อัพเดต : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต มติคก.วัตถุอันตราย หลังถกเครียดกว่า4ชม.

27 พ.ย. 2562 | 08:34 น.

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเลื่อนการแบน 2 สาร “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส"ออกไปอีก 6 เดือน หลังพบปัญหาอื้อ ทั้งเสียงคัดค้านจากภาคเกษตร ภาคการค้าและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาจัดการสารคงค้างกว่า 2.3 หมื่นตัน เลิกแบน "ไกลโฟเซต" แต่ให้จำกัดการใช้แทน

นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ (วันที่ 27 พ.ย.2562 ซึ่งใช้เวลาประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมง) มีกรรมการเข้าร่วมประชุม 24 คนจาก 29 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ออกประกาศกำหนดวัตถุอันตรายพาราควอต  และคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยกำหนดระยะเวลาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ส่วนวัตถุอันตรายไกลโฟเซตให้ใช้มาตรการจำกัดการใช้ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 (จากคณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดเดิมมีมติวันที่ 22 ต.ค.2562 มีมติให้แบนทั้ง 3 สารมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562)

อัพเดต : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต มติคก.วัตถุอันตราย หลังถกเครียดกว่า4ชม.

             คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ฯยื่นหนังสือข้อเสนอแนะก่อนการประชุม

อัพเดต : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต มติคก.วัตถุอันตราย หลังถกเครียดกว่า4ชม.

                           บรรยากาศการประชุมถกเครียดกว่า 4 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร  และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดทำมาตรการรองรับในการหาสารทดแทน  หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับวัตถุอันตรายพาราควอต  และคลอร์ไพริฟอส  รวมถึงมาตรการในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน  และให้นำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาภายในระยะเวลา 4 เดือนนับจากวันที่มีมติ  และขอให้รับรองมติในที่ประชุม

 

สำหรับในการประชุมวันนี้  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการฯว่าได้มีการประชุมหารือแนวทางในการปฏิบัติ  เพื่อบริหารจัดการวัตถุอันตรายที่ยังคงเหลืออยู่  รวมถึงผลกระทบด้านอื่นๆพบว่ามีข้อจำกัดในการปฏิบัติ  หากจะให้การยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการมีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 รวมทั้งผลการประชุมรับฟังความคิดเห็น  ซึ่งพบว่ามีผู้ไม่เห็นด้วย  และมีข้อเสนอแนะเป็นจำนวนมาก  ประกอบด้วย การจัดการสารที่คงค้าง  ซึ่งมีจำนวน 23,000 ตันโดยประมาณ  ซึ่งหากต้องทำลายจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก  และบางส่วนไม่สามารถผลักดันให้ส่งกลับไปได้

อัพเดต : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต มติคก.วัตถุอันตราย หลังถกเครียดกว่า4ชม.

                      กลุ่มเกษตรกรร่วมลุ้นผลการประชุม

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร  อาหารสัตว์  ซึ่งอาจจะไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรได้  เนื่องจากอาจมีสารตกค้างอยู่ในผลผลิตดังกล่าว  และในประเด็นนี้ยังไม่มีมาตรการในการบริหารจัดการ  อกทั้งยังอาจจะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ

อัพเดต : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต มติคก.วัตถุอันตราย หลังถกเครียดกว่า4ชม.

“ในส่วนของไกลโฟเซตที่ต้องแยกมติออกมานั้น  เนื่องจากปัจจุบันยังมีประเทศที่ใช้สารดังกล่าวอยู่ประมาณ 160 ประเทศ  มีห้ามใช้อยู่ 9 ประเทศ  โดยหากประกาศห้ามใช้ไกลโฟเซตจะทำให้ไม่สามารถนำเข้าถั่วเหลืองกับข้าวสาลีจากประเทศสหรัฐอเมริกา  บราซิล หรือประเทศอื่นได้  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมอาหารสัตว์  และต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมอื่น  โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนายกสมาคมอาหารสัตว์ระบุว่าอาจจะมีสูงถึงหลายแสนล้านบาท  ดังนั้นเมื่อมีข้อมูลดังกล่าวนี้ที่ชัดเจนเลยมีมติแยกสารไกลโฟเซตออกมา”

นายอนันต์  สุวรรณรัตน์  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ทุกคนเห็นด้วยที่จะแบน 3 สารดังกล่าว  เพียงแต่เมื่อจะแบนจริง  แล้วนำมาวิเคราะห์ผลกระทบหากจะแบนเวลานี้คงเกิดความโกลาหล  เพราะต้องมีกระบวนการต่างๆ  ขณะที่การหาสารทดแทนนั้น  ได้มีการดำเนินการมาแล้วกว่า 1 ปี  โดยต้องยอมรับว่าพาราควอตเองก็มีการใช้มาจนเสมือนเป็นยาสามัญประจำบ้านสำหรับการกำจัดวัชพืช  เพราะฉะนั้นวันนี้นอกจากหาสารทดแทนแล้วก็จำเป็นต้องหาวิธีการจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน  ซึ่งการหาสารทดแทนที่จะมีประสิทธิภาพเหมือนพาราควอตก็ค่อนข้างจะยาก 

อัพเดต : ยกเลิกแบนไกลโฟเซต มติคก.วัตถุอันตราย หลังถกเครียดกว่า4ชม.

“ปัจจุบันก็มีสารที่ใช้ได้ผลใกล้เคียงกับพาราควอตอยู่  โดยวันนี้เราใช้มาตรการใช้สารที่ดีได้ผลใกล้เคียงกันอยู่กับต้องหาวิธีการปฏิบัติ  หรือวิธีการบริหารจัดการมากำจัดด้วย”

อย่างไรก็ดี  มติที่ออกมาเป็นลักษณะของการที่จะให้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลที่จะให้พาราควอตกับคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 63 เพราะฉะนั้นผลในแง่กฎหมาย  ไม่ใช่ว่ามีมติออกมาแล้วจะให้มีการปรับมติ  แต่ในขณะเดียวกันก็มีความห่วงกังวลว่ายังมีการใช้สาร 2 ชนิดดังกล่าวที่ยังไม่มีสารทดแทนได้  เลยขอให้กรมวิชาการเกษตรเร่งหาสารทดแทน เช่น กรณีคลอร์ไพริฟอสที่ใช้ในการปราบหนอนทุเรียน  ซึ่งยังหาตัวแทนไม่ได้  ให้หาสารทดแทนให้ทันระยะเวลาที่จะมีผลบังคับใช้