  กำไรสะสม 3แสนล้าน   จ่ายสดซื้อแบงก์อินโดฯ

 

หลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนมกราคม 2562 และธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศไฟเขียว ธนาคารฯ ก็พร้อมจะชำระค่าหุ้นทั้งหมดกว่า 9 หมื่นล้านบาทในงวดเดียว ซึ่งได้จัดสรรทุนไว้พร้อมแล้ว โดยไม่กระทบสถานะกองทุนเพราะมีเพียงพอ

ทั้งนี้ดีลการซื้อขายดังกล่าว ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 75% ของผู้ที่เข้าร่วมประชุม โดยผู้ถือหุ้นต้องเข้าประชุมไม่ตํ่ากว่า 1 ใน 3

ฐานะการเงินของธนาคารกรุงเทพ สิ้นเดือนกันยายน 2559 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 3.23 ล้านล้านบาท จำนวนนี้เป็นเงินลงทุนสุทธิ 616,071 ล้านบาท มีกำไรสะสมประมาณ 310,964 ล้านบาทเมื่อรวมส่วนผู้ถือหุ้นของธนาคารแล้วเป็นเงิน 430,438 ล้านบาท ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (CET1 ) อยู่ที่ 17.7%  หลังซื้อกิจการจะลดเป็น 14.5% และมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR ) อยู่ที่ 20.7% ลดเหลือ 17.2% ซึ่งยังสูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนด

 

ขณะที่ต้นทุนการเข้าซื้อหุ้น BTS ของธนาคารกรุงเทพที่ถือมานาน 10 ปี โดยเข้าลงทุนครั้งแรกช่วงกลางปี 2553 ก่อนทยอยถือเพิ่มเป็น 545.47 ล้านหุ้น ต้นทุนที่ได้มาถือว่าตํ่ามาก ไม่ถึง 4.00 บาท โดยข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ราคาหุ้น BTS ปี 2556 ปรับขึ้นมาอยู่ระดับ 5-6 บาท ก่อนไต่ขึ้นอยู่ระดับ 8.20 บาทเมื่อต้นปี 2557

"หาก BBL ทยอยซื้อหุ้นสะสม  ประมาณการต้นทุนน่าจะเฉลี่ย 5.00 บาท เป็นเงินลงทุนไม่ถึง 3,000 ล้านบาทดี ซึ่งหมายความว่า BBL น่าจะมีกำไรจากการขายหุ้น BTS มากกว่า 4,500 ล้านบาท หรือกำไรกว่า 60-65% ในช่วงการถือ 10 ปี"แหล่งข่าวกล่าว

ปัจจุบัน (18 .. 62 ) BBL ลงทุนในบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ทั้งสิ้น 48 บริษัท มูลค่ารวม 5.3 หมื่นล้านบาท จำนวนนี้ที่มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไปมี 9 บริษัท ได้แก่ 1. บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) ถือหุ้น 4.83% มูลค่า 9,482 ล้านบาท 2. บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ถือ 2.23% มูลค่า 7,458 ล้านบาท3. BTS ถือ 4.38% มูลค่า 7,037 ล้านบาท 4. บมจ. วีจีไอ (VGI)ถือ 8.41% มูลค่า 6,696 ล้านบาท 5.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM ) ถือหุ้น 1.99% มูลค่ารวม 3,368 ล้านบาท 6.บมจ.กรุงเทพประกันภัย (BKI) ถือหุ้น 9.97% มูลค่า 3,173 ล้านบาท 7.บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต (BLA ) ถือหุ้น 7.61% มูลค่า 2,613 ล้านบาท8. บมจ.ยู ซิตี้ (U-P) ถือ 24.16% มูลค่า 1 2,566 ล้านบาท 9.ทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (FTREIT) ถือ 4.03%มูลค่า 1,543 ล้านบาท ฯลฯ

 

บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กรุงศรี ระบุมีมุมมองบวกต่อหุ้น BBLหลังธนาคารกรุงเทพได้จัดประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม เพื่ออธิบายถึงโอกาสและการเติบโตจากการลงทุนเข้าซื้อหุ้นเพอร์มาตาโดยเห็นโอกาสการเติบโตที่น่าดึงดูดจากการเข้าซื้อแบงก์แห่งนี้ โดยหลังจากธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ ROE คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 8%ถึง 10% และเห็นถึงโอกาสอื่น กล่าวคือ 1.BBL สามารถเสนอบริการทางการเงินแก่ลูกค้าคอร์ปอเรตของไทยในอินโดนีเซียและ (2) เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัลในอินโดนีเซียสามารถปรับให้เข้ากับประเทศไทย

บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) แนะนำถือโดยคงราคาเป้าหมายหุ้น BBL 12 เดือนข้างหน้าที่ 198 บาท มองเป็นลบกับดีลในครั้งนี้ โดยเห็นว่าการปรับเพิ่มความสามารถในการทำกำไรในระยะกลาง-ยาว ยังไม่ชัดเจน อีกทั้งอาจมีความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถเจาะตลาดท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง

ขณะที่มุมมองนักวิเคราะห์ 13 ราย (IAA) แนะนำซื้อให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยหุ้น BBL อยู่ที่ 207 บาท โดย วันที่  19 ธันวาคม 2562 ปิดที่ 159 บาท

หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,533 วันที่ 22-25 ธันวาคม 2562
 

                    BBLเป๋าตุง ดึง  กำไรสะสม 3แสนล้าน   จ่ายสดซื้อแบงก์อินโดฯ