เคหะฯเปิดชิง4ทำเลทอง  ไม่ต้องเข้าก.ม.ร่วมทุน  

17 ต.ค. 2562 | 23:20 น.

การเคหะฯปรับแผนขับเคลื่อนโครงการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หลังพบว่าอาจไม่อยู่ในข่าย ...ร่วมทุน เพราะเป็นการนำทรัพย์สินที่ดินร่วมทุน มีแผนจะเปิดประมูล 4 ทำเลทองให้เอกชนเช่าพัฒนาโครงการได้เลย พร้อมเดินหน้าแก้ 2 ปมปัญหาใหญ่

นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนว่า การเคหะแห่งชาติกำลังทบทวนการขับเคลื่อนการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (Joint Investment-JI) และรูปแบบโครงการร่วมดำเนินกิจการระหว่างภาครัฐและเอกชน (Joint Operation-JO) หลังจากศึกษารูปแบบโครงการแล้วพบว่าอาจไม่เข้าข่าย ...ร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน .. 2562 เนื่องจากการร่วมลงทุนทั้ง 2 รูปแบบ เป็นเพียงการนำสินทรัพย์ที่ดินที่การเคหะแห่งชาติครอบครองอยู่มาร่วมลงทุน

จากการศึกษาพบว่า หากเป็นเงื่อนไขที่การเคหะแห่งชาตินำที่ดินมาร่วมลงทุน อาจจะไม่เข้าข่ายพ...ร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน .. 2562 ซึ่งหากเป็นตามที่คาดไว้ การเคหะแห่งชาติจะสามารถเปิดประมูลให้เอกชนเช่าที่ดินพัฒนาโครงการได้เองเลย

เคหะฯเปิดชิง4ทำเลทอง  ไม่ต้องเข้าก.ม.ร่วมทุน  

โครงการร่วมลงทุนรูปแบบ JI เป็นโครงการขนาดใหญ่วงเงินลงทุนสูงกว่า 5,000 ล้านบาท ขณะนี้มีอยู่ 4 โครงการที่รอการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอเข้าสู่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) ประกอบด้วย โครงการเคหะชุมชนเชียงใหม่ (หนองหอย) โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 3 และ 4 รองรับผู้อยู่อาศัยใหม่ โครงการร่มเกล้า และโครงการลำลูกกา ซึ่งการเคหะแห่งชาติมุ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะอยู่ในทำเลดี อยู่ใจกลางเมืองหรือในจุดที่กำลังพัฒนา

 

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ขอให้การเคหะแห่งชาติสรุปปัญหาเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ตนได้รายงานปัญหาเบื้องต้น 2 ประการ ประกอบด้วยประการแรก การจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่การเคหะแห่งชาติจะต้องทำในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยต่างๆ ซึ่งแม้จะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ที่ตั้งโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่ยังต้องเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อนุมัติอีกครั้ง ในขณะภาคเอกชนทำอีไอเอผ่าน คชก. แล้ว สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เลย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน หากสามารถเร่งรัดได้จะเป็นผลดีต่อการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย ตลอดจนการดำเนินงานของการเคหะแห่งชาติด้วย เคหะฯเปิดชิง4ทำเลทอง  ไม่ต้องเข้าก.ม.ร่วมทุน  

ธัชพล กาญจนกูล

 

ประการที่ 2 การขายอาคารคงเหลือโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยเฉพาะโครงการในทำเลที่ไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า ตามระเบียบต้องขายในราคาที่กำหนดตายตัว แต่ในทางปฏิบัติไม่มีทางเป็นไปไม่ได้เลย

ทั้งนี้นอกจากเป็นทรัพย์สินที่จำหน่ายไม่ออกแล้ว ยังต้องลงทุนบูรณะปรับปรุงตลอดไป เท่ากับรัฐไม่ได้อะไรแล้ว ยังเป็นภาระต้องควักกระเป๋าต่อไป ตรงกันข้ามหากปรับลดราคาลงมาได้ ทรัพย์สินนี้จะทำรายได้ให้การเคหะฯ และเกิดประโยชน์ต่อรัฐ

หน้า 25-26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,514 วันที่ 17-19 ตุลาคม 2562

                      เคหะฯเปิดชิง4ทำเลทอง  ไม่ต้องเข้าก.ม.ร่วมทุน