เล็งแก้กฎหมายเอสเอ็มอี ดันผู้ประกอบการรายเล็กโต

11 พ.ย. 2562 | 10:20 น.

รมว.คลังเผย เตรียมแก้นิยามพ.ร.บ.เอสเอ็มอีใหม่ หวังดันกลุ่มอองเทอเพอเนอร์เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(พ.ร.บ.เอสเอ็มอี) เพื่อปลดล็อคให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ธุรกิจค้าขายออนไลน์ที่เป็นอุตสาหกรรมของคนรุ่นใหม่ เข้ามาขอแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้น ทั้งผ่านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ รวมถึงการขอเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ เพื่อให้กลุ่มดังกล่าวได้เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น

เล็งแก้กฎหมายเอสเอ็มอี ดันผู้ประกอบการรายเล็กโต

“เอสเอ็มอีไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่หันมาเป็นอองเทอเพอเนอร์กันมากขึ้น มีการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ ขนาดใหม่ ดังนั้นรัฐต้องการให้สนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มนี้ให้เติบโตให้มากขึ้น ด้วยการสนับสนุนด้านเงินทุน จากกองทุนที่เรามีอยู่ให้มากที่สุด ซึ่งก็จะต้องปรับเปลี่ยนระเบียบเงื่อนไขให้ง่ายต่อการช่วยเหลือด้วย”นายอุตตม กล่าว

ทั้งนี้พ.ร.บ.เอสเอ็มอีในปัจจุบันได้นิยามธุรกิจเอสเอ็มอี ว่าต้องมีลูกจ้างไม่ต่ำกวา 200 ราย และมีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่ทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ แต่การแก้ไขดังกล่าวจะเปิดกว้าง โดยให้คำนิยามใหม่ เน้นที่รายได้ของเอสเอ็มอีแทน  คือ หากไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ให้สามารถเข้าขอสินเชื่อของกองทุนสสว.หรือเอสเอ็มอีแบงก์ได้

เล็งแก้กฎหมายเอสเอ็มอี ดันผู้ประกอบการรายเล็กโต

สำหรับเอสเอ็มอีที่จะขอเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐนั้น มีกรอบวงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 1% ปลอดเงินต้น 3 ปี ระยะเวล่าการผ่อนชำระ 7 ปี วงเงินกู้สูงสุดรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่จะได้รับเงินสนับสนุนดัวกล่าว จะต้องอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย(S-Curve) มีการจัดทำบัญชีเดียว ไม่เคยมีประวัติหนี้เสียกับสถาบันการเงินและไม่เคยถูกปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือน ซึ่งเอสเอ็มอีที่ได้รับเงินสนับสนุนดังกล่าว จะได้