เปิดแผน‘กปน.’10 ปี ทุ่มงบ 4.2 หมื่นล้าน สร้างความมั่นคงด้านนํ้า

18 ธ.ค. 2562 | 08:50 น.

 

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลการประปานครหลวง (กปน.) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะได้ไปตรวจเยี่ยมพร้อม มอบนโยบายแก่ กปน. โดยมี นายปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการการประปานครหลวง และคณะกรรมการ กปน. ให้การต้อนรับ

นายนิพนธ์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มจะต่อเนื่องถึงปีหน้าว่า ปีนี้นํ้าต้นทุนน้อยกว่าทุกปี จึงขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ช่วยกันใช้นํ้าอย่างประหยัด ใช้นํ้าเท่าที่จำเป็น โดยสามารถช่วยกันประหยัดนํ้าได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้นํ้าตามความเคยชิน มาเป็นการใช้นํ้าอย่างรู้คุณค่า ไม่ปล่อยให้นํ้าไหลทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ และหมั่นดูแลตรวจสอบอุปกรณ์และระบบประปาภายในบ้านอยู่เสมอ

รวมถึงร่วมกันใช้อุปกรณ์ประหยัดนํ้าที่ได้รับการรับรองฉลากประหยัดนํ้าจาก กปน. เพื่อสงวนต้นทุนนํ้าของประเทศไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วน และร่วมกันฝ่าวิกฤติภัยแล้งไปพร้อมกัน

 

เปิดแผน‘กปน.’10 ปี  ทุ่มงบ 4.2 หมื่นล้าน  สร้างความมั่นคงด้านนํ้า

นิพนธ์ บุญญามณี


 

 

ด้านนายปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการการประปานครหลวง เปิดเผยว่า ได้จัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบประปา (MWA Master Plan) เพื่อปรับ ปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบประปาครอบคลุม 30 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2595 ซึ่งจะมีการปรับปรุงทุกๆ 5 ปี เพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดำเนินโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ภายใต้ชื่อ โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งในปี 2563 นั้น นายปริญญา กล่าวว่า ให้ความสำคัญในการดูแลการบริหารจัดการนํ้า ทั้งดีมานด์ไซต์ และซัพพลายไซต์ ในส่วนของการบริหารจัดการด้านดีมานด์ไซต์นั้น กปน.ได้ประสานงานกับสำนักงานทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ เพื่อขอการจัดสรรนํ้าเป็นประจำทุกปีจากฝั่งลุ่มนํ้าเจ้าพระยา ตั้ง แต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน ประมาณ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

เปิดแผน‘กปน.’10 ปี  ทุ่มงบ 4.2 หมื่นล้าน  สร้างความมั่นคงด้านนํ้า

ปริญญา ยมะสมิต

 

ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการใช้นํ้า จากฝั่งตะวันตกให้มากขึ้นตามศักยภาพของ กปน.ที่มีอยู่ ลดการใช้นํ้าดิบฝั่งตะวันออกให้น้อยลง เพื่อรักษาปริมาณ นํ้าดิบฝั่งดังกล่าวให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็มีแผนจะขุดเจาะนํ้าบาดาลให้มากขึ้น

ขณะที่การบริหารจัดการด้านดีมานด์ไซต์ จะมุ่งเน้นการรณรงค์ให้ผู้ใช้นํ้าในเขตพื้นที่ กปน. ลดการใช้นํ้าเพื่อนำไปสู่การลดกำลังการผลิตและลดการใช้นํ้าฝั่งลุ่มนํ้าเจ้าพระยาให้ลดน้อยลง โดยมุ่งเน้นการสื่อสารไป ยังประชาชนให้ใช้นํ้าเท่าที่จำเป็น

ปัจจุบันมีโครงการสำคัญๆ อาทิ การขยายเขตการให้บริการให้กับประชาชนที่ต้องทั่วถึงและเพียงพอ และโครงการการลดนํ้าสูญเสีย โดยการเร่งเปลี่ยนท่อประปาใหม่ทดแทนท่อประปา ใกล้ครบอายุการใช้งาน และเสี่ยงต่อการชำรุดแตกรั่ว ซึ่งมีความยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร ใน พื้นที่ต่างๆ ภายในปี 2565

ขณะที่ในอนาคตมีแผนโครงการปรับปรุงกิจการแผนหลัก เพื่อรองรับความต้องการการใช้นํ้าที่เพิ่มขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า วงเงินลงทุน 42,750 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตที่โรงงานผลิตนํ้ามหาสวัสดิ์ 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน รวมถึงเพิ่มงานก่อสร้างท่อส่งนํ้าประมาณ 50 กิโลเมตร เพื่อเสริมความมั่นคงและเพิ่มถังเก็บนํ้าอีกไม่น้อยกว่า 400,000 ลูกบาศก์เมตร

 

 

ทั้งยังมีแผนงานปรับปรุงกิจการแผนงานหลักครั้งที่ 10 อาทิ เพิ่มกำลังการผลิตที่โรงงานผลิตนํ้ามหาสวัสดิ์ เพื่อลดการ นำนํ้าดิบจากแหล่งตะวันตก คือ ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา และแม่นํ้าแม่กลอง ที่ปัจจุบันประสบปัญหาเรื่องของความเค็มขึ้น จึงมีนโยบายจะเพิ่มกำลังการผลิตนํ้าฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และเพิ่มถังเก็บนํ้าใสที่โรงงานสามเสนอีก 200,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสูบจ่ายนํ้า

 

เปิดแผน‘กปน.’10 ปี  ทุ่มงบ 4.2 หมื่นล้าน  สร้างความมั่นคงด้านนํ้า

 

ขณะเดียวกันยังมีแผนพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วน ปี 2563-2565 ขยายกำลังการผลิตที่โรงงานผลิตนํ้าบางเขน เพื่อให้มีกำลังสำรองเพิ่มขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ กปน.มีหน้าที่หลักในการจัดหาแหล่งนํ้าดิบ ผลิตนํ้า สูบนํ้า และแจกจ่ายนํ้าให้กับประชาชนครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัด คือ กทม. นนทบุรี และ สมุทรปราการ มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 6.3 ล้านลูกบาศก์ เมตรต่อวัน มีกำลังผลิตนํ้า แบ่งเป็น ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา มี โรงงานผลิตนํ้า 4 แห่ง ประกอบด้วย โรงงานผลิตนํ้าสามเสน โรงงานผลิตนํ้ามหาสวัสดิ์ โรงงานผลิตนํ้าธนบุรี และโรงงานผลิต นํ้าบางเขน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตนํ้าที่ใหญ่ที่สุดของ กปน. มีกำลังการผลิตนํ้าอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านลบ..ต่อวัน หรือ คิดเป็น 70% ของกำลังการผลิตนํ้าทั้งหมด

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2562 ผู้ใช้นํ้ามีอัตราการเติบ โตขึ้น 2% จาก 2.37 ล้านคน เป็น 2.4 ล้านคน การบริหารนํ้าเพื่อผลิตจ่ายโตขึ้น 3.9 % ในปี 2562 อัตรานํ้าเสียลดลง 0.54%

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,532 วันที่ 19-21 ธันวาคม 2562

เปิดแผน‘กปน.’10 ปี  ทุ่มงบ 4.2 หมื่นล้าน  สร้างความมั่นคงด้านนํ้า