เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

05 ธ.ค. 2562 | 16:50 น.

วิกฤติข้าวไทย นายกโรงสีฯ ผวาชาวนาแห่ปลูกข้าวคุณภาพต่ำ หวังรัฐชดเชยรายได้สูง เล็งเสนอเพิ่มชนิดข้าวสร้างแรงจูงใจหันปลูกข้าวนิ่มป้อนตลาดโลก ส่วนวันที่ 7 ธ.ค.สัมมนาเด็ดประจำปี เส้นทางส่งออกโรงสีข้าว-การค้าภายในประเทศจะเป็นอย่างไรในปีหน้าพร้อมกูรูทั้งข้าวแต่ละชนิดตบเท้าขึ้นเวทีเพียบ

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงโครงการประกันรายได้ข้าว จะมีต่อเนื่องหรือไม่ คาดเดาได้ยากมาก เพราะเป็นนโยบายการเมือง ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้มีผลต่อธุรกิจ ตลาดก็ว่ากันไปเป็นทิศทางของตลาดตามความต้องการ ส่วนรัฐบาลจะชดเชยก็เป็นเรื่องของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกร แต่ควรจะเพิ่มหรือควบคู่ในเรื่องของการพัฒนาด้วยในการจูงใจให้เกษตรกรปลูกข้าวในแต่ละชนิด ซึ่งจะได้ผลรัฐจะต้องนำนโยบายมาเชื่อมให้เกษตรกรสร้างแรงจูงใจปลูกข้าวตามความต้องการของตลาด ไม่เช่นนั้นเกษตรกรจะหันไปปลูกข้าวชนิดที่รัฐบาลชดเชยมาก

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

“จากการติดตามข่าวเกษตรกรทุกคนไม่ว่าจะขายข้าวต่ำกว่าราคาตลาด หรือขายข้าวสูงกว่าราคาตลาด จะมองว่าคนที่ได้รับการชดเชยก็เป็นเรื่องที่ดี ส่วนคนที่ไม่ได้รับการชดเชยราคาข้าวก็รู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาล ปัจจุบันข้าวมีความหลากหลายมาก ข้าวบางตัวชนิดเดียวกันก็ขายราคาสูงกว่าประกันรายได้เพราะคุณภาพดี ส่วนคุณภาพข้าวไม่ดีก็โดนตัดขายราคาข้าวในการรับซื้อจะไม่ได้รับการชดเชยจึงทำให้มีความรู้สึกว่ารัฐไม่ได้ดูแล เช่น ข้าวหอมมะลิ และข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ หรือข้าวหอมจังหวัด เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ทางภาครัฐก็ควรจะให้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในเรื่องของคุณภาพข้าว เพราะการกำหนดราคาในโครงการประกันรายได้เป็นข้าวคุณภาพดี”

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนราคาชดเชยข้าว 5 ชนิดนั้นอาจจะต้องมาทบทวนกันใหม่ โดยเฉพาะข้าวตัวใดที่จำเป็นต้องพัฒนาก็ต้องไปดู ปัจจุบันตลาดมีความต้องการข้าวนุ่ม นอกจากข้าวหอมมะลิ ก็ยังมีข้าวพันธุ์ชนิดอื่นที่กำลังส่งเสริมกันอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นหากต้องการให้โครงการนี้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุดให้ปัจจัยนี้เป็นตัวชี้นำส่งเสริมและสนับสนุน เช่น การเพิ่มชนิดข้าวที่ต้องการให้ชาวนามีแรงจูงใจปลูก เป็นต้น  ให้ปลูกข้าวตามที่ตลาดต้องการ  โดยใช้ราคาเป็นตัวกำหนด หากต้องการให้ปลูกน้อย ราคาชดเชยอาจจะปรับลดราคาลงมาก แต่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้ปลูกมากให้ราคาเพิ่มพิเศษขึ้นไป ดีกว่าที่จะให้ชาวนาไปปลูกข้าวที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและหวังชดเชยรายได้สูงจากรัฐเพียงอย่างเดียว

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

“โครงการประกันรายได้ ไม่ใช่การยกระดับราคาข้าว ไม่ใช่เป็นการสร้างดีมานด์เทียมคนละอย่างกัน ประกันรายได้ก็คือการชดเชยรายได้ให้เกษตรกรที่ขายข้าวได้ต่ำกว่าราคาตลาดที่กำหนดเป็นเกณฑ์ไว้ ในส่วนที่เหลือก็ปล่อยให้กลไกตลาดทำงานปกติ แต่ถ้าชนิดข้าวไหนที่ราคาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะไม่ได้รับการชดเชย เพราะได้ราคาจากตลาดแล้ว ปัญหาในข้าวชนิดเดียวกัน”

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

ยกตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิ เกษตรกรที่ทำข้าวคุณภาพดี ไม่ประสบปัญหาโรคไหม้คอรวงข้าว ไม่กระทบแล้ง ข้าวจะได้คุณภาพดี ราคาก็ดีตาม แต่มีเกษตรกรที่ประสบปัญหาทั้งโรค แล้ง ผลผลิตไม่ได้ คุณภาพข้าวก็ต่ำ ราคาก็ไม่ได้ จึงทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้มีความรู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแล ขายก็ไม่ได้ราคา เมื่อรัฐบาลประกาศราคาเฉลี่ยทั้งประเทศแล้วก็ไม่ได้รับการชดเชยอีกอาจจะรู้สึกไม่พอใจ

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลให้ค่าเก็บเกี่ยว และค่าปัจจัยการผลิต รวมกัน ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ ควบคู่โครงการจำนำยุ้งฉาง ได้รับค่าเก็บฝากอีกตันละ 1,500 บาท แล้วยังมีสินเชื่อที่สามารถนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยก่อนได้ในระหว่างการรอราคาขายในอนาคต ดังนั้นจะเห็นว่าจำนวนเงินที่ให้เกษตรกรไปค่อนข้างมาก ส่วนราคาข้าวเฉลี่ยนั้นเป็นราคาที่หารือมาตั้งแต่แรกเลย เพราะไม่สามารถใช้ราคาจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งได้

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

“ราคาที่ใช้มาถ่วงน้ำหนักก็คือราคาข้าวสาร ที่จะสะท้อนกลับไปคำนวณราคาข้าวเปลือกที่นำมาถัวเฉลี่ยราคาประกาศของสมาคมโรงสีข้าวไทยและกรมการค้าภายใน ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะทำโครงการอะไรก็ตามจะสมบูรณ์100% ไม่มี แต่เรื่องที่สำคัญสุดก็คือทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องรับรู้ ยอมรับกติกา เงื่อนไขและสร้างความเข้าใจ ปัญหาจะไม่มี”

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้

อย่างไรก็ดีในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ สมาคมโรงสีข้าวไทยจะมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 จะจัดเสวนา “บทบาทโรงสีข้าว เส้นทางการส่งออกและการค้าภายในประเทศ” จะมีวิทยากรที่เป็นโรงสีผู้ส่งออกตัวแทน 4 ภาค และแต่ละชนิดข้าวส่งออกตลาดเป็นอย่างไร เพื่อจะได้สะท้อนกลับมาดูศักยภาพของตัวเองว่าจะก้าวอย่างไรในปี 2563

เสนอ‘เพิ่มชนิดข้าว” เข้าร่วมชดเชยประกันรายได้