BTSฮึดสู้กมธ. ต่อสัมปทาน ประโยชน์ชาติ

09 ก.ย. 2562 | 03:50 น.

บีทีเอสยันต่อสัมปทานช่วยรัฐลดหนี้ 8 หมื่นล้าน หั่นค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายคูคต-สมุทรปราการ จาก 158 บาท ค้าน กมธ.อย่าแยกส่วน

รัฐบาลประยุทธ์ 1 มีมติ ให้กรุงเทพมหานครรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวทั้งสาย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต)ที่รับภาระหนี้มาจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการและส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง- สมุทรปราการ) ส่งผลให้ กทม. มีภาระหนี้ จากงานโยธา 6 หมื่นล้านบาทงานระบบไฟฟ้าเครื่องกล 2 หมื่นล้านบาท รวม 8 หมื่นล้านบาท

ที่ผ่านมาได้มีข้อสรุปร่วมกับกทม.ว่า จะขยายอายุสัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ บีทีเอส ตลอดทั้งสาย เพื่อแลกกับภาระหนี้  และการบริหารจัดการเดินรถ แต่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) มีมติไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าบีทีเอส ยังเหลืออายุสัมปทาน ถึงปี 2574 ที่สำคัญ ทรัพย์สินเก่า คือเส้นทางที่เปิดให้บริการปัจจุยัน(ส่วนตรงกลาง ) กับ ส่วนต่อขยาย  เป็นคนละส่วนกัน 

BTSฮึดสู้กมธ.  ต่อสัมปทาน  ประโยชน์ชาติ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ยืนยันว่า มติดังกล่าว ไม่ใช่มติให้ต่อสัมปทานหรือไม่ต่อ แต่เป็นมติรับร่างผลศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งต้องรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอย่างไรก็ตาม บีทีเอส เห็นว่าการขยายสัมปทาน มีข้อดี ช่วยให้ รัฐลดภาระหนี้ ที่ต้องคืนรัฐและเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งแต่เดิมที่เป็นมาตรฐานการเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้าที่ทำไว้เดิม เมื่อรวมส่วนต่อ ส่วนสัมปทานแล้ว ถ้าประชาชนจะต้องเดินทางจากคูคตไปถึงสมุทรปราการ ประมาณ 158 บาท โดยไม่เปลี่ยนขบวน แต่หาก ขยายสัมปทานตามข้อเสนอของกทม.ราคาค่าโดยสารจะเหลือที่ 65บาทตลอดสาย ซึ่งมองว่า คุ้มค่ามาก 

อย่างไรก็ตามหาก ไม่ขยายสัมปทาน  นายสุรพงษ์ กล่าวว่า จะเกิดผลกระทบ2ข้อ  คือ ค่าโดยสารแพงเกินไปและหนี้ที่เกิดขึ้นจะแก้ปัญหาอย่างไร  อย่างไรก็ตาม  ที่ผ่านมา กทม.ได้ศึกษาผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ โดยจ้างที่ปรึกษาจึงสรุปมาว่าควรจะทำพีพีพี พร้อมทำประชาพิจารณ์ แล้วเสร็จ แต่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ร่วมทุนฯเปลี่ยนใช้ปี 2562  ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้ส่วนของรถไฟฟ้าบีทีเอส มีส่วนที่เป็นทรัพย์สินเก่ากับส่วนที่เป็นทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ส่วนต่อขยาย ซึ่งเดิมเป็นของกทม.

BTSฮึดสู้กมธ.  ต่อสัมปทาน  ประโยชน์ชาติ

หากจะทำสัมปทานตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี2562  มองว่าการดำเนินการค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้นต้องจัดการตัวทรัพย์สินเดิมก่อนในขั้นตอนที่หนึ่ง  จากนั้น ค่อยนำทรัพย์สินใหม่ คือส่วนต่อขยายมารวมกัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี อย่างไรก็ตาม

"จึงมีคำถามว่า ค่าโดยสารกับภาระหนี้จะทำอย่างไร กทม.คงหารือกับรัฐบาลว่าจะทำอย่างไร และรัฐบาลในขณะนั้นคือ คสช.ได้ออกม.44 มาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ คือตามม.44 เท่าที่เราดูมาช่วยในเรื่องของระยะเวลาให้สั้นลงเพื่อให้ทันการกับส่วนต่อขยายที่มีแผนจะเปิดให้บริการ

แต่รายละเอียดตัววิธีการดำเนินการก็ยังดำเนินการตามพรบ.ร่วมทุนฯ โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้เข้มข้นกว่าคณะกรรมการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯด้วยซํ้า เพราะมีระดับปลัดกระทรวงเป็นกรรมการ ดังนั้นการเจรจาก็ต้องเข้มข้น เสร็จแล้วร่างสัญญาก็ต้องไปผ่านอัยการสูงสุดและก็ต้องเอาเข้าครม. ก็เหมือนกับกระบวนการพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพียงแค่ตัดเรื่องเวลา เพราะพ.ร.บ.ร่วมทุนฯต้องไปเข้า 2 รอบ นี่คือการร่นให้เหลือรอบเดียว ซึ่งหลักการก็เหมือนเดิมคือมีคณะกรรมการที่เป็นกลางเจรจา มีผู้เชี่ยวชาญ

BTSฮึดสู้กมธ.  ต่อสัมปทาน  ประโยชน์ชาติ

ส่วนข้อที่ว่าคณะกรรมาธิการฯไม่เห็นให้ใช้ม.44 เพราะอยากจะเอื้อบีทีเอส มีอำนาจล้นฟ้านั้น ยืนยันว่าไม่จริง เพราะมีกรรมการมาเจรจามีคนนอกด้วย และกรรมการก็มีระดับปลัดทั้งนั้นคงไม่ยอมทำให้เสียชื่อเสียง ผมเป็นคนที่เจรจาเองซึ่งเข้มข้นมาก และมีการดูแลผลประโยชน์ของกทม.อย่างดี   " 

เมื่อถามว่า หากใช้ม.44 จะทำให้ภาระดอกเบี้ยหนี้สิน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 ปี สุรพงษ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าภาระดอกเบี้ยจะขยับขึ้น แต่บริษัท ไม่ได้รับผลกระทบซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาของกทม.และอาจจะกระทบค่าใช้จ่ายประชาชน ทางออก รัฐบาลต้องดำเนินการในรูปแบบนี้ 

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3503 วันที่ 8-11 กันยายน 2562

BTSฮึดสู้กมธ.  ต่อสัมปทาน  ประโยชน์ชาติ