22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

16 ต.ค. 2562 | 13:15 น.

22 ต.ค. “มนัส” เตรียมขนเกษตรกรให้กำลังใจคณะกรรมการวัตถุอันตราย หลังผนึกร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย คว่ำมติ ก.เกษตรฯ แบน 3 สารเคมี ไร้ตัวแทนเกษตรกรนั่งเป็นกรรมการ โวยนักการเมืองใช้อำนาจชี้นำข้าราชการ หวั่นตกเป็นเครื่องมือ เชื่อหักดิบมีผลประโยชน์ทับซ้อน

 

 

จากประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีกาประกาศแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเห็นของส่วนรัฐ ผู้นำเข้า เกษตรกร และผู้บริโภค ต่อการยกเลิก 3 สารเคมี ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส  ซึ่งคณะทำงานนำโดยกระทรวงเกษตรฯได้มีมติยกเลิกและจะนำเข้าเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายนั้น เกษตรกรกลุ่มพืชเศรษฐกิจหลัก ขอคัดค้านมติดังกล่าว พร้อมระบุการแต่งตั้งคณะทำงานฯ ขาดความชอบธรรมโดยมีแต่กรรมการที่คัดค้านการใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิก และไม่มีตัวแทนผู้นำเข้าอย่างครบถ้วน

22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากกระแสข่าวที่เห็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้โหนกระแสเป็นการชี้นำข้าราชการที่ตั้งอยู่ในบอร์ดคณะกรรมการวัตถุอันตรายหรือไม่ มองว่าไม่โปร่งใส อีกด้านคิดว่าคณะกรรมการที่นั่งอยู่ในบอร์ดแต่ละท่าน "คิดเป็น " ที่จะ "ยกเลิก" หรือให้ใช้ต่อไป

22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

“หากย้อนกลับไปถามว่าช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีชุดก่อนหน้านี้ และมีอำนาจเต็มเบ็ดเสร็จ มี ม.44 อยู่ในมือทำไมประกาศเลิกทันที ก็จบไปแล้ว ดังนั้นควรจะให้เกียรติคณะกรรมการฯ เพราะแต่ละคนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น ต้องเชื่อในการตัดสินใจ ดังนั้นในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ทางเกษตรกรได้นัดหมายแล้วที่จะไปฟังผล ไม่ว่าจะมีการตัดสินออกมาอย่างไรก็น้อมที่จะรับฟัง"

22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

นายมนัส กล่าวว่า เกษตรกรคือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่กลับไม่มีการปรึกษาขอความเห็นจากเกษตร ผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลักเลย ส่วนสารเคมีที่คาดการณ์ว่าจะนำมาใช้ทดแทนพาราควอตและไกลโฟเซตนั้น ก็เป็นวัตถุอันตรายประเภท 3 ที่มีราคาสูงกว่าถึง 6 เท่า ขณะเดียวกันประสิทธิภาพต้องใช้เพิ่มขึ้น 1.5 – 2  เท่า เท่ากับเกษตรกรมีต้นทุนเพิ่ม 12 – 14 เท่าตัว

22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

ด้านดร.วรณิกา นาควัชระ บีดิงเฮาส์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวว่า  การประกาศยกเลิกการใช้ 3 สาร ทันทีภายในวันที่ 1 ธันวาคมนั้น คณะทำงานฯได้พิจารณาถึง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการที่เกษตรกรยังไม่มีสารใดมาทดแทนหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ไม่ให้ระยะเวลาในการจัดการสต๊อกสินค้า หากคำนวณงบประมาณที่รัฐฯจะต้องใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงค้างดังกล่าวที่มีอยู่มากถึง 30,000 ถึง 40,000 ตัน จะต้องมีค่าทำลายสารเหล่านี้ประมาณ 4,000 ถึง 5,000 ล้านบาท ค่าขนย้ายและดูแลรักษาที่ภาครัฐต้องเช่าโกดังเก็บสินค้าอีกกว่า 5,050 ล้านบาท ค่าชดเชยให้เกษตรกรประมาณ 3 เท่า ของราคาสินค้า ซึ่งคาดว่าขณะนี้ในมือเกษตรกรมีอยู่ประมาณ 10,000 ตัน และถ้ารัฐต้องจ่าย 500 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับว่าจะต้องชดเชยถึง 500,000 บาท ต่อ 1 ตัน ดังนั้นหากรัฐจะมีมติยกเลิกจริงควรจะต้องให้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี เช่นเดียวกับที่ประเทศอื่นทำ เพื่อให้สินค้าที่คงค้างอยู่หมดไป และไม่ต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการทำลายสารเคมีที่ถูกประกาศยกเลิก

22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

“หากพูดถึงขั้นตอนในการประกาศยกเลิกสารเคมี คือ “ลด ละ เลิก” ณ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการ “ลด” คือการจำกัดการใช้ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเกษตรได้มีการทำการสร้างความรู้ความเข้าใจ การฝึกอบรมและทดสอบ การใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของตัวเกษตรกรเอง และผู้บริโภค  โดยได้จัดให้มีการฝึกอบรมร้านค้า เกษตรกร และผู้รับจ้าง โดยทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง

  22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

“จะให้ “ละ” และ “เลิก” ได้ก็ต่อเมื่อมีสารทดแทนแนะนำให้เกษตรกร ซึ่งผู้นำเข้ายินดีที่จะปฏิบัติตามผลการพิจารณาของภาครัฐที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการทดสอบเพื่อหาสารที่ทดแทนได้อย่างแท้จริง โดยมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพที่เท่าเทียมหรือดีกว่า และมีราคาที่ไม่เพิ่มต้นทุนในการผลิตให้แก่เกษตรกร กระบวนการยกเลิกสารเคมีอันตรายนี้จึงจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์และเป็นธรรม”​

22 ต.ค.เตรียมให้กำลังใจคกก.วัตถุอันตราย!

การจัดการศัตรูพืชโดยการใช้สารยังคงจำเป็นสำหรับเกษตรกร การยับยั้งภาคการผลิตและส่งออกพืชเศรษฐกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้สารดังกล่าวอาจสร้างความเสียหายโดยไม่จำเป็น เนื่องจากการใช้สารแต่ละประเภทอยู่ภายใต้การกำหนดค่ามาตรฐานจากองค์กรสากล ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันรายอื่น ๆ ที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในด้านการผลิต และการตลาดที่นำมาใช้ในการประกอบการพิจารณา”  ดร.วรณิกา กล่าวสรุป