2 ศึกใหญ่รัฐบาล ‘ถล่มงบ-ซักฟอก’ รอพิสูจน์เสียงปริ่มน้ำ

28 ก.ย. 2562 | 06:00 น.

 

การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติที่ปิดฉากไป แม้ว่ายังไม่อาจสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลเสียงปริ่มนํ้าได้ อาจเป็นเพราะศึกครั้งนี้เป็นการอภิปรายแบบไม่ต้องลงมติ จึงไม่ยากที่รัฐบาลประยุทธ์ 2” จะรับมือ

แต่สำหรับศึกสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอีกไม่นานนักนี้ในสมัยประชุมสภาวิสามัญสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 (... งบประมาณปี 63) กฎหมาย สำคัญที่รัฐบาลต้องผลักดันออกมาให้ได้ เพราะหมายถึงเงินในกระเป๋าของรัฐบาลที่จะนำมาพัฒนาประเทศ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17-18 ตุลาคมนี้ ในขั้นการรับหลักการ ก่อนเข้าที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากลั่นกรองในวันที่ 19-20 ตุลาคมนี้ อาจไม่ง่ายสำหรับรัฐบาลมือใหม่

ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 กำหนดให้การเสนองบประมาณของรัฐบาลนั้น ต้องแสดงแหล่งที่มา และประมาณการรายได้ ผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ รวมถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาต่างๆ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาภายใน 105 วัน แปรญัตติ ได้ในทางลดหรือตัดทอนรายจ่าย ยกเว้นต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินที่กำหนดให้ต้องจ่ายตามกฎหมาย ในส่วนของการพิจารณางบประมาณของวุฒิสภา (..) จะพิจารณาภายใน 20 วันว่าเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ

นอกจากนี้เพื่อป้องกันประโยชน์ทับซ้อนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ในการพิจารณาของ .. และ .. หรือ คณะกรรมาธิการ กำหนดห้ามเสนอ แปรญัตติ หรือกระทำการใดที่มีผลให้ .. และ .. มีส่วนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 144 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า หากพบการกระทำผิด .. ..จะสิ้นสุดสมาชิกภาพ ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

ในขณะที่คณะรัฐมนตรีจะต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครเลือกตั้ง และให้ผู้กระทำรับผิดชดใช้เงินรวมถึงดอกเบี้ย และถูกเรียกเงินคืน หรือต้องชดใช้ค่าเสียหายภายใน 20 ปี รัฐบาลจึงต้องมีความระมัดระวังไม่สะดุดขาตัวเองล้มไปเสียก่อน

 

2 ศึกใหญ่รัฐบาล  ‘ถล่มงบ-ซักฟอก’  รอพิสูจน์เสียงปริ่มน้ำ

 

หากผ่านพ้นศึกงบประมาณมาได้ รัฐบาลก็มีเวลาได้พักหายใจหายคอบ้าง แต่ไม่นานนัก เพราะต้นเดือนพฤศจิกายน ก็จะมีการเปิดสภาสมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลมีศึกใหญ่รออยู่ นั่นคือ การอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ครม. โดยพุ่งเป้ามุ่งโจมตีไปที่ตัว พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหลัก

ทั้งนี้เชื่อว่า เมื่อเปิดสภาสมัยสามัญครั้งที่ 2 แล้วพรรคร่วมฝ่ายค้านจะต้องยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแน่นอน แต่กว่าจะได้อภิปรายกันจริง เวลาอาจจะล่วงเลยไปท้ายๆ สมัยประชุมสภา นั่นคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ (ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลมักให้อภิปราย ท้ายๆ สมัยประชุมสภา)

ศึกซักฟอกครั้งนี้จะเป็นตัวชี้ขาดวัดเสถียรภาพเสียงปริ่มนํ้าของรัฐบาลอย่างแท้จริงว่า จะอยู่หรือไป

 

สำหรับการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ทำได้ใน 2 กรณี คือ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ และการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งต่างจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่กำหนดให้ ..สามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้ 2 กรณี คือ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

อย่างไรก็ดี การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจครม. และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกัน คือ ..จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจครม.ทั้งคณะหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้

เมื่อได้มีการเสนอญัตติดังกล่าวแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมติไม่ไว้วางใจได้คะแนนเสียงไม่ไว้วางใจไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลงโดยไม่ได้สิ้นสุดลงด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระการเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ โดยการลงมติดังกล่าวไม่ให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีเวลาไตร่ตรอง

สำหรับรัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่งเดิม แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ หรือพ้นจากตำแหน่งเดิมไม่เกิน 90 วันก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติดังกล่าว แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่น ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจต่อไป

หากสภาลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีผู้นั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที ตามมาตรา 170 ของรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีมีสถานภาพเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากนายกรัฐมนตรีถูกลงมติไม่ไว้วางใจแล้ว ย่อมทำให้ทั้งคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงด้วย

ในการลงมติไม่ไว้วางใจ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

 

นั่นหมายความว่ารัฐบาลประยุทธ์ 2” ต้องได้เสียงไว้วางใจ 249 เสียงขึ้นไป จากเสียงส..ทั้งหมดที่มีอยู่ ปัจจุบัน คือ 498 เสียง เมื่อตัดเสียงของประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่โดยมารยาทจะงดออกเสียง รวมเสียงของ ...ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ..กำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ที่กำลังลุ้นในคดีล้มการประชุมอาเซียนที่พัทยา ที่ศาลฎีกาจะตัดสินในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ซึ่งอาจจะทำให้หดหายไปอีก 1 เสียง รวมถึงคดี 32 ..พรรคร่วมรัฐบาลกรณีถือหุ้นสื่อที่อยู่ในมือศาลรัฐธรรมนูญอีกนับสิบๆ รายที่งวดเข้ามาทุกขณะให้ได้ลุ้นทุกเสี้ยวนาที

 

ศึกหนักครั้งนี้จะหวังพึ่งคะแนนจาก .. เช่นเดียวกับการโหวตชื่อนายกฯ ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้ร่วมประชุมและลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ดังนั้น หาก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ได้เสียงข้างมากจาก ..ที่เกินกึ่งหนึ่ง เท่ากับว่านายกฯ หรือคณะรัฐมนตรีจะถูกถอดออกจากตำแหน่ง และส่งผลให้รัฐบาลสิ้นสุดลงทันที

เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบถึงการลงมติคะแนนโหวตไว้วางใจ-ไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นความอยู่รอดของรัฐบาลประยุทธ์ 2” แทบทั้งสิ้น

 

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,508 วันที่ 26-28 กันยายน 2562

2 ศึกใหญ่รัฐบาล  ‘ถล่มงบ-ซักฟอก’  รอพิสูจน์เสียงปริ่มน้ำ