บ่วงกรรมคดีฟอกเงิน 25พ.ย.ชี้ชะตา‘โอ๊ค’

28 ก.ย. 2562 | 03:00 น.

 

หลังจากที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดสืบพยานคู่ความจบไปแล้ว เมื่อวันที่ 24-26 กันยายน และกำหนดอ่านคำพิพากษาล่วงหน้าเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ในคดีฟอกเงินแบงก์กรุงไทยที่ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงินธนาคารกรุงไทย กรณีรับโอนเงินเป็นเช็คจำนวน 10 ล้านบาทเข้าบัญชี ซึ่งมีการกล่าวหาว่า เงินจำนวนดังกล่าวได้มาจากการทุจริตปล่อยกู้สินเชื่อระหว่างธนาคารกรุงไทย กับเอกชนกลุ่มกฤษดามหานคร

รายการNEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.30-11.50 . ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 ช่วงลึก แต่ไม่ลับโดย บากบั่น บุญเลิศ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 ดำเนินรายการโดย นายบากบั่น บุญเลิศ และ วิลาสินี แวน ฮาเรน พาย้อนกลับไปพบกับเส้นทางการฟอกเงินในคดีนี้จนนำมาสู่บ่วงรัดคอนายพานทองแท้ ทายาทตระกูลชินวัตรในวันนี้

 

บ่วงกรรมคดีฟอกเงิน  25พ.ย.ชี้ชะตา‘โอ๊ค’

 

คดีนี้ นายพานทองแท้ ถูกพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องว่า เข้าไปมีความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน .. 2542 มาตรา 5, 9, และ 60 และพ...ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฉบับที่ 5 .. 2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และมาตรา 91

ในรายการ นายบากบั่น ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเล่นแร่แปรธาตุกับเงินกู้ของธนาคารกรุงไทยว่า เริ่มจากธนาคารกรุงไทย ปล่อยกู้ให้กับบริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด 500 ล้านบาท และให้กับบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยีอินดัสเทรียล พาร์คฯ จำนวน 9,900 ล้านบาท เพื่อนำไปรีไฟแนนซ์จากธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ รวมทั้งหมดจำนวน 10,400 ล้านบาท พบว่า มีการนำไปรีไฟแนนซ์ จำนวน 4,445 ล้านบาท และนำไปเพิ่มทุนกฤษดา มหานครอีกจำนวน 1,185 ล้านบาท

อีกก้อนจำนวน 2,540 ล้านบาทนั้น ผู้บริหารกฤษดา มหานครได้โอนให้กับคนใกล้ชิด บริษัทในเครือ และเครือข่ายกลุ่มการเมือง ซึ่งเรื่องนี้ศาลฎีกานักการเมืองมีคำพิพากษากลุ่มผู้บริหารธนาคารของรัฐสั่งจำคุก ฐานละ เว้นปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ซึ่งเกี่ยวพันกับนายพานทองแท้ ที่ตกเป็นจำเลย โดยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2546 นายธีรโชติ พรมคุณ พนักงานกฤษดามหานคร ซื้อแคช เชียร์เช็ค ธนาคารกรุงไทย จำนวน 26 ล้านบาท หักจากบัญชีนายวิชัย กฤษดาธานนท์ ผู้บริหารกฤษดามหานคร โดยสั่งจ่ายบัญชี นายพานทองแท้ ชินวัตร ธนาคารกรุงเทพ ในวันเดียวกันนั้นได้ยกเลิกรายการ

 

บ่วงกรรมคดีฟอกเงิน  25พ.ย.ชี้ชะตา‘โอ๊ค’

 

ต่อมาพบว่า นายรัชฎา กฤษดาธานนท์ บุตรชายนายวิชัย ได้นำเงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยไปซื้อหุ้นของบริษัท ท่าอากาศยานไทยฯ หรือ (ทอท.) จำนวน 4.2 แสนหุ้น และนำมาเสนอขายแก่พนักงานของบริษัท ฮาวคัมฯ และบริษัท มาสเตอร์โฟนฯ ของนายพานทองแท้

ในวันที่ 31 ธันวาคม 2546 นายธีรโชติ ได้ซื้อแคชเชียร์เช็ค 26 ล้านบาท สั่งจ่ายบริษัทหลักทรัพย์ธนชาตฯเพื่อซื้อหุ้น .การช่างในชื่อบัญชี นางเกศินี จิปิภพ ซึ่งเป็นมารดาของนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จากนั้นนางเกศินี สั่งจ่ายเช็ค จำนวน 1.8 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน ของนายพานทองแท้

