ม.มหิดลฯ ได้ร่างหลักเกณฑ์ปัญญาประดิษฐ์

21 ต.ค. 2562 | 09:08 น.

   นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ร่างเอกสารหลักการและแนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ “Digital Thailand – AI Ethics Guideline” ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสาหรับทั้งผู้วิจัย ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนา และผู้ให้บริการผู้ปัญญาประดิษฐ์ ทั้งยังเป็น การชี้แจงให้ผู้รับบริการได้ทราบถึงสิทธิและความเสี่ยงในการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว จึงถือเป็นก้าวแรกในการสร้าง ความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัยให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ได้อยู่ร่วมกับสังคมไทยอย่างลงตัว

    สำหรับร่างเอกสารหลักการและแนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ “Digital Thailand – AI Ethics Guideline” ได้ผ่านการนาเสนอสู่สาธารณชนและสื่อมวลชนเป็นครั้งแรกในวันนี้ (21 ตุลาคม 2562) โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และภาคเอกชนในการสร้างร่างเอกสาร ดังกล่าวขึ้น เพื่อวางแนวทางในขั้นแรกเริ่มในด้านหลักการทางจริยธรรมสาหรับปัญญาประดิษฐ์ โดยสามารถแยก แนวทางนี้ออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่ 1.ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะต้องได้รับ การส่งเสริมความการใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างการแข่งขันและ พัฒนานวัตกรรม พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน,2.ความสอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม และ มาตรฐานสากลกาหนดให้มีแนวทางการปฏิบัติในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ให้มีความสอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม และมาตรฐานสากล โดยเคารพต่อความเป็นส่วนตัว เกียรติ สิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ,3. ความ โปร่งใสและภาระความรับผิดชอบ ควรมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งจะต้องมีภาระ ความรับผิดชอบ ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นตามภาระหน้าที่ของตนได้

   4.ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ควรได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคาม เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลและระบบ รวมถึงการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล ตามหลักจริยธรรม ,5.ความเท่าเทียม หลากหลาย ครอบคลุม และเป็นธรรม ควรมีการออกแบบและพัฒนาโดยคานึงถึง ความเท่าเทียม หลากหลาย ครอบคลุม และความเป็นธรรม หลีกเลี่ยงการผูกขาด ลดการแบ่งแยกและเอนเอียง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนจำนวนมาก และ 6.ความน่าเชื่อถือ ควรได้รับการสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในการใช้งานต่อ สาธารณะ โดยมีผลลัพธ์อย่างถูกต้องแม่นยา พร้อมการดาเนินการควบคุมคุณภาพและความครบถ้วนสมบูรณ์ของ ข้อมูลได้