ตอบโต้การทุ่มตลาดของไทย ใต้เงาสงครามการค้าต้องทันเกม

24 ต.ค. 2562 | 10:29 น.

ตอบโต้การทุ่มตลาดของไทย ใต้เงาสงครามการค้าต้องทันเกม

สงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ออกรายงาน “World Economic Outlook : Global Manufacturing Downturn, Rising Trade Barriers” เมื่อตุลาคม 2562 ได้ปรับเศรษฐกิจโลกลดลงจากปี 2561 จาก 3.6% เหลือ 3.0% ซึ่งจีนมีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจลดลงอย่างต่อเนื่อง ไตรมาส 1 มี GDP เท่ากับ 6.4% ไตรมาส 2 GDP เท่ากับ 6.2% และเมื่อ 18 ตุลาคม 2562 Nation Bureau Statistics of China (NBS) ได้รายงานว่า GDP ไตรมาส 3 ของจีน GDP อยู่ที่ 6.0% ต่ำสุดในรอบ 27 ปี (ตั้งแต่ปี 1992)

 

 IMF ยังได้คาดว่า GDP จีนทั้งปีอยู่ที่ 6.1 นั้นแสดงว่า GDP ของจีนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมคาดว่า GDP ไตรมาสที่ 4 ของจีนอยู่ที่  5.8% แต่ดัชนีผู้จัดการจัดซื้อ (Purchasing Manager Index : PMI) อุตสาหกรรมของจีน แม้ว่าจะมีค่าต่ำกว่า 50 เมื่อเทียบกับเดือนต่อเดือนยังมีการขยายตัว เช่น PMI ในเดือนกันยายน 2562 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2562 เหตุผลเพราะมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากค่า 47.2 เป็น 48.2 ผลผลิตเพิ่มจาก 51.9 เป็น 52.3 เมื่อกำลังการผลิตไม่ลดลง ก็จำเป็นต้องระบายสินค้าอุตสาหกรรมออกนอกประเทศให้มากขึ้น

 

ตัวเลขของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยรายงานว่า ในปี 2561 การนำเข้าเหล็กของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี 2560  และช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นเช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เหล็กเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เหล็กเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า และเหล็กเคลือบอื่น ๆ

ตอบโต้การทุ่มตลาดของไทย ใต้เงาสงครามการค้าต้องทันเกม

 

นอกจากนี้ยังมีเหล็กบางประเภทมีการนำเข้าจากเวียดนามซึ่งบางส่วนใช้วัตถุดิบจากจีน เกิดคำถามว่า “ราคาสินค้าส่งออกเหล่านั้นถูกกว่าปกติหรือไม่” ถ้าเป็นแบบนั้นย่อมกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “การตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping : AD)” จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อราคาสินค้าส่งออกของประเทศผู้ส่งออกที่เข้ามาขายในประเทศไทย “ต่ำกว่า” ราคาที่ซื้อขายกันจริงสำหรับสินค้าชนิดเดียวเพื่อการบริโภคในประเทศผู้ส่งออก โดยมีข้อกำหนดว่าราคาของสินค้าดังกล่าวนั้นต้องมีปริมาณที่ซื้อขายกันในประเทศส่งออก “ไม่น้อยกว่าร้อยละห้า” ของปริมาณสินค้าที่ส่งออกไปในประเทศไทย

ตอบโต้การทุ่มตลาดของไทย ใต้เงาสงครามการค้าต้องทันเกม

 อย่างไรก็ตามประเด็นการได้มาซึ่งราคาที่ซื้อขายกันในประเทศส่งออก อาจจะไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะอาจจะมีวิธีการ “บิดเบือน” ที่ไม่ใช่ราคาซื้อขายจริง ตามพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ 2542 บอกว่าวิธีการคิดหาราคาซื้อขายของสินค้าในประเทศส่งออกเป็นดังนี้ (คิดจากวิธีการใดวิธีการหนึ่ง) 1.คิดจากราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ส่งไปขายในประเทศที่สาม หรือ 2. คิดจากต้นทุนการผลิตสินค้ารวมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตของประเทศส่งออก หรือ 3.คิดจากราคาในประเทศที่สามที่มีระบบตลาดใกล้เคียงกับประเทศที่ส่งออกสินค้า หรือ 4. คิดจากราคาที่ขายในประเทศไทย

ตอบโต้การทุ่มตลาดของไทย ใต้เงาสงครามการค้าต้องทันเกม

นอกจากประเด็นการได้มาซึ่งราคาแล้ว ยังมีวิธีการหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้าในประเทศไทยใน 4 รูปแบบ คือ 1.ดัดแปลงสินค้าเพียงเล็กน้อย (Slight modification)  เช่น การเจือธาตุบางชนิดลงไปในเหล็กเพื่อหลบเลี่ยงให้สินค้าเปลี่ยนจากพิกัดเหล็กเป็นอัลลอย 2.ส่งสินค้าผ่านประเทศที่ไม่ถูกAD (Transshipment) สินค้าจีนโดน แต่ส่งไปเวียดนามแล้วส่งออกมายังไทยอีกต่อหนึ่ง

 

3.ส่งสินค้าผ่านผู้ส่งออกที่ถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าของบริษัทตนเอง (Channeling) 4.นำเข้ามาประกอบในประเทศไทย (Completion และ Assembly operation) คือ การนำสินค้าที่โดน AD ที่ยังทำไม่สำเร็จมาทำให้สำเร็จในไทยหรือประเทศอื่นที่ไม่ถูกเก็บอากร และการนำชิ้นส่วนของสินค้าที่ถูกใช้ AD ที่ผลิตจากประเทศที่ถูกใช้ มาตรการ มาประกอบเป็นสินค้าในไทยหรือประเทศอื่นที่ไม่ถูกเก็บอากร เมื่อการใช้กฎหมาย AD นั้นมีข้อจำกัดในหลายประเด็นข้างต้น ทำให้เกิดกฎหมายการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า (Anti Circumvention : AC) ปี 2562 เพื่อต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น

ตอบโต้การทุ่มตลาดของไทย ใต้เงาสงครามการค้าต้องทันเกม

 

อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งข้อมูลของประเทศผู้ส่งออกหากดำเนินการหาข้อมูลจากเฉพาะรายบริษัท ที่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบต้องไปหามา ซึ่งแตกต่างกับกรณี ของกฎหมาย AD ที่สามารถฟ้องร้องเป็นรายประเทศและหาข้อมูลของประเทศส่งออกเป็นตัวแทน หากเป็นแบบนี้ ผู้ยื่นคำร้องไม่สามารถหาได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลความลับของแต่ละบริษัท และมีโอกาสถูกฟ้องได้หากนำมาใช้ และนอกจากนี้ ผ่านมาถึงแม้ว่ามีการบังคับใช้มาตรการ AD และปกป้อง (Safeguard) หลายมาตรการ แต่ผู้ผลิตในประเทศไทยไม่เคยมีการปรับราคาขึ้นตามอัตราอากรที่มีการบังคับใช้เลย ฉะนั้นภายใต้ “ผลผลิตส่วนเกิน” อันเนื่องมาจากสงครามทางการค้าที่สินค้าจากต่างประเทศทะลักเข้ามาในประเทศไทย การมีกฎหมายที่เท่าทันและเอื้อต่อการอยู่รอดของผู้ประกอบการไทยจึงมีความจำเป็นอย่างมากในสถานะการณ์ปัจจุบันครับ