กูรูแนะ 4 เคล็ดลับ ฟื้น‘สตรีตฟู้ด’

26 ต.ค. 2562 | 04:20 น.

เศรษฐกิจชะลอตัว ฉุด “สตรีตฟู้ด” มูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านวูบ “FFI” แนะผู้ประกอบการเร่งมองหาโอกาส จากวิกฤติ ปรับตัวรับดีมานด์ลด เผยเคล็ดลับทางรอด “Online Marketing, Delivery, สร้าง Branding และทันสมัย”

ภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้อช่วงที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหารขนาดเล็กและสตรีตฟู้ดที่มีมูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการเติบโต 3-5% ในปีนี้ จากผู้ประกอบการในประเทศร่วม 3 แสนราย ที่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทำให้หลายฝ่ายต่างเร่งหาทางออกและปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้สตรีตฟู้ดไทยได้เดินถูกทาง เพราะนอกเหนือจากความนิยมภายในประเทศแล้ว ชื่อของ “สตรีตฟู้ด” เมืองไทยยังดังไกลไปทั่วโลก จนกลายมาเป็นอีกหนึ่งแม็กเนตสำคัญในการดึงนักท่องเที่ยวช่างชาติเข้ามา

กูรูแนะ 4 เคล็ดลับ ฟื้น‘สตรีตฟู้ด’

พลิก “วิกฤติ” สู่ “โอกาส”

นายสุภัค หมื่นนิกร ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร Chairman & Founder สถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร (Food Franchise Institute:FFI) ผู้คร่ำหวอดในธุรกิจร้านอาหารแฟรนไชส์มากว่า 30 ปี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากแนวโน้มสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการสตรีตฟู้ดหรือร้านแฟรนไชส์ขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มลูกค้าที่ปิดตัวลงเพราะสภาพเศรษฐกิจ 2. กลุ่มที่ชะลอตัวและรอสภาพเศรษฐกิจฟื้น และ 3.กลุ่มคนที่มีกำลังทรัพย์และมีช่องทางลงทุนในการเตรียมพร้อมลงทุนเพื่อรอวันที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่น่าสนใจเพราะเป็นจังหวะที่ดีที่จะได้ลงทุนในราคาถูกลงมา จากคู่แข่งที่หายไป และสามารถลงทุนที่หลากได้มากขึ้น

“ผมชอบเศรษฐกิจแบบนี้เพราะมองว่าในวิกฤติยังมีโอกาสและการเติบโตอยู่เสมอหากเราสามารถทำงานได้ตรงจุด หมายความว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างไร แต่เรายังมีโอกาสอยู่ เนื่องจากพอเศรษฐกิจชะลอตัวทุกคนจะเริ่มชะลอตัวตามไปด้วยเพื่อรอดูสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่หลายคนจะรอประเมินสถานการณ์ พอมีปัญหาเข้ามาเราก็ต้องมานั่งวิคราะห์เพื่อหาทางออก และพบว่าจริงๆแล้วมันก็มีโอกาสอยู่ในนั้น”

กูรูแนะ 4 เคล็ดลับ ฟื้น‘สตรีตฟู้ด’

ดังนั้นผู้ประกอบการในกลุ่มนี้จำเป็นต้องทำเพื่อหาโอกาสจากวิกฤติคือเรื่องของ Marketing Online ที่มีค่าโปรรดักชันถูกลง 50% เนื่องจากผู้ประกอบการด้านมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ก็ต้องการลูกค้าเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจดังกล่าวที่มีลูกค้าเข้ามาก็น้อยลงเหมือนกัน ขณะเดียวกันคู่แข่งทางฟีตที่ขึ้นหน้าจอก็น้อยลง ต่อด้วยการเทรนนิ่งพนักงานเพื่อเตรียมความพร้อมจังหวะที่ลูกค้าไม่เยอะมาก ทั้งมาตรฐานการบริการ การพัฒนาบุคลากร หรือรวมไปถึงการให้ค่าคอมมิสชันพนักงานเพิ่มเติมหากทำผลงานได้ดี

