หนุนสตาร์ตอัพสร้างแพลตฟอร์ม พัฒนาเมืองอัจฉริยะ

19 ต.ค. 2562 | 08:50 น.

สมาร์ทซิตีไทยมาไกลไม่แพ้ชาติใดในภูมิภาค ดีป้า ผุดโครง การ “อาเซียน สตาร์ทอัพ แฮก กาธอน” หนุนโซลูชันพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ด้านเทคซอร์ซเผยภาพรวมสตาร์ตอัพไทยยังแอกทีฟกว่าพันราย ชี้รัฐ - เอกชนมีส่วนสำคัญช่วยดันขยายขนาดธุรกิจ

ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตีนั้นจำเป็นต้องมีโซลูชันเพื่อตอบสนองผู้ใช้ในแต่ละเมือง ซึ่งการคัดเลือกสตาร์ตอัพจากโครงการ อาเซียน สตาร์ทอัพ แฮกกาธอน นั้นเพื่อให้โอกาสสตาร์ตอัพได้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องของสมาร์ทซิตีอย่างแท้จริง สำหรับสมาร์ทซิตีของไทยปีที่ผ่านมาเรียกว่ามาไกลมาก ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพของอาเซียนสมาร์ทซิตีที่จะจัดขึ้นในปีนี้ โดยมี 26 ประเทศเข้าร่วมงาน จะเห็นว่าการพัฒนาเมืองของไทยมีความตื่นตัวสูง ไม่แพ้ประเทศอื่นในอาเซียน สตาร์ตอัพต้องมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหาแต่บางครั้งการเข้าถึงทรัพยากรหรือข้อมูล การเข้าถึงเมืองใหญ่ๆ ก็ต้องการความเข้าใจและการลงทุน ซึ่งภาครัฐมีสมาร์ทซิตี ดาต้าแพลตฟอร์ม ข้อมูลระบบขนส่ง, CCTV เพื่อให้สตาร์ตอัพเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีภาคเอกชนเข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนด้วย

ด้านนางสาวอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด เปิดเผยว่า สิ่งที่สำคัญของวงการสตาร์ตอัพคือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ประเทศไทยมีคนเก่งและนักพัฒนาจำนวนมากแต่ยังขาดเรื่องของแพลตฟอร์มและเครือข่าย ที่ผ่านมาสตาร์ตอัพจากโครงการของดีป้า เริ่มมีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ การร่วมมือของรัฐและเอกชนเป็นส่วนช่วยให้สตาร์ตอัพเติบโตได้ สิ่งที่สำคัญนอกจากความสามารถคือ จะต้องมีพื้นที่ในการเข้าไปทดสอบการใช้งาน เน้นเชิงปฏิบัติการเพื่อทดลองใช้งานจริง การมีเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับเข้ามาจึงต้องมีภาครัฐสนับสนุน สตาร์ตอัพต้อง การผู้ที่เข้ามาใช้งาน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะทำให้สตาร์ตอัพสามารถขยายฐานลูกค้าออกไปได้

หนุนสตาร์ตอัพสร้างแพลตฟอร์ม พัฒนาเมืองอัจฉริยะ

“ปัจจุบันสตาร์ตอัพในไทยที่ยังแอกทีฟอยู่ จากฐานข้อมูลของสตาร์ตอัพที่ได้รับการระดมทุน ถ้าในเชิงของการระดมทุนทั้งหมดตั้งแต่เลเวลของนักลงทุนที่เป็น (Angel Investor) จนถึง Fund มีกว่า 100 บริษัท ซึ่งรวมๆ แล้วยังแอกทีฟอยู่เกือบ 1,000 ราย แต่รายที่เปิดเผยข้อมูลว่าได้รับการระดมทุนมีอยู่ประมาณกว่า 100 บริษัท”

 

ด้านนายชาล เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮับบา จำกัด กล่าวเพิ่ม เติมว่า สิ่งที่ต้องการคือการหาสตาร์ตอัพเข้ามาแก้ปัญหาสมาร์ทซิตีในอนาคต เพราะในอนาคตเมืองต่างๆ อาจไม่สามารถปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ โซลูชันที่ต้องมีการพัฒนา เช่น การลดการใช้พลังงาน ลดของเสีย การคมนาคมที่มีความหลากหลายมากขึ้น การเชื่อมโยงที่อยู่อาศัย สำนักงาน เข้าด้วยกันได้

ขณะที่สตาร์ตอัพต้องมีความเข้าใจเทคโนโลยี มองเห็นเทรนด์ในอนาคตจากการศึกษาเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสตาร์ตอัพจะสามารถเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้มาก ทำอย่างไรที่จะให้เมืองสามารถรองรับคนได้มากขึ้นในอีก 10- 20 ปีข้างหน้า โดยเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง สตาร์ตอัพไม่มีทางที่จะทำด้วยตัวคนเดียวได้ถึงจะมีโซลูชันแต่ยังไม่มีเงินทุนหรือสามารถที่จะไปเก็บดาต้าจากทั่วเมืองได้ จึงต้องมีการสนับสนุนจากภาครัฐเข้ามาร่วมด้วย 

หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3514 ระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2562