Thitipawin แบรนด์หัตถศิลป์ร่วมสมัยช่วยเหลือสังคม

22 ส.ค. 2562 | 07:14 น.

พบงานหัตถศิลป์สร้างสรรค์จากสมาชิกศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ในงาน “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2”จากแบรนด์ “Thitipawin : ธิติปวินท์” เสิร์ฟงานหัตถกรรมร่วมสมัย พร้อมส่งต่อความสุขช่วยเหลือสังคม  

ธิติปวินท์ ทัศน์ชัยคมน์ เจ้าของแบรนด์ Thitipawin เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของการผันตัวเองเข้ามาในวงการงานหัตถศิลป์ เกิดจากอดีตเคยอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลาหลายปีซึ่งที่นั่นมีประชากรเป็นชาวเผ่ามากมายหลายกลุ่ม และได้สังเกตว่ากลุ่มชนเผ่า ชาติพันธุ์ มีฝีมือด้านงานศิลปหัตถกรรมที่สวยงามประณีตมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ด้วยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จึงประสบปัญหาในด้านการไปมาหาสู่กับผู้คนในเมือง ส่งผลให้งานฝีมือที่ทำเป็นอาชีพเสริมนั้นมีช่องทางการจำหน่ายที่จำกัด และรูปแบบ งานดีไซน์ของสินค้าที่ไม่เอื้อต่อความนิยมของคนเมืองในการนำไปใช้ได้จริงในปัจจุบัน จึงเริ่มต้นเกิดความคิดว่า

“จะทำอย่างไร ที่ช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์สวยๆ มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าชาติพันธุ์สามารถจำหน่ายได้”

ประกอบกับ ได้มีโอกาสรับซื้อ “ผ้าซาโอริ” จากโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผ้าที่ทอจากเด็กพิการซ้ำซ้อน และเด็กที่พิการทางการได้ยิน ที่ครูในโรงเรียนใช้การทอผ้าเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก และฝึกอารมณ์ให้กับเด็ก ๆ  แต่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่าจะเอามาต่อยอดทำอะไร จนในที่สุด ได้ลองนำมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากผ้าซาโอริ และผ้าทอของชาวเขา จนได้มีโอกาสเป็นสมาชิกของ SACICT ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการออกแบบ และเทรนด์ตลาด จึงผันตัวเองเข้าสู่วงการงานหัตถศิลป์อย่างเต็มตัว และเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัย ประกอบกับ ได้มีโอกาสออกร้านในงานต่าง ๆ ของ SACICT ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ได้พบปะกับกลุ่มผู้ซื้อ ได้รับมุมมองของผู้ซื้อว่ามีความชอบอะไร ต้องการงานแบบไหน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Thitipawin ได้เป็นอย่างดี

Thitipawin แบรนด์หัตถศิลป์ร่วมสมัยช่วยเหลือสังคม

Thitipawin แบรนด์หัตถศิลป์ร่วมสมัยช่วยเหลือสังคม

Thitipawin แบรนด์หัตถศิลป์ร่วมสมัยช่วยเหลือสังคม

Thitipawin แบรนด์หัตถศิลป์ร่วมสมัยช่วยเหลือสังคม

นอกจากการได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าของไทยเป็นที่รู้จักแล้ว ยังภาคภูมิใจที่มีโอกาสตอบแทนสังคม เพราะผลิตภัณฑ์ทุกๆชิ้น ล้วนมีส่วนสนับสนุนชุมชน ชาวเขาที่อยู่ห่างไกล รวมถึงเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับนักเรียนผู้พิการ และยังเป็นแรงผลักดันให้กับคุณครูที่ช่วยสนับสนุนให้เด็กๆ มีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณค่า ซึ่งสามารถสะท้อนอยู่ในทุก ๆ ชิ้นงาน ดังเช่นที่ได้มีโอกาสมาร่วมจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงาน “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2” ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญในการส่งต่อผลงานให้เป็นที่รู้จัก ให้ผู้คนได้รู้ว่า งานหัตถศิลป์ไทยมีคุณค่า และยังช่วยเหลือสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย