คอร์น เฟอร์รี่ คาด 2020 เงินเดือนแรงงานไทยยังเพิ่ม 5 %

04 ธ.ค. 2562 | 05:56 น.

คอร์น เฟอร์รี่ เผยผลวิจัย คาดการณ์เงินเดือน 2020 ระบุแรงงานไทยยังมีโอกาสได้เพิ่มอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 5% ต่ำกว่าการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 5.3% และเมื่อคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 1.3% จะทำให้ไทยมีอัตราการขึ้นเงินเดือนตามที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 3.7%

นายธันวา จุลชาติ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัล คอร์น เฟอร์รี่ ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทได้นำฐานข้อมูลแบบเสียค่าใช้จ่ายของคอร์น เฟอร์รี่ ซึ่งมีข้อมูลจากผู้มีตำแหน่งงานมากกว่า 20 ล้านคนในองค์กร 25,000 แห่งในกว่า 130 ประเทศคอร์น เฟอร์รี่ได้ประเมินและประมาณการณ์ อัตราการขึ้นเงินเดือน พบว่า ในประเทศไทยมีแนวโน้มการเพิ่มอัตราเงินเดือนเฉลี่ย 5% ศึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 5.3% และเมื่อคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่1.3% จะทำให้ไทยมีอัตราการขึ้นเงินเดือนตามที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 3.7%

ภาคธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีอัตราการขึ้นเงินเดือนสูงสุดของประเทศไทยอยู่ที่ 6.2% ในขณะที่ภาคธุรกิจเคมีภัณฑ์มีอัตราการจ่ายโบนัสแบบแปรผันสูงสุดที่ 4 เดือน โดยคาดการณ์ว่าค่าเฉลี่ยการจ่ายโบนัสแบบแปรผันของทุกภาคธุรกิจจะอยู่ที่ 2.5 เดือน

 

อัตราการเข้า-ออกงานของพนักงานรวมในประเทศไทยอยู่ที่ 10.8% ลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา (12.6%) โดยภาคธุรกิจค้าปลีกมีอัตราการเข้า-ออกงานของพนักงานสูงสุดที่ 36.3%

คอร์น เฟอร์รี่ คาด 2020 เงินเดือนแรงงานไทยยังเพิ่ม 5 %

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียถูกคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงสูงสุดที่ 5.1% หลังคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 3.0% ส่วนมาเลเซียถูกคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงที่ 3.5% หลังคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่1.5% แม้อัตราเงินเดือนในสิงคโปร์ถูกคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตเพียง 4.0% แต่ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อต่ำเพียง0.4% ทำให้มีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงในปี ค.ศ. 2020 ที่ 3.6%

เมื่อพิจารณาทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2020 คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราเงินเดือนที่ 4.9% โดยมีการพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ที่ราว 2.8% จึงคาดว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงที่ 2.1% โดยในปี ค.ศ. 2019 การขึ้นค่าแรงที่แท้จริงทั่วโลกอยู่ที่เพียง 1.0% โดยมีอัตราการขึ้นเงินเดือนที่ 5.1% และอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ 4.1%

นายธันวา กล่าวว่า กลยุทธ์การจ่ายผลตอบแทนรวม ไม่ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการสร้างแรงจูงใจ (Hygiene Factor) อีกต่อไป หากเป็นการสร้างความเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความคิดของผู้มีความสามารถผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อกำหนดแง่มุมการพิจารณาที่สำคัญอย่างแท้จริง กล่าวโดยสรุปคือ วันนี้ องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้แนวทางแบบองค์รวมในการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์

การศึกษาแสดงให้เห็นถึงการพยากรณ์อัตราการขึ้นเงินเดือน ซึ่งคาดการณ์โดยผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลชั้นนำทั่วโลก และเปรียบเทียบข้อมูลกับการพยากรณ์ที่จัดทำในเวลาเดียวกันของปี ค.ศ. 2019 รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2020 จากหน่วยงานอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit)