SME ในยุค 5G ที่มี IoT และ AI ฝังอยู่ทุกแห่งหน

29 ก.ย. 2562 | 10:30 น.

บทความพิเศษ

SME ในยุค 5G ที่มี IoT และ AI ฝังอยู่ทุกแห่งหน

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย

ทิศทางของธุรกิจขนาดย่อม (SME) ในอนาคตอันใกล้นี้ Health Tech จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพที่มีมูลค่าสูงมาก เพราะด้วยเทคโนโลยี IoT การตรวจสอบสุขภาพ เช่น การเต้นของหัวใจ สภาวะเลือด ความดัน ของเราในแต่ละวันจะทำได้ง่ายมากขึ้นและมีแนวโน้มด้านราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในรูปแบบของบริษัทเล็กๆ แต่ชาญฉลาด ดังนั้น SME รุ่นเก่าจะต้องปรับเปลี่ยนเนื่องจากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไป IoT คือ sensor กล้องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่อยู่รอบตัวเราและเป็นอุปกรณ์สื่อสารเล็กๆ และจะมีจำนวนมหาศาลรอบตัวเรา อย่างเช่น Smart watch หรือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้  อุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ก็จะนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้งาน ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ เช่น ใช้ Application ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถเชื่อมโยงกับคนออกกำลังกายหรือคนไข้ได้โดยตรง  ก็ถือว่าเป็นธุรกิจขนาดย่อม (SME) รูปแบบใหม่ในอนาคต

SME ในยุค 5G ที่มี IoT และ AI ฝังอยู่ทุกแห่งหน

นอกจากนี้ การบริการทางด้านกีฬาและการออกกำลังกาย  ก็จะสามารถเกิดรูปแบบการบริการใหม่ๆขึ้นได้ เพราะสามารถรู้ข้อมูลสุขภาพ  การเต้นของหัวใจ ของเราที่ดีขึ้นจากการออกกำลังกาย แนะนำเราด้านสุขภาพได้แบบ real time ก็เป็นธุรกิจใหม่มากมาย ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน โดยไม่ต้องลงทุนมหาศาล เป็น Application ลงทุนต่ำ และมีความชาญฉลาด และใช้อุปกรณ์ซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องลงทุนให้ เพราะว่าอุปกรณ์หลากหลายในอนาคตอันใกล้ในยุค 5G จะเชื่อมโยงกับระบบโทรศัพท์มือถือ และจะสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่มากมาย
 
*ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค 5G

มีความหวาดระแวงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ถึงการโจมตีผ่านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น โดรน เหมือนอย่างภาพยนต์เรื่อง Angle Has Fallen หรือการโจมตีบ่อน้ำมันที่ซาอุ ที่มีการโจมตีเป้าหมาย บุคคล สถานที่ ที่กำหนดไว้ ซึ่งเกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบัน

หน่วยงานของรัฐจะต้องมีกระบวนการมาตรฐานในเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์  เพราะว่าระบบเหล่านี้สามารถโดนแฮ็คได้ มีการยึดระบบขององค์กร ระบบไฟฟ้า ระบบการท่าอากาศยาน ระบบคมนาคมหรือระบบโทรคมนาคมต่างๆ ได้
 
*ความแตกต่างในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G เมื่อเปรียบเทียบกับยุคที่ผ่านมา

ระบบที่เรารู้จักตั้งแต่ยุค 1G จนถึงยุค 4G ได้มีการพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลที่เร็วขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคปัจจุบัน เราจะเห็นว่าทุกวันนี้โทรทัศน์อยู่บนฝ่ามือของเรา เราจะสามารถ Live โดยไม่จำเป็นต้องมีสถานีโทรทัศน์ Broadcast จากที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะการส่งข้อมูลต่อจากนี้จะมีความ real time มากขึ้นเรื่อยๆ

SME ในยุค 5G ที่มี IoT และ AI ฝังอยู่ทุกแห่งหน

ในยุคของ 5G จะเป็นอะไรยิ่งกว่าที่ผ่านมา ด้วยการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าในยุค 4G ถึง 10 เท่า และภายใน 5 ปี จะเร็วกว่าถึง 100 เท่า จะมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆในระบบ 5G, AI และ IoT จนทำให้เกิดความทรงพลังมากขึ้น สามารถมองเห็นอะไรได้มากขึ้น การมอนิเตอร์ด้านสุภาพที่ดีขึ้น การควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม มีการผลิตสินค้าแบบอัตโนมัติ ระบบเศรษฐกิจจะเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบภายในเวลา 5-10 ปีข้างหน้า

รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนไป ในยุค 5G ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ทำงานหรือเข้างานแบบตอกบัตรอีกต่อไป เราสามารถทำงานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ องค์กรต่างๆ ต้องปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ ผู้บริหารยุคเก่าต้องปรับตัว การทำงานที่ workforce จะต้องอิสระด้วยรูปแบบการทำงานแบบเคลื่อนที่ (Mobility) โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เพราะสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ไม่ต้องมางานเช้ากลับเย็นแต่เพียงอย่างเดียว หรือไม่ต้องมาสถานที่ทำงานแต่ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ในบางตำแหน่งการทำงานที่บ้านอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า และจะเกิดตำแหน่งงานในลักษณะนี้อีกมากมาย ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้านี้
 
