เอ็มโอยู ‘แรงงานต่างด้าว’ พ่นพิษอุตสาหกรรมประมงพัง!!

10 ก.ย. 2562 | 10:50 น.

จับตา พรุ่งนี้! “มงคล” นำทัพประมงยื่นหนังสือ 'หม่อมเต่า' เผยเอ็มโอยูแรงงานต่างด้าวไม่เวิร์ค ใช้เวลานาน 3-4 เดือน ปัญหาเพียบค่าใช้จ่ายสูง แรงงานหนี แนะ มาตรา14 ของ พ.ร.ก.แรงงานฯ หรือ พ.ร.ก.ประมง มาตรา83 เลียนโมเดลเดิมใช้ประสบความสำเร็จมาแล้ว หวั่นชักช้าอุตสาหกรรมประมงพังเกินเยียวยา

 

เอ็มโอยู ‘แรงงานต่างด้าว’ พ่นพิษอุตสาหกรรมประมงพัง!!

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัญหาอยู่ที่กระทรวงแรงงาน ที่ต้องการให้การใช้แรงงานต่างด้าว จะต้องดำเนินการผ่านระบบเอ็มโอยู (MOU) เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้มองปัญหาว่าการนำเข้าแรงงานนั้นมีปัญหาขนาดไหน เพราะกว่าจะนำเข้าแรงงานได้ก็ต้องใช้เวลา 3-4 เดือน แล้วภาคธุรกิจ จะดำเนินธุรกิจได้อย่างไรในกรณีที่แรงงานต่างด้าวชอบเปลี่ยนงานและไม่ยอมแจ้งล่วงหน้า

เอ็มโอยู ‘แรงงานต่างด้าว’ พ่นพิษอุตสาหกรรมประมงพัง!!

ส่วนใหญ่จะใช้วิธีหลบหนี ทำให้ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจ ต่างๆรวมถึงภาคการเกษตร ประมง ที่จะต้องใช้แรงงานต่างด้าว เพราะคนไทยไม่ทำ จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนักในภาคเกษตร ประมง เพราะกฎหมายประมงมีโทษปรับที่รุนแรง ทำให้เรือประมงต้องจอด ครั้งละหลายๆเดือน ไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพได้

เอ็มโอยู ‘แรงงานต่างด้าว’ พ่นพิษอุตสาหกรรมประมงพัง!!

นายมงคล กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 11 ก.ย.62) จะเข้าพบ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทบทวนนโยบายที่ใช้อยู่เรื่องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบMOUเพียงอย่างเดียว  ในภาคธุรกิจเกษตร ประมง เสียใหม่ โดยเสนอขอให้ใช้ กฎหมายมาตรา 14 ของพรก.แรงงาน หรือ ใช้ กฎหมาย พรก.ประมง มาตรา83 ที่อนุญาตให้ อธิบดีกรมประมง เสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ การใช้ แรงงานต่างด้าวได้ ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ ธุรกิจกระทบปากท้องของพี่น้องประชาชน ที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ 

เอ็มโอยู ‘แรงงานต่างด้าว’ พ่นพิษอุตสาหกรรมประมงพัง!!

ตลอดจนขอให้ชาวประมงสามารถเลือกจ่ายค่าจ้างให้กับแรงงานผ่านธนาคารหรือจ่ายเป็นเงินสดได้ เนื่องจากในแต่ละเดือนแรงงานประมงส่วนใหญ่จะเบิกเงินก่อนไม่ต่ำกว่า 50% ของเงินเดือน แล้วขอให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการตรวจแรงงานและการดำเนินคดีอาญาผู้กระทำความผิด ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ.2561 และความชัดเจนในการออกกฎ ระเบียบ ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 หากได้รับการแก้ไขตามข้อเรียกร้องจะช่วยปลดล็อค ให้กับภาคธุรกิจประมง สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้

เอ็มโอยู ‘แรงงานต่างด้าว’ พ่นพิษอุตสาหกรรมประมงพัง!!