“ดุสิต”จัดพอร์ตลดเสี่ยง  รุกธุรกิจอาหาร-อสังหา

09 ต.ค. 2562 | 11:40 น.

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมา ตัวเองได้เข้ามายกเครื่องปรับกลยุทธ์และโครงสร้างรายได้ของดุสิตธานีขนานใหญ่ผ่าน 3 เป้าหมายหลัก 

1. การสร้างสมดุล ทั้งเรื่องรายได้ระหว่างในและต่างประเทศ กับรายได้ที่เกิดจากการลงทุนและรับบริหารโรงแรม เพราะเดิมกลุ่มดุสิตธานีไม่ค่อยได้ลงทุนมากนัก เน้นรายได้รับบริหารโรงแรมมากเกินไป จึงต้องลงทุนเพื่อสร้างการเติบโต

“ดุสิต”จัดพอร์ตลดเสี่ยง  รุกธุรกิจอาหาร-อสังหา

จึงเป็นที่มาของโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” มูลค่ารวม 3.67 หมื่นล้านบาทภายใต้ความร่วมมือกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ปัจจุบันปัจจุบันผ่าน EIA แล้ว  อาคารแรกคือโรงแรมดุสิตธานี  โฉมใหม่ กำหนดเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 27 กุมภาพันธ์  2566 เหตุผลคือตรงกับฤกษ์เปิดประตูต้อนรับลูกค้าเป็นวันแรกเมื่อปี 2513 หรือ 50 ปีมาแล้ว

“ดุสิต”จัดพอร์ตลดเสี่ยง  รุกธุรกิจอาหาร-อสังหา

อย่างไรก็ตามในระหว่างที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ โฉมใหม่ได้ตั้งธุรกิจเพิ่ม 5 โครงการ เพื่อกระจายให้พนักงานทำงานตามความสมัครใจได้แก่  1.บ้านดุสิต ธานี ในซอยศาลาแดง ที่สามารถเก็บพนักงานได้เกือบ100คน  2.เข้าซื้อโรงแรม ดุสิต สวีท โฮลเทล 3. ดุสิตออนดีมานด์  4.ทีมอีเว้นท์ 5. Pre-Opening  ดุสิต เซ็นทรัล เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปพร้อมเก็บพนักงานและรักษาแบรนด์กับเอกลักษณ์ของโรงแรมนี้เอาไว้จนกว่าจะถึงวันเปิดเผยโฉมใหม่ 

สำหรับโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ในส่วนของอาคารที่พักอาศัยจะแบ่งเป็น 2 แบรนด์ รวมกว่า 300 ยูนิต มี “ดุสิต เรสซิเดนเซส” เน้นตลาดลักชัวรี เริ่มต้นที่ 120 ตารางเมตรและ “ดุสิต พาร์คไซด์” เน้นตลาดไลฟ์สไตล์ เริ่มต้นที่ 60 ตารางเมตร จะเป็นการเช่าสิทธิ์ระยะยาว (ลีสโฮลด์) สูงสุด 60 ปี ปัจจุบันผลตอบรับดีมากมีลูกค้าคนไทย สนใจซื้อแล้วกว่า 62 ราย พร้อมวางเงินจองบางส่วนไว้แล้ว

“ดุสิต”จัดพอร์ตลดเสี่ยง  รุกธุรกิจอาหาร-อสังหา

“ยอมรับว่ากังวลเล็กน้อยเรื่องภาพรวมซัพพลายคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯปัจจุบันที่กำลังล้นตลาด แต่มั่นใจว่าเรสซิเดนส์ทั้ง 2 แบรนด์จะมีผลตอบรับดี เพราะโซนถนนพระราม 4 ยังมีซัพพลายไม่มากเมื่อเทียบกับถนนสุขุมวิท และคาดว่ากิจกรรมทางธุรกิจจะเคลื่อนมาที่ถนนพระราม 4 มากขึ้น และคาดว่าจะเปิดขายเป็นทางการไตรมาส 1-2 ปี 2563 ส่วนราคาขายอาจเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ตลาด จากเคยประเมินไว้เมื่อ 2 ปีก่อนที่ 2.8 แสนบาทต่อตารางเมตร”

2. เป้าหมายในการขยายธุรกิจ เตรียมเปิดโรงแรมใหม่ทั้งลงทุนเองและรับบริหารอีก 60 แห่งในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ ทำให้ในปี 2566 กลุ่มดุสิตธานีจะมีโรงแรมรวม 94 แห่ง คิดเป็นจำนวนกว่า 2 หมื่นห้องพัก กระจายใน 25 ประเทศ เพิ่มจากปัจจุบันที่มี 34 แห่ง คิดเป็น 8.5 พันห้องพัก ใน 13 ประเทศ เฉลี่ยเปิดโรงแรมใหม่ปีละ 10-12 แห่ง

“ดุสิต”จัดพอร์ตลดเสี่ยง  รุกธุรกิจอาหาร-อสังหา

โดยหนึ่งในแบรนด์ที่กำลังผลักดันคือ “อาศัย” (ASAI) เป็นโรงแรมแนวไลฟ์สไตล์ เตรียมเปิดให้บริการ 5 แห่ง แบ่งเป็น 2 แห่งแรกในประเทศที่ลงทุนเอง คือที่เยาวราชและสาทรในปี 2563 ส่วนอีก 3 แห่งในต่างประเทศจะเปิดในปี 2564 ได้แก่ ฟิลิปปินส์และเมียนมาที่รับบริหาร ขณะที่อีกแห่งจะลงทุนเอง 100% คือที่ย่านอากิฮาบาระ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการซื้อกิจการโรงแรมในอังกฤษและจุดหมายอื่นๆ ของยุโรป

“ดุสิต”จัดพอร์ตลดเสี่ยง  รุกธุรกิจอาหาร-อสังหา

ส่วนเป้าหมายที่ 3. กลยุทธ การกระจายความเสี่ยง  ไปยังธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจอาหารที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วควบคู่กับธุรกิจการศึกษา ไปจนถึงความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจอสังหาฯ เช่น “ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้” ที่ได้ร่วมทุนเปิดตัว เดอะ แฮมป์ตัน ศรีราชา บาย ออริจิ้น แอนด์ ดุสิต คอนโดฯระดับไฮเอนด์ มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท ในพื้นที่ EEC และน่าจะมีโครงการในอนาคตร่วมกับค “อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์” ซึ่งถือหุ้นดุสิตฯอยู่ 5%

“จากดังกล่าว คาดว่าสิ้นปีนี้ รายได้ของกลุ่มดุสิตธานีจะยังเติบโต 10-15% เป็นไปตามเป้าหมาย แม้ว่าสถานการณ์ธุรกิจโรงแรมและฮอสพิทาลิตี้จะเจอแรงกดดันจากหลายปัจจัยทั่วโลกต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563” นางศุภจี กล่าว