กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

04 ต.ค. 2562 | 14:20 น.

จุรินทร์’ ใจปล้ำเปิดรับเกษตรกรชาวสวนใหม่ให้เข้าร่วมโครงการควบเคาะจ่ายเร็วขึ้น โดยเฉลี่ย 6 เดือนตั้งราคากลางชดเชยจ่ายงวดแรกในวันที่ 1-15 พ.ย.นี้ ด้านผู้แทนเครือข่ายอีสาน-เหนือเซ็งขออัพราคาเพิ่มน้ำยางก้อนถ้วย 25 บาท/กก. โวย กยท.อ้างสารพัดยืนพื้นไม่ยอมถอย เดือดบุกกรุงจี้คาใจจุดยืนรักษาการผู้ว่าฯจริงใจกับชาวสวนหรือไม่

 

“ยางพารา” เป็นสินค้าเกษตรชนิดที่ 3 รัฐบาลภายใต้การบริหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 2 ยังคงเดินหน้าทำตามสัญญาโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางมีมติคืออนุมัติการประกันรายได้ยางพาราในยาง 3 ชนิด คือ ยางแผ่นดิบราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางสด 57 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วย 23 บาทต่อกิโลกรัม ของสวนยางที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 25 ไร่

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

 วันที่ 4 ต.ค.62  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2562 ที่ประชุมเห็นชอบตามการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)เสนอชดเชยประกันตามที่เสนอ 3 ชนิด กรอบวงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

“เกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนยังสามารถขึ้นทะเบียนได้ เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว และคณะกรรมการระดับตำบลและการยางแห่งประเทศไทยจะต้องตรวจสอบว่าปลูกจริงหรือไม่ ยางชนิดไหน รัฐบาลใช้งบประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท จากนี้ก็จะนำมตินี้เสนอ ครม.เห็นชอบต่อไป

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงาน สามฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ตัวแทนเกษตรกร เพื่อหาแนวทางการสร้างสวนยางที่ยั่งยืน ควบคู่เร่งรัดการส่งออกยางที่จีน และอินเดีย รวมทั้งมอบให้การยางแห่งประเทศไทยนำยางไปขายด้วย โดยสามารถร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ได้การจ่ายเงินงวดแรกให้เร็วกว่าเดิมจากที่กำหนดไว้วันที่ 15 ธ.ค.2562 ร่นมาเป็นระหว่างวันที่ 1-15 พ.ย.นี้ เนื่องจากโครงการประกันรายได้ยางพารายังต้องมีคณะกรรมการระดับตำบลเป็นผู้ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง จะได้สามารถเทียบเคียงกับสินค้าเกษตรอื่นๆที่รัฐบาลประกันรายได้ และต้องปรับราคาอ้างอิงเป็นราคาก่อนหน้านี้

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

คือ ราคาระหว่างเดือนเมษายน 62 - กันยายน 2562 จากนั้นจ่ายงวดสอง 1-15 มกราคม 2563 งวดสาม 1-15 มีนาคม 2563โดยมีกระบวนการคือ กยท (การยางแห่งประเทศไทย)ต้องตรวจสอบความถูกต้อง เสร็จแล้วส่งผลให้ ธกส ซึ่งจะใช้เวลา 3 วันจะโอนเงินทันที ดังนั้น กยท ต้องตรวจสอบเสร็จภายในวันที่ 12 โดยในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหามาตรการนี้ต้องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ก่อนนำเสนอบอร์ด ธกส เพื่อเห็นชอบก่อนภายใน 24-25 ตค.นี้

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

อย่างไรก็ดีในที่ประชุมยังมีการอัดสินเชื่อผู้ประกอบการยาง/สถาบันเกษตรกร อาทิ 1.การอนุมัติขยายวงเงินสินเชื่อและปรับปรุงวิธีการดำเนินงานโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

2.การอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการ (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท การอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการ3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท การอนุมัติขยายระยะเวลาและปรับปรุงวิธีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

ขณะที่นายสวัสดิ์ ลาดปาละ รองประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ระดับประเทศและประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดลำปาง กล่าวว่า ในที่ประชุมทางเครือข่ายฯ พยายามต่อรองโดยเฉพาะผู้ผลิตยางทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือขอต่อรองราคาใหม่ที่ 25 บาท/กก.

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

ทาง กยท.อ้างต้นทุน สูตรคำนวณต่างๆ แล้ว เป็นไปตามธงที่ กยท.กำหนด ในเร็วๆนี้ ทางเครือข่ายจะมีการรวมตัวกันบุกกรุงเพื่อถามความจริงใจของผู้ว่าการ กยท.ถึงความจริงใจที่จะช่วยชาวสวนยางจริงหรือไม่ ทำไมราคาให้ถึงห่างกันเกินไป

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับปริมาณการผลิตยางพาราของไทยตั้งแต่ปี 2557 - 2562 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 4.345 ล้านตันในปี 2557 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2561 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.944 ล้านตัน ในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.73 ต่อปี มีเนื้อที่กรีดยางเพิ่มขึ้นเป็น 20.46 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 245 กก./ไร่/ปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 ต่อปี

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

นอกจากนี้ ปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศระหว่างปี 2557 - 2562 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าในปี 2562 จะเพิ่มเป็น 0.80 ล้านตัน เนื่องจากมีการขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมยางล้อและอุตสาหกรรมถุงมือยาง อีกทั้งภาครัฐยังส่งเสริม/สนับสนุนให้นำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในประเทศ และผลจากโครงการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ เช่น โครงการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร เป็นต้น

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยในปี 2562 นี้ (มกราคม - กรกฎาคม) เมื่อเทียบกับปี 2561 ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า มีการส่งออกลดลง 505,099 ตัน หรือร้อยละ 19.92 เนื่องจากในปี 2562 มีปริมาณผลผลิตลดลง จากปรากฏการเอลนิลโญและผลกระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อีกทั้งการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางหลัก ได้แก่ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนต่อการส่งออกทั้งหมด ร้อยละ 39.22 ร้อยละ 13.36 ร้อยละ 8.34 และร้อยละ 7.80 ตามลำดับ

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

 อนึ่ง กยท.รายงานข้อมูลผู้ที่ขึ้นทะเบียน และแจ้งข้อมูลพื้นที่ ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562 ซึ่งในเบื้องต้นมีเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 1,711,252 ราย (เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ 1,412,017 ราย และคนกรีดยาง 299,235 ราย) คิดเป็นพื้นที่ 17,201,391 ไร่ โดยเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ที่ปริมาณผลผลิตยาง (ยางแห้ง) 240 กก./ไร่/ปี หรือ 20 กก./ไร่/เดือน

กนย.เคาะประกันราคายางแผ่นสูงสุด 60 บาท/กก.

กำหนดระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน (ตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563) ซึ่งเงินประกันรายได้ในแต่ละเดือน จะถูกแบ่งระหว่างเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยางในสัดส่วน 60 : 40  ราคายางที่ใช้ประกันรายได้ กำหนดจากราคาต้นทุนการผลิตยางแต่ละชนิด โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2561 และเพิ่มรายได้เป็นค่าครองชีพอีก ร้อยละ 7.39