*Quantum ComputerQuantum Computer คือ ระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคตที่ใช้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ซึ่งจะประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็น 100 เท่าหรือมากกว่า และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ เราสามารถเปรียบเทียบ ยุค Quantum Computer ที่เราอาจคาดไม่ถึง กับ ยุคที่เรามี 3G ครั้งแรกของโลกในปี 2000 เราทุกคนต่างเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมในยุคนั้น และเวลานั้นหากมีใครพูดถึงการมีโทรทัศน์อยู่ในมือเราในยุค 4G หรือรถยนต์จะสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองในยุค 5G ดูจะเป็นเรื่องโกหกและเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นความจริงเพราะโลกในอนาคตในหลายสิบปีข้างหน้า รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนไปมาก เพราะความสามารถในการคำนวณจะก้าวหน้าเป็นล้านเท่าตัว
  SME ในยุค 5G ที่มี IoT และ AI ฝังอยู่ทุกแห่งหน

 

*BIG DATA ต่อธุรกิจในปัจจุบัน

พฤติกรรมของเราในชีวิตประจำวันของแต่ละวัน ได้ถูกเก็บข้อมูลและประมวลผลโดย AI ผ่านโทรศัพท์มือถือที่เราพกพาติดตัว โดยจะเรียนรู้พฤติกรรมการเดินทาง สถานที่ทำงาน ที่พัก Lifestyle ต่างๆ จนเมื่อหลายปีผ่านไป ด้วยข้อมูลที่มีอยู่มากมายเหล่านี้ จะเกิดการทำงานของ Big Data ที่ทำงานร่วมกับ AI จนวิเคราะห์ได้ว่า เราคือใครเราเป็นคนอย่างไร และในอนาคตการค้าขายการเชื่อมต่อ E-commerce ก็จะมีประสิทธิภาพ จนรู้ว่าเราต้องการอะไร การทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคารก็จะเปลี่ยนไป เพราะธนาคารไม่รู้จักตัวตนของเรา แต่โซเชียลมีเดียรู้จักเรามากกว่าธนาคาร ก็อาจทำให้ธนาคารถูกโซเชียลมีเดีย หรือ แพลตฟอร์มใหม่ๆ ดึงลูกค้าไป ซึ่งก็จะเปลี่ยนไปโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย

ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่มีการใช้ Big Data เรียนรู้พฤติกรรม Lifestyle ต่างๆ ของผู้บริโภค จะรู้จักผู้บริโภคมากกว่าบริษัท Marketing ใดๆในโลก เมื่อเป็นแบบนี้ธุรกิจเดิมๆ ก็จะค่อยๆจางหายไป และธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ชาญฉลาดก็จะเข้ามา ดังนั้น SME ที่ไม่มีการพัฒนาก็จะหายไปหมด

ทุกวันนี้เราส่งข้อมูลในชีวิตประจำวันทุกวัน  โดยที่เราไม่รู้ตัวว่าที่เราส่งข้อมูลนั้นทำให้เราเปิดเผยตัวตนของเราไปหมดแล้ว  และในทุกวันก็จะมีข้อมูลเหล่านี้จำนวนมหาศาล จนมนุษยชาติเกาะอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และ social platform ต่างๆ จนเป็นที่ชัดเจนว่าการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตคือ  การใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ (Data analytic) ซึ่งข้อมูลจะกลายเป็นทองคำ ใครมีข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลได้เร็ว รู้จักเป้าหมาย กลุ่มลูกค้า รู้ความต้องการ รู้ถึงการทำธุรกรรมทางการเงินแบบ Real time ก็จะเป็นผู้ชนะ
SME ในยุค 5G ที่มี IoT และ AI ฝังอยู่ทุกแห่งหน  

*แผนการจัดสรรคลื่น 5G ของประเทศไทย

การจัดสรรคลื่น 5G ตามแผนของสำนักงาน กสทช. จะเกิดขึ้นในปี 2020 แต่การจัดสรรคลื่นไม่ได้จัดสรรเพียงครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นเรียบร้อย เนื่องจากผู้ให้บริการ 1 รายที่จะให้บริการ 5G ได้นั้น ต้องถือครองคลื่นถึง 100MHz ซึ่งต้องมีการลงทุนมหาศาล แต่ด้วยราคาในการจัดสรร ณ ปัจจุบันนั้นมีราคาสูง ทำให้เกิดอุปสรรคในการจัดสรรคลื่น โดยจะเห็นว่าในต่างประเทศรูปแบบวิธีการจัดสรรคลื่นได้เปลี่ยนไป เราก็ต้องเลือกวิธีการจัดสรรให้เหมาะสมกับประเทศองเรา เพื่อที่จะมีบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทัดเทียมกับอารยประเทศ มิเช่นนั้นเศรษฐกิจของเรา ก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกได้ เพราะฉะนั้นในวันนี้ต้องยอมรับความจริง ว่าการประมูลคลื่นความถี่ และการออกใบอนุญาต จะต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ซึ่งในฐานะฝ่ายนิติบัญญติ ในสภาก็ต้องนำเสนอเรื่องนี้ และเปิดให้ กสทช. นำเสนอวิธีการที่เหมาะสม ต่อสถานการณ์ที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในขณะที่เรายังไม่ได้เปลี่ยน

*ข้อแนะนำจาก ดร. มาร์ช
 
“การปรับตัวของเราคือการหาความรู้ใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์
อย่ากลัวการ Disruption เพราะสิ่งนี้จะทำให้ชีวิตดีขึ้น การเรียนการศึกษา การสาธารณสุขจะดีขึ้น เนื่องจากราคาที่ถูกลง และทำให้เราช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ต่างจากสมัยก่อน วันนี้เทคโนโลยีถึงตัวเราหมดแล้ว การเปิดใจกว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง รับฟังความคิดเห็น ศึกษาตลอดเวลา จะทำให้เราอยู่บนโลกนี้ อย่างมีความสุข”