ธปท.ตอบ8คําถาม "หนี้ครัวเรือน"

31 ต.ค. 2562 | 10:02 น.

ธปท.ตอบ8คําถาม "หนี้ครัวเรือน"

เวทีเสวนา “ถอดรหัสปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย เร่งแก้อย่างไรให้คนไทยอยู่ดีอย่างยั่งยืน”ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทไทยและสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดย ดร.สรา ชื่นโชคสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ "ถอดรหัสหนี้ครัวเรือน จาก Micro Data และข้อมูลเชิงพฤติกรรม" โดยระบุตอนหนึ่งว่า  ต้นตอของการออมน้อย เป็นปัญหาหนี้สูง และมีภาระหนี้นาน ซึ่งเป็นที่มาของคำตอบสำหรับ 8คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของครัวเรือน คือ 
1. เพราะครัวเรือนไทยขัดสน( รายได้ไม่พอรายจ่าย)จึงต้องมีหนี้?
   จากข้อมูล ภาวะเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยพิจารณา รายรับลบรายจ่ายที่จำเป็น ( ราจ่ายจำเป็นปัจจัย4 ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม  อาหาร  ยา  ที่อยู่อาศัย  บวกค่าเล่าเรียน และค่าเดินทาง) ซึ่งพบว่าครัวเรือนที่รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็น จะมีกลุ่มครัวเรือนประมาณ กว่า 10% ทั้งไม่มีหนี้หรือมีหนี้จะมีคนจนจริงๆที่ขัดสน แต่หากรวมรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าท่องเที่ยว หวย  เหล้า  บุหรี่ สัดส่วนครัวเรือนที่มีรายรับไม่พอรายจ่ายจำเป็นและที่ไม่จำเป็น จะเพิ่มขึ้นประมาณ 30%

2. เพราะมีรายได้ที่ผันผวนทำให้คาดการณ์รายได้ยาก และนำไปสู่การก่อหนี้?
      หากนับจากสัดส่วนรายได้ที่มั่นคง(คือ รายได้เป็นรายเดือน) แต่ กลับพบว่า ยิ่งมีรายได้ที่มั่นคงเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น และการออมน้อยลง
 

3. จริงหรือไม่ ที่ Gen Y ใช้จ่ายมากกว่าคนรุ่นก่อนก่อน?
   ในส่วนนี้ ผลจากการเปรียบเทียบ การใช้จ่ายของแต่ละกลุ่ม เทียบปี 2554กับปี2560 หลังจากคุมปัจจัยต่างๆให้คงที่แล้ว โดยพบว่าครัวเรือนที่มีหนี้แต่ไม่มีปัญหาส่วนใหญ่จะระมัดระวัง การใช้จ่าย ลดลง เมื่อเทียบกับปี 54 แต่ครัวเรือนที่มีหนี้ ที่มีปัญหา จะ มีการใช้จ่ายเพิ่ม โดย Gen Y ใช้จ่ายมากกว่าเจนอื่นๆ  ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก GEN Yมีการเข้าถึงโซเชี่ยวมีเดีย/เทคโนโลยี
4. จริงหรือไม่ที่เทคโนโลยีมีส่วนทำให้ครัวเรือนใช้จ่ายมากขึ้น?
ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น  จะมียอดการใช้จ่ายสูงขึ้น30%เมื่อเทียบกับครัวเรือนที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต และพบว่าการใช้จ่ายผ่านออนไลน์สูงกว่าออฟไลน์ถึง 40%
5. การเพิ่มรายได้จะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้หรือไม่?
กลุ่มที่ไม่มีวินัยทางการเงิน รายได้ที่เพิ่มขึ้น จะถูกนำมาใช้จ่ายเป็นส่วนใหญ่   ส่วนกลุ่มที่มีวินัย จะแบ่งสัดส่วนไว้ออมก่อน ดังนั้น ถ้าเพิ่มเงินให้กับกลุ่มที่ไม่มีวินัย ขาดประสิทธิผลในการที่จะแก้ปัญหา เพราะพฤติกรรมเดิมๆย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม

ธปท.ตอบ8คําถาม "หนี้ครัวเรือน"

6. ครัวเรือนไทย มีศักยภาพในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนหรือไม่?
      บนสมมติฐานถ้าปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  20% จะทำให้ครัวเรือนขัดสนลดลงได้  หรือกรณีที่ครัวเรือนยอมแประหยัดโดยนำรายจ่ายไม่จำเป็นไปชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดระดับหนี้ในที่สุด
7. ครัวเรือนไทยต้องปรับตัว มากน้อยแค่ไหน?
หากพิจารณาจากรายจ่ายที่ไม่จำเป็นครัวเรือนควรลดค่าใช้จ่าย เช่นค่าหวย 50%  หรือภายใต้โมเดลการศึกษาควรปรับลดค่าการท่องเที่ยว  เสื้อผ้า หรือ แบรนด์เนมบ้าง เป็นต้น
8. ทำไมการออมจึงเป็นเรื่องสำคัญกว่าที่คิด
       เนื่องจากการออม เป็นจุดเริ่มต้นของงบดุล เพราะการออมน้อยทำให้ก่อหนี้สูง ปิดโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ และการออมน้อยไม่สามาถทำให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ ดังจะเห็นได้จาก  10 ปีที่ผ่านมา แม้ว่า การกระจายรายได้ดีขึ้น แต่ความเหลื่อมล้ำอย่างเพิ่มขึ้น โดยกระจุกตัวอยู่ที่TOP10% เพราะฉะนั้นการออมจึงสำคัญ
อย่างไรก็ตามก่อนก่อเป็นหนี้ครัวเรือนต้องมีความพร้อมหรือ เมื่อเป็นหนี้ก็ควรเป็นหนี้อย่างเหมาะสมและผู้ปล่อยกู้ต้องมีความรับผิดชอบ เหล่านี้ต้องทำไปพร้อมๆกัน

ธปท.ตอบ8คําถาม "หนี้ครัวเรือน"