กูรูแนะ 4 เคล็ดลับ ฟื้น‘สตรีตฟู้ด’ ด้านแบรนด์ที่มีกำลังทรัพย์ก็มีการเตรียการขยายสาขา เพราะจังหวะนี้การแข่งขันด้านพื้นที่เช่าน้อยลง ราคาถูกลง เพื่อเตรียมความพร้อมการขยายตัว ขณะที่แบรนด์ระดับกลางที่มองหาแบรนด์ใหม่เข้ามาเสริมทัพและต้องการสร้างการเติบโตทางอ้อมก็มีแบรนด์ที่พร้อมขายแฟรนไชส์หรือขายกิจการจำนวนมาก ในสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งในกลุ่ม ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ของหวาน และเบเกอรี่ โดยปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้สตรีตฟู้ดไทยสามารถเติบโตและอยู่รอดได้ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์สำคัญได้ 1. การตลาดต้องมี Online Marketing เพื่อสร้าง 2.เพิ่มบริการ Delevery 3.สร้าง Branding ให้แข็งแกร่ง และติดตลาด และ 4.ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันยุคสมัย ขณะที่ผู้ประกอบการรุ่นเก่าที่ไม่รู้จักปรับตัวก็จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

กูรูแนะ 4 เคล็ดลับ ฟื้น‘สตรีตฟู้ด’

เปิดหลักสูตรดันสตรีตฟู้ดโต

ในส่วนของ FFI มีนโยบายในการดำเนินงานเพื่อผลักดันและสร้างโอกาสทางการเติบโตให้สตรีตฟู้ดและแฟรนไชส์ร้านอาหารของไทยให้เติบโตได้ ไม่เพียงแต่ภายในประเทศเท่านั้น หากแต่ยังหมายรวมถึงการสยายปีกออกไปในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้เติบโตควบคู่กันไปกับไทยหรือซีแอลเอ็มวี+ที (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย)

 

สำหรับแผนงานของสถาบันนับจากนี้จะยังคงสานต่อแผนงานภายใต้ปรัชญา ที่ต้องการให้ผู้ประกอบการในธุรกิจสตรีตฟู้ดหรือแฟรนไชส์ขนาดเล็ก-กลาง ในเมืองไทยให้มีผลประกอบการที่ดี สามารถอยู่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจทุกรูปแบบ พร้อมต่อยอดพาธุรกิจให้ขยายสาขาได้ในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ภายใต้การให้ความรู้และอบรมแก่ผู้ประกอบการที่สนใจธุรกิจสตรีตฟู้ดแฟรนไชส์ร้านอาหารใน 4 ด้านได้แก่ 1. สัมมนาระยะสั้น 2.หลักสูตรระยะสั้น เรื่องการสร้างแบรนด์ การจัดการบริหารภายในร้าน การทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง และเรื่องกฎหมายแฟรนไชส์ 3.ด้านหลักสูตรโค้ชชิ่ง ที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์หรือ To Be Franchisor และ 4.การ Turn Key หรือการทำเรื่องแบรนดิ้ง ออนไลน์ จัดตกแต่งร้าน เมนู ระบบโอเปอเรชัน ให้แก่ผู้เรียน

กูรูแนะ 4 เคล็ดลับ ฟื้น‘สตรีตฟู้ด’

“ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวบริษัทขนาดกลางที่มียอดขายตั้งแต่ 50-200 ล้านบาท เริ่มให้ความสนใจในการปรับแผนงาน การขยายสาขา และต้องการโนว์ฮาวในการสร้างธุรกิจ ซึ่งหลักสูตรของเราก็มีรองรับความต้องการของผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการขยายการให้ความรู้ไปจนถึงการขยายแฟรนไชส์ในต่างประเทศในแถบประเทศเพื่อนบ้านโดยปีนี้เป็นการนำร่องอบรมหลักสูตร ก่อนที่ปีหน้าจะเดินหน้าสร้างหลักสูตรอบรมแฟรนไชส์ต่างประเทศอย่างจริงจัง”