เผย 10 ปีข้างหน้าดาต้าแพลทฟอร์มสร้างมูลค่าศ.ก.70%

10 ต.ค. 2562 | 05:13 น.

   นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยในงานสัมมนาแนะนำกฎหมายและสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “PDPA –Privacy for All” ภายใต้แนวคิด “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดูแลทุกภาคส่วน ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง ทันสมัย ทั่วถึงและเท่าทัน” ว่าแม้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 แต่ต้องรอกฏหมายลูกถึงจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นเมื่อกฏหมายมีผลบังคับใช้แล้วธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในโลก คือ ธุรกิจข้อมูลจากดาต้าแพลทฟอร์ม สร้างมีมูลค่าทางเศรษฐกิจใน 10 ปีข้างหน้าถึง 70% และในปี 2020 มูลค่า GDP (Gross Domestic Product) หรือ ผลิตภัณฑ์รวมของโลก 60% มาจากธุรกิจดิจิทัล 

เผย 10 ปีข้างหน้าดาต้าแพลทฟอร์มสร้างมูลค่าศ.ก.70%

 

 

    “เราพูดถึงดิสรัปมาหลายปีมากบริษัทไหน รัฐบาลไหนไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ยาก ขณะที่ธุรกิจ SME มีข้อมูลว่า 96% จากผู้ประกอบการอาเซียนปรับตัวได้เร็วกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ดังนั้นบริษัทฯขนาดใหญ่ไม่ปรับตัว “ล้ม”ได้ เช่นเดียวกับบริษัทมือถือหลายแบรนด์ที่เคยเป็นรู้ตักก็ยังอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน”

    นายพุทธิพงษ์ฯ กล่าวถึง ปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว สามารถกระทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว รวมทั้งก่อให้เกิด ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม ตัวอย่าง การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยที่เกิดขึ้นบ่อย และพึงระวังไว้ จะเป็นเรื่องการขาย โอนข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่เจ้าของข้อมูลเองไม่ได้ให้ความยินยอม และเรื่องข้อมูลรั่วจากบริษัทป้องกันที่ไม่ดีพอ เช่น ไฟล์บัตรประชาชน ใบขับขี่ ถูกแฮ็ก หรือถูกเรียกค่าไถ่ ตลอดจนข้อมูลรั่วจากการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเดินทางลงบนสื่อโซเชียล เป็นต้น

เผย 10 ปีข้างหน้าดาต้าแพลทฟอร์มสร้างมูลค่าศ.ก.70%

 

   นายพุทธิพงษ์ ย้ำด้วยว่า สิ่งที่คนไทยจะได้รับจากกฎหมายฉบับนี้ก็จะตอบโจทย์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขณะเดียวกันก็ช่วยปลดล็อกให้ธุรกิจและหน่วยงานรัฐสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ภายใต้มาตรฐานสากล คือ 1. ป้องกันการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลอันจะเกิดจากการล่วงละเมิด สร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายใดๆ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกระทำได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็วในการก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวบุคคล ตลอดจนต่อเศรษฐกิจโดยรวม และ 2.ช่วยแก้ปัญหาการไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าที่ควรเพราะติดกับข้อติดขัดที่ไม่มีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ที่ผ่านมามีอุปสรรคอย่างมากในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นการสร้างกลไกและมาตรฐานการกำกับดูแลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เผย 10 ปีข้างหน้าดาต้าแพลทฟอร์มสร้างมูลค่าศ.ก.70%

เผย 10 ปีข้างหน้าดาต้าแพลทฟอร์มสร้างมูลค่าศ.ก.70%