ซิตี้แบงก์ แนะ 5 สเต็ป รับมือยุคสังคมไร้เงินสด

25 ต.ค. 2562 | 09:05 น.

 

คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปกับการทำธุรกรรมธนาคารในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนสามารถทำรายการและตรวจสอบธุรกรรมต่างๆได้ด้วยตนเองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคสู่สังคมไร้เงินสดเป็นแนวโน้มที่น่าจับตามอง

ข้อมูลจาก Hootsuite ผู้ให้บริการระบบจัดการ Social Media และ Marketing Solutions ได้รวบรวมสถิติผู้ใช้งานโมบาย แบงกิ้งในประเทศ พบว่ามีผู้ใช้งานสูงถึง 74% หรือราว 51 ล้านคน เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันอาจเป็นช่องทางให้เกิดการโจรกรรมผ่านไซเบอร์ หรือ Cyber Crime เพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยกว่า 91% ของการหลอกลวงหรือการโจรกรรมข้อมูลมาจากอี-เมล์(Email)และ 35% ของผู้ใช้งานโมบาย แบงกิ้ง ได้รับข้อความ(SMS)จากผู้ไม่ประสงค์ดีที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ในการทุจริต และทำให้เกิดความเสียหายตามมา 

ด้านธนาคารนอกจากต้องออกแบบโมบายแอพพลิเคชันให้ลูกค้าใช้งานได้ง่าย และสะดวกแล้ว ยังต้องพัฒนาระบบความปลอดภัยเพื่อป้อง กันการถูกโจรกรรมข้อมูลรวมถึงมีบริการ ช่วยแจ้งเตือนลูกค้าอย่างทันท่วงที ซึ่งปัจจุบันนี้มีฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกค้าลดความกังวลในการทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงกิ้งได้ไม่ว่าจะเป็น

แสดงรายการเรียลไทม์ บนโมบายแอพฯ

ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้ สามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมต่างๆ บนแอพ ของธนาคารได้ทันที รวมถึงมีระบบแจ้งเตือน เมื่อเกิดการทำ โอน-รับ-ใช้จ่าย ผ่านโมบาย แอพ ทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบรายการที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

ซิตี้แบงก์  แนะ 5 สเต็ป  รับมือยุคสังคมไร้เงินสด

ประทีป คามัคค

 

โอทีพี(One-Time Pin)และโมบาย โทเค็น(Mobile Token)

หนึ่งในสเต็ปหลักประกันก่อนทำธุรกรรมทุกครั้งที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องใส่รหัสการใช้งานครั้งเดียว หรือโอทีพี(One-Time Pin)ที่ส่งตรงจากธนาคารเข้าสู่โทรศัพท์ส่วนตัวของผู้ใช้ เพื่อใช้ยืนยันการทำในแต่ละธุรกรรม นอกจากนี้ในบางธนาคารผู้ใช้งานยังให้บริการยืนยันการทำธุรกรรมด้วยโมบายโทเค็นหรือรหัสส่วนตัวที่กำหนดโดยตัวผู้ใช้งานเองช่วยเพิ่มขีดความปลอดภัยกรณีการถูกดักโจรกรรมข้อมูลผ่านทาง SMS และสามารถทำรายการต่อได้แม้ว่าจะเดินทางอยู่ในต่างประเทศและไม่ได้เปิดบริการโรมมิ่ง

ซิตี้แบงก์  แนะ 5 สเต็ป  รับมือยุคสังคมไร้เงินสด

 

เชื่อมทัชพอยต์ รับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค

แม้จะมีระบบการแจ้งเตือนผ่านแอพธนาคาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ได้ติดตามข้อมูลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ธนาคารจึงจำเป็นต้องพัฒนาและเชื่อมต่อการแจ้งเตือนธุรกรรม เพื่อ ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคได้ในทุกกลุ่มตั้งแต่ทางอี-เมล์ สำหรับกลุ่มคนทำงาน ข้อความ SMS ที่เหมาะกับกลุ่มที่ไม่เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีมากนัก หรือแม้กระทั่งไลน์ (LINE)แอพพลิเคชัน ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

 

ป้องกันรายการที่น่าสงสัยผ่าน 2-way SMS

2-way SMS เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์เสริมความปลอดภัย ที่นำมาใช้เพื่อความปลอดภัยของการใช้บัตร เมื่อธนาคารพบว่า มีรายการที่น่าสงสัยผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ธนาคารจะส่งข้อความไปยังลูกค้าเพื่อตรวจสอบว่า ลูกค้าได้ทำรายการดังกล่าวจริงหรือไม่ ในกรณีที่ลูกค้าตอบกลับว่าลูกค้าไม่ได้ทำรายการนั้นๆ ด้วยตนเอง ธนาคารจะทำการอายัดบัตรและติดต่อลูกค้าเพื่อให้คำแนะนำในลำดับต่อไป ซึ่งเป็นการป้องกันรายการทุจริตอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น

 

ซิตี้แบงก์  แนะ 5 สเต็ป  รับมือยุคสังคมไร้เงินสด

ไบโอเมตริกซ์อัจฉริยะ

เทคโนโลยีล่าสุดที่พัฒนาขึ้นสอดรับกับความสามารถของสมาร์ทโฟน ซึ่งบางธนาคารได้นำเอาการพิสูจน์ตัวตนทางชีวภาพ หรือ ไบโอเมตริกซ์(Biometric Authentication) เช่น การตรวจสอบลายนิ้วมือ และการจดจำใบหน้า เพื่อใช้ในการเข้าล็อกอินสู่แอพ และใช้ยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรม ซึ่งให้ความปลอดภัยที่สูงยากที่จะถูกลอกเลียน

นายประทีป คามัคค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารได้พัฒนาซิตี้ โมบาย แอพพลิเคชันเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานลูกค้าและได้นำเอาฟังก์ชันความปลอดภัยทั้งหมดข้างต้น มาเสริมศักยภาพการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง โดยจากข้อมูลการใช้พบว่า มีผู้ใช้งานโมบาย แบงกิ้งของธนาคารซิตี้แบงก์เพิ่มขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับปี 2561 ซึ่งธนาคารมีข้อแนะนำ 5 ขั้น กรณีมีแนวโน้มถูกโจรกรรมข้อมูลคือ 1. ปิดการเชื่อมต่อไว-ไฟ(Wi-Fi)แล้วใช้สัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์แทนในการเข้าสู่โมบาย แอพ 2. ตรวจสอบรายการใช้จ่ายหรือ การทำธุรกรรมล่าสุดทันทีผ่านแอพ 3.ระงับการใช้งานบัตรชั่วคราวผ่านแอพทันทีที่พบรายการที่น่าสงสัย 4.เปลี่ยนรหัสผ่านและรหัสแอพใหม่ และ 5.ติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อแจ้งรายการที่น่าสงสัยทันที

 

หน้า 19  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,516 วันที่ 24-26 ตุลาคม 2562

ซิตี้แบงก์  แนะ 5 สเต็ป  รับมือยุคสังคมไร้เงินสด