TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ 

24 พ.ย. 2562 | 08:00 น.

แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ของกลุ่่มธุรกิจ TCP ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่ม เพราะฉะนั้น วัตถุดิบส่วนใหญ่ คือ “น้ำ” ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทย มีปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งต้นเหตุใหญ่ของปัญหา คือ การบริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ 

TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ 

“สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP บอกว่า ถ้าในแง่ของธุรกิจ กลุ่ม TCP มีความเชี่ยวชาญในการทำน้ำให้ดื่มได้ หรือทำให้น้ำมีรสชาติ มีคุณสมบัติต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าในแง่ของการดูแลพัฒนาแหล่งน้ำ การเติมน้ำ การบริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนในการมีน้ำกินน้ำใช้ของคนไทย TCP ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานร่วมกัน

กลุ่ม TCP จึงได้ร่วมทำงานกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) รวมถึงคนในชุมชน และพนักงานจิตอาสา สร้างเป็นโครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” โดยคิกออฟโครงการแรก ที่ชุมชนบ้านแม่ขมิง จ.แพร่ ด้วยเป้าหมายการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และลดปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำ 

พื้นที่ลุ่มน้ำยม พร้อมจับมือ อพ. และ สสน. ร่วมด้วยเครือข่ายชุมชนบ้านแม่ขมิง จ.แพร่ และจิตอาสาภายในกลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดแพร่ และร่วมกันทำกิจกรรมปรับปรุงระบบส่งน้ำ อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา ที่ใช้ผันน้ำจากแหล่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเรียกว่า “แตต้าง” รวมถึงการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการเรียนรู้ในเรื่องเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยปีนี้เริ่มต้นทำเฟสแรก และจะดำเนินการอย่างน้อย 5 ปี จาก 2 ลุ่มน้ำ

TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ 

TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ 

“ดร.รอยล จิตรดอน” กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) อธิบายว่า ชุมชนที่มีความพร้อมร่วมพัฒนาลุ่มน้ำกับ โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย มี 6 จังหวัด ใน 2 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำยม ที่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย และพิจิตร และลุ่มน้ำปราจีน ที่จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยได้เลือกชุมชนแม่ขมิง จังหวัดแพร่ เป็นต้นแบบ มีการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ และความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา อย่างการจัดทำ “แตต้าง” ตามมังรายศาสตร์ มาช่วยจัดระบบบริหารจัดการน้ำ

“พื้นที่เกษตรของที่นี่ มันมีต่ำมีสูง เราจึงยกระดับน้ำให้สูงขึ้น สร้างฝายใหญ่แล้วต่อท่อ ไล่ไปตามพื้นที่เกษตร พอขอบบนปล่อยน้ำลง แปลงแรกได้ใช้ แปลงสองก็ได้ใช้ แปลงถัดๆ ไปก็ได้ใช้ มีการต่อท่อเล็ก จ่ายตามแปลงเกษตร เป็นเหมือนระบบน้ำรีไซเคิล ที่กระจายน้ำได้ทั่วถึง ซึ่งยังรักษาหน้าดิน และมีน้ำที่ดีให้วัวกินได้อีกด้วย”

TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ 

ส่วนศาสตร์โบราณ อย่างมังรายศาสตร์ กับการทำ “แตต้าง” ก็นำมาช่วยเรื่องการดูแล การตั้งกลุ่มแบ่งหน้าที่ดูแล ฝายใหญ่ ฝายลูก การกระจายน้ำผ่านแตต้าง มีการจัดตั้งคณะกรรมการ และอนุกรรมการ จากคนในชุมชนเข้ามาดูแลรับผิดชอบ ซึ่งปีนี้จะขยายต่อไปเพิ่มอีก 2 หมู่บ้าน พื้นที่ 266 ไร่

กลุ่มธุรกิจ TCP ได้สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการไว้ราว 100 ล้านบาท ตามแผนการดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ. 2562 - 2566) ของโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย จะสามารถช่วยให้ชุมชนในลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำปราจีน กว่า 16,000 ครอบครัว ใน 6 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ และคาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับชุมชนจากการมีน้ำใช้ในการเกษตร

 

หน้า 24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,524 วันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

TCP ผสานศาสตร์โบราณ-เกษตรยุคใหม่ คืนความสมบูรณ์แหล่งน้ำ