เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

14 ส.ค. 2562 | 06:26 น.

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

14 สิงหาคม 2562- ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาคดีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก่อการร้าย หมายเลขดำ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อายุ 71 ปี อดีตประธาน นปช., นายจตุพร พรหมพันธุ์ อายุ 54 ปี ประธาน นปช., นายณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ อายุ 44 ปี เลขาธิการ นปช. , นพ.เหวง โตจิราการ อายุ 68 ปี , นายก่อแก้ว พิกุลทอง อายุ 54 ปี , นายยศวริศ ชูกล่อม อายุ 61 ปี , นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง อายุ 55 ปี อดีตแกนนำและแนวร่วม นปช.รวม 24 คน เป็นจำเลยที่ 1 - 24 ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ปรากฏว่า ศาลยกฟ้อง 24 แกนนำ นปช. ชี้เป็นการชุมนุมทางการเมืองเรียกร้องตามสิทธิ์ ไร้หลักฐานการใช้ความรุนแรง

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

สำหรับคำพิพากษาของศาลนั้น ระบุว่า เมื่อพิเคราะห์จากพยานหลักฐานแล้วให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่มีพยานใดยืนยันว่า การกระทำตามที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น ปรากฎว่า มี นปช.คนใด ดำเนินการอย่างไรที่จะเป็นความผิดก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 , 135/2 ที่จะมีเจตนาพิเศษถึงขนาดเปลี่ยนแปลงกานปกครอง เพียงแต่นำสืบฟังได้ว่า

 เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่เป็นกรณีเกิดความขัดแย้งของการเมืองไทยมาตั้งแต่ก่อนปี 2548 ในช่วงของรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีกลุ่มก่อตั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งดำเนินการลักษณะของการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองลักษณะคล้ายกันโดยในการชุมนุมของ นปช.ก็ได้ประกาศเปิดเผยโดยชัดเจนมาตลอดว่า ได้ดำเนินการรวมตัวกันโดยสงบสันติและปราศจากอาวุธวันที่เกิดเหตุการณ์ในแต่ละสถานที่นั้น ขณะที่หากมีการกระทำผิดเป็นรายบุคคลก็ต้องพิจารณาดำเนินคดีเป็นรายๆ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงยังไม่เพียงพอฟังได้ว่า กระทำผิด

ดยคดีนี้พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อายุ 71 ปี อดีตประธาน นปช.จำเลยที่ 1 นายจตุพร พรหมพันธุ์ อายุ 54 ปี ประธาน นปช และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อชาติ ที่ 2 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อายุ 44 ปี เลขาธิการ นปช. และอดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่ 3 กลุ่มแกนนำ-แนวร่วม นปช นพ.เหวง โตจิราการ อายุ 68 ปี อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ทษช.ที่ 4 นายก่อแก้ว พิกุลทอง อายุ 54 ปี อดีตสมาชิกพรรค ทษช. ที่ 5

นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา อายุ 67 ปี ที่ 6 นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก อายุ 61 ปี ที่ 7นายนิสิต สินธุไพร อายุ 63 ปี อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ที่ 8 นายการุณ หรือเก่ง โหสกุล อายุ 52 ปี ส.ส.เพื่อไทย ที่ 9 นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อายุ 68 ปี ที่ 10

นายภูมิกิติ หรือพิเชษฐ์ สุจินดาทอง อายุ 59 ปี อดีตลูกน้อง คนสนิทพล.ต.ขัตติยะ หรือเสธ.แดง สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่ 11 นายสุขเสก หรือสุข พลตื้อ อายุ 43 ปี ที่ 12 นายจรัญ หรือยักษ์ ลอยพูล อายุ 48 ปี การ์ด นปช. ที่13  นายอำนาจ อินทโชติ อายุ 63 ปี ที่ 14 นายชยุต ใหลเจริญ อายุ 46 ปี หัวหน้าการ์ด นปช.ที่ 15

นายสมบัติ หรือผู้กองแดง มากทอง อายุ 57 ปี ที่ 16 นายสุรชัย หรือหรั่ง เทวรัตน์ อายุ 34 ปี อดีตคนสนิท เสธ.แดง ที่ 17 นายรชต หรือกบ วงค์ยอด อายุ 38 ปี ที่ 18 นายยงยุทธ ท้วมมี อายุ 63 ปี แนวร่วม นปช.ที่19 นายอร่าม แสงอรุณ อายุ 58 ปี หัวหน้าการ์ด นปช.อดีตลูกน้องคนสนิท เสธ.แดง ที่ 20 นายเจ็มส์ สิงห์สิทธิ์ อายุ 38 ปี อดีตคนสนิท เสธ.แดง ที่ 21 นายสมพงษ์ หรืออ้อ หรือแขก หรือป้อม บางชม ที่ 22 นายมานพ หรือเป็ด ชาญช่างทอง อายุ 58 ปี กลุ่มการ์ด นปช.ที่ 23 นายอริสