คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

27 ก.ย. 2562 | 11:52 น.

คลังเปิดตัวดิจิทัลแพลตฟอร์มขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ชมชน นำร่องจัดทำระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

               นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานในสังกัด โดยนำดิจิทัลแพลตฟอร์ม วางโครงสร้างระบบงานผ่านบล็อก รองรับภารกิจของหน่วยงานในสังกัดทั้ง 9 หน่วยงานคือ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ กรมบัญชีกลาง  กรมศุลกากร  กรมสรรพสามิต  กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานบริการหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคากรุงไทย ภายใต้งาน MOF Digital Platform is Now : กระทรวงการคลังนำดิจิทัลสร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชน

คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

นายอุตตมกล่าวว่า กระทรวงการคลัง มีภารกิจหลักในการบริหารงบประมาณแผ่นดิน บริหารทรัพย์สิน และการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ โดยให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ ตรวจสอบธุรกรรมข้อมูลของประเทศและยกระดับประสิทธิภาพโครงสร้างระบบงานของหน่วยงานในสังกัด จึงผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะบล็อกเชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับจัดเก็บและตรวจสอบธุรกรรมข้อมูลที่สามารถตอบโจทย์เรื่องความรวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งกระทรวงการคลังจะเป็นกระทรวงแรกของประเทศในการนำบล็อกเชนมาใช้ในหน่วยงานต่างๆของกระทรวง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและผู้มาติดต่อขอใช้บริการต่างๆ   

 

       ระยะแรกประกอบด้วย 8 โครงการคือ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Government Procurement : e-GP) โดยบล็อกเชนของ e-GP จะรวบรวมข้อมูลประวัติของผู้ประกอบการนิติบุคคล รวมถึงระบบ Rating ของผู้ประกอบการตามผลงานในการทำงานกับภาครัฐ สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการลดระยะเวลา และภาระของผู้ประกอบการในการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการและการยื่นเสนอราคา โดยปี 2562  ภาครัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างกว่า 3.6 ล้านโครงการ วงเงินรวม 1.4 ล้านล้านบาท ลดภาระให้ผู้ประกอบการกว่า 270,000 ราย ซึ่งช่วยผลักดันการใช้งบประมาณในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่รากหญ้าให้เร็วที่สุด  

คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

               การคืนภาษีของนักท่องเที่ยว (VAT Refunds for Tourists) โดยเชื่อมโยงระบบบล็อกเชน  โมบายแอพพลิเคชั่น  ระบบยืนยันตัวตนของนักท่องเที่ยว  รวมถึง  e-Tax Invoice ของร้านค้าเพื่อใช้ในระบบภาษี มาเชื่อมต่อกับกระบวนการต่างๆ ในประเทศ และระบบ Payment and Settlement ต่างประเทศ เช่น AliPay WeChat Visa และ Master เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ที่รับภาษีคืนได้ภายใน 3 วันทำการ จากปกติใช้เวลา 34 วันทำการ ไม่ต้องถือเงินสดกลับประเทศ ได้รับอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าตลาด ไม่ต้องเข้าคิวสำแดงสินค้าที่กรมศุลกากรที่มีมากกว่า 7 แสนคนต่อปี  และไม่ต้องเข้าคิวขอคืนภาษีที่มีมากกว่า 2 ล้านคนต่อปี และยังลดการใช้กระดาษได้สูงสุด 10 ล้านใบต่อปี

คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

               การออมผ่านพันธบัตรรัฐบาล ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Scripless Bond) จะช่วยให้การออกพันธบัตรรัฐบาล การจำหน่าย รวมถึงการรับฝากทรัพย์สิน โดยระบบสามารถออกพันธบัตรหน่วยย่อยที่ 1 บาทต่อ1 พันธบัตร ทำให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถเข้าถึงการออมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง ตรวจสอบได้ ด้วยระบบจองก่อนได้ก่อน (First Come First Serve) ในการจัดจำหน่าย ระบบจะเชื่อมต่อกับตลาดหลักและตลาดรอง รวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถขยายไปยังระบบการค้าระหว่างเขตชายแดน ( Cross Border  Trading ) และในอนาคตสามารถขยายไปสู่นวัตกรรมอื่นๆต่อไป

       การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร ระบบบล็อกเชนจะช่วย Centralize  and Digitize  เอกสารทุกประเภทที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การสั่งสินค้า การผลิต การนำเข้า การส่งออก จนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้รับ โดยใช้ Digital  Document ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงเอกสารได้ตามสิทธิ เป็น One Single Document โดยช่วยให้กระทรวงการคลังสามารถประมาณรายได้การจัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง ความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ 

คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

               โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Welfare) เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล เรื่อง Identity จากทุกภาคส่วน มาเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทะเบียนผู้รับสวัสดิการ และใช้คุณสมบัตรของบล็อกเชนในการอัพเดทและแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์  เพื่อป้องกันการใช้สวัสดิการในทางที่ผิดและลดทุจริตจากผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ (Healthcare) ระบบบล็อกเชนเข้ามาช่วยเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุข และโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนและใช้สิทธิตามกรอบที่ได้

คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ

               การจัดทำราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้การเก็บภาษีจากการซื้อขายและถือครองที่ดินได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถขยายขอบเขตไปถึงการจัดทำโฉนดที่ดินอิเล็กทรอนิกส์ จะส่งผลให้การประเมินราคา และกระบวนการเก็บภาษีที่ดิน มีความโปร่งใส และถูกต้อง  และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น

คลังนำร่องระบบบล็อกเชน 8 โครงการ