“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

04 ก.ย. 2562 | 01:10 น.

ทีมไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม

นายพุฒิพงษ์ ปุณกันต์ รัฐมนตรีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีอุตสากรรม

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาฯ

 

ทีมเกาหลีใต้

นายมุน แช-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี

นางคัง คยอง-ฮวา รัฐมนตรีต่างประเทศ

นส.ยู อึน-ฮเย รมว.ศึกษาฯ

นางยู มยอง-ฮึ รมต.อุตสาหกรรมและพลังงาน

นายอี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย  

“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 6 ฉบับ

คัง คยอง-ฮวา รมว.ต่างประเทศ VS พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

คัง คยอง-ฮวา รมว.ต่างประเทศ VS พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

1.ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี รายละเอียด สนับสนุนความร่วมมือกันในสาขาการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในด้านต่าง ๆ

นส.ยู อึน-ฮเย รมว.ศึกษาฯ VS นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาฯ

นส.ยู อึน-ฮเย รมว.ศึกษาฯ VS นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาฯ

2. ความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลีระหว่างสองประเทศ ช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลีสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยมีรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลาย

คัง คยอง-ฮวา รมต.ต่างประเทศ VS ดอน ปรมัตถ์วินัย รมต.ต่างประเทศ

คัง คยอง-ฮวา รมต.ต่างประเทศ VS ดอน ปรมัตถ์วินัย รมต.ต่างประเทศ

3. ความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองข่าวสารทางทหารที่มีชั้นความลับร่วมกัน ช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างไทยและเกาหลีใต้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทหารระหว่างกัน ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขสำหรับการคุ้มครองข่าวสารที่ได้มีการแลกเปลี่ยนกัน

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมต.อุตสาหกรรม vs ยู มยอง-ฮึ รมต.อุตสาหกรรมและพลังงาน

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมต.อุตสาหกรรม vs ยู มยอง-ฮึ รมต.อุตสาหกรรมและพลังงาน

4. ร่วมมืออุตสาหกรรม 4.0 ยกระดับความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)  

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย vs ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย

vs

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม 

5. ความร่วมมือระบบราง ส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งทางรางของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง ความตกลงฯ มีอายุ 2 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปี ตามความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย VS พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมต.ดีอี

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย

VS

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมต.ดีอี

6. ความร่วมมือพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนโยบาย เทคโนโลยี ข้อมูลและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน

คำกล่าว 2 ผู้นำ


“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

“ดีใจที่ประธานาธิบดีเกาหลีมาเยือนไทย เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการลงทุนของนักลงทุน นอกจากเอ็มโอยูและ เหลือเพียงเอ็มโอดู คือต้องลงมือทำให้สัมฤทธิ์ผลอาเซียนมีนโยบายเดินไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องกับการพัฒนาของเกาหลีใต้ ขอชื่นชมการพัฒนาของประเทศเกาหลีที่ใช้เวลาเพียง 60 ปี ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้มาก ต่างจากหลายประเทศที่ใช้เวลาเป็นร้อยปีก็ยังพัฒนาไม่เท่าที่เกาหลีทำได้ เพราะชาวเกาหลีมีความรักชาติ เสียสละ มีจิตสำนึก ซึ่งวัฒนธรรมความรักชาติของเกาหลีนั้น ได้สอดแทรกผ่านหนังและละครต่างๆ เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ

และขอชื่นชมนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของเกาหลี (New Southern Policy - NSP) ที่มุ่งขยายความร่วมมือด้านต่างๆ มาสู่ภูมิภาคอาเซียน นักลงทุนเกาหลีเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติที่สำคัญ กลุ่ม CLMVT เป็นหัวใจที่แท้จริงของอาเซียน ซึ่งไทยมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางอนุภูมิภาคนี้ สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ฐานการลงทุน และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลกได้อย่างดีเยี่ยม

ผมได้มอบหมายให้บีโอไอและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สำนักงานอีอีซี)ดูแลนักลงทุนเกาหลีใต้ที่ลงทุนในไทยแล้วขณะนี้กว่า 400 บริษัทให้เป็นอย่างดีและคาดหวังว่าการมาเยือนนักลงทุนของเกาหลีใต้กว่า 100 บริษัทครั้งนี้การลงทุนในปี 2562 ที่เหลือจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีก ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีแห่งการลงทุนของไทย”

 

มุน แจ อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

“เกาหลีใต้ได้ดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy) ให้ความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกับประเทศไทย ซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในนโยบายนี้ 3 เรื่อง 1.เดินหน้าร่วมมือปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ร่วมกัน เป็นการเชื่อมความร่วมมือให้สอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เน้นพัฒนาใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก 2. ร่วมมือเสริมสร้างระบบนิเวศ ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเกาหลีใต้ยังมีสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ (ยูนิคอร์น) จำนวน 9 ราย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและขีดความสามารถที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพของไทย 3. เกาหลีใต้และไทย สามารถร่วมมือกัน ในเวทีการค้าโลกอย่างเสรี ต่อต้าน ลัทธิปกป้องการค้า ภายใต้ระบบพหุภาคี ที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ เกาหลีใต้มีความมุ่งมั่นและพร้อมให้การสนับสนุนไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตชั้นนำของอาเซียน โดยในเร็วๆ นี้ จะมีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่เรียกว่า ไอโอนิก (IONIG) ในประเทศไทย ซึ่งรถยนต์ รุ่นดังกล่าวได้รับความนิยมมากในเกาหลีใต้ และได้มีการส่งออกไปยังสหรัฐและ หลายประเทศในยุโรป"