กยท.เตรียมใช้โดรนบินพ่นยาสกัด “โรคใบร่วง”

17 ต.ค. 2562 | 11:20 น.

กยท.เปิดแผนสกัดโรคใบร่วง คาดต้นเหตุจากควันไฟป่าอินโดฯ พาโรคพ่วงติดใบยางพาราไทย เผย 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่องภาพถ่ายดาวเทียมพบระบาดแล้ว 1.5 หมื่นไร่ เล็งใช้โดรนบินพ่นยาสกัดโรค ป้องกันลามระบาดพื้นที่อื่น

กยท.เตรียมใช้โดรนบินพ่นยาสกัด “โรคใบร่วง”

นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จาการตรวจสอบการระบาดของโรคเชื้อรา Pestalotiopsis sp. จากภาพถ่ายดาวเทียมของจิสด้า พบการระบาด 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี  นราธิวาส และยะลา คาดพื้นที่ประมาณ 1.5  หมื่นไร่ เป็นเชื้อราที่เกิดขึ้นอินโดนีเซียและมาเลเซียเมื่อปีที่แล้วจะต้องมีการควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายวัสดุและใบยางไม่ให้ออกไปสู่ที่อื่นและถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีแนะนำถ้ามีการระบาดรุนแรงและลุกลาม

กยท.เตรียมใช้โดรนบินพ่นยาสกัด “โรคใบร่วง”

“เป็นห่วงเพราะเชื้อราตัวนี้มีการแพร่กระจายเข้ามาระบาดโดยลมและฝนกลัวจะลุกลามเข้าสู่พื้นที่อื่น ยิ่งขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ด้วย แต่จังหวัดเหนือสงขลาขึ้นมายังไม่ได้รับรายงานจาก กยท.ในพื้นที่ ได้สั่งการในเบื้องต้นไปแล้วถ้าพบให้รีบรายงานเข้าส่วนกลางด่วน โรคที่เกิดขึ้นในต้นยางใบจะมีลักษณะใบร่วงเกิน 90% แล้ว ส่งผลทำให้ผลผลิตลดลง แต่ยังไม่มีรายงานการเกิดโรคจนถึงต้นตาย”

กยท.เตรียมใช้โดรนบินพ่นยาสกัด “โรคใบร่วง”

นายกฤษดา กล่าวว่า ความจริงแล้วโรคนี้ใบไม้ร่วงทั่วไป มีลักษณะอาการโรคที่เกษตรกรคุ้นชิน เพียงแต่ว่าเชื้อราตัวนี้ร้ายกาจมากเข้าได้ทุกในระยะทั้งแก่อ่อน ยังไม่มีพันธุ์ยางชนิดไหนที่ต้านทานโรคนี้ได้ ปกติถ้าเป็นโรคอื่น อาทิ โรคไฟทอฟธอรา (Phytophthora) จะมีบางพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคนี้ แต่โรคนี้ยังไม่ได้รับรายงานเลยว่าจะมีพันธุ์ยางชนิดไหนที่ต้านทานโรคนี้

กยท.เตรียมใช้โดรนบินพ่นยาสกัด “โรคใบร่วง”

“ในระหว่างนี้มีการพูดคุยกับสถาบันเกษตรกร แห่งไหนที่เห็นว่าพื้นที่รุนแรง จะเขียนโครงการใช้โดรนฉีดพ่นยาที่ต้องการ ซึ่งไม่มีอันตรายต่อคน แล้วถ้ายินยอม มีงบประมาณอุดหนุนจะใช้นำร่องใช้สารเคมีไปทดลองฉีด คาดว่าเชื้อราดังกล่าวนี้เป็นควันไฟมาจากอินโดนีเซียพัดมาเกาะติดใบแล้วทำลาย ประกอบกับฝนตกด้วยผสมกันมา"

กยท.เตรียมใช้โดรนบินพ่นยาสกัด “โรคใบร่วง”

อย่างไรก็ดีเรื่องดังกล่าวนี้นายสุนันท์ นวลพหมสกุล รักษาการผู้ว่าการ กยท.ให้ความสำคัญมาก และกำชับให้ดูแลเป็นพิเศษ เพราะเห็นใจเกษตรกรที่จะต้องเผชิญภาวะสถานการณ์ราคายางในประเทศไม่ค่อยดี ยังต้องมาเผชิญโรคที่ทำให้ผลผลิตลดลงซ้ำเติมทุกข์เข้าไปอีก เป็นเรื่องที่น่าสงสารและเห็นใจที่สุด