วันที่ 17 พฤษภาคม 2547 นายรัชฎา กฤษดาธานนท์ สั่งจ่ายเช็คธนาคาร 10 ล้านบาทเข้าบัญชีนายพานทองแท้ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางพลัด ซึ่งต่อมานายพานทองแท้ ได้ชี้แจงเป็นหนังสือว่า เงินดังกล่าวเป็นการร่วมลงทุนกับนายรัชฎา แต่ไม่ได้ชี้แจงว่าเป็นธุรกิจใด อย่างไรก็ดี 3 เดือนต่อมานายพานทองแท้ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทำธุรกิจนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศมาขายแต่ติดขัดเรื่องขั้นตอนจึงยกเลิกการทำธุรกิจ

กระทั่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษ ร้องให้สอบนายพานทองแท้และพวกรวม 2 ข้อหา สำหรับข้อหารับของโจร อายุความ 10 ปีนั้นหมดอายุความไปแล้ว ขณะที่ข้อหาฟอกเงินซึ่งมีอายุความ 15 ปีอยู่ในกระบวนการของศาล กระทั่งปี 2558 พล..ไพบูลย์ คุ้มฉายา (ขณะนั้นเป็นรมว.ยุติธรรม) ได้สั่งให้ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีดีเอสไอ เร่งดำเนินคดี ต่อมาในเดือนกันยายน 2560 ปปง. ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายพานทองแท้ และพวก ในคดีฟอกเงินกับดีเอสไอ และในวันที่ 18 กันยายน 2560 ปปง.เข้าให้ปากคำในฐานะผู้กล่าวหาคดีกับดีเอสไอ

คุณโอ๊ค พยายามบอกว่า ผมไม่เกี่ยวกับกระบวนการฟอกเงิน และในการต่อสู้ในชั้นศาล คุณโอ๊คปฏิเสธว่า ไม่ได้มีความผิดตามฟ้อง และเงินดังกล่าวที่เกิดขึ้น 10 ล้านบาทเป็นเงินที่ได้มาจากการร่วมทุนกับคุณรัชฎา กฤษดาธานนท์ ไปทำธุรกิจรถยนต์ด้วยกัน แต่ก็ติดขัดเรื่องขั้นตอนจึงยกเลิกการทำธุรกิจไปนายบากบั่น ระบุ

เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ศาลไต่สวนพยานฝ่ายโจทก์ คือ นายสุนทรา พลไตร ผู้อำนวยการส่วนบริหารทรัพย์สิน กองบริหารจัดการทรัพย์สิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในฐานะผู้กล่าวหาคดีนี้ ซึ่งได้สรุปข้อมูลการเงินทั้งหมดของนายพานทองแท้ บอกชัดเจนว่า จากการตรวจสอบพบว่า ไม่มีเหตุผลที่ฝ่ายจำเลยอ้างมาไปหักล้างในเรื่องเงิน 10 ล้านบาทนั้นว่า ไม่เกี่ยวพันกับขบวนการนำเงินออกมาจากแบงก์กรุงไทยไปใช้เพื่อส่วนตัวได้

 

ทั้งนี้ ...ปปง.มาตรา 5 บัญญัติว่า ผู้ใดโอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่า ก่อนขณะ หรือหลังการกระทำความผิดมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง การได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การให้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

มาตรา 60 บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บ่วงกรรมที่กำลังรัดคอคุณโอ๊ค อยู่ในคดีฟอกเงินเป็นเดิมพันครั้งสำคัญที่เกี่ยวพันกับทายาทตระกูลชินวัตร เพราะกฎหมายมาตรา 60 กำหนดโทษไว้หนักหน่วง ถ้าสั่งปรับ 20,000-200,000 บาท สำหรับเงิน 10 ล้านแล้วให้เอาเงินมาจ่ายธนาคารของรัฐซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล คุณโอ๊คคงจะโล่งอก แต่ถ้าศาลสั่งจำคุก 1-10 ปีเมื่อไหร่ เชื่อว่าตระกูลชินวัตรจะระทมแน่นอนครับนายบากบั่น ระบุ

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,509 วันที่ 29 กันยายน -2 ตุลาคม 2562

บ่วงกรรมคดีฟอกเงิน  25พ.ย.ชี้ชะตา‘โอ๊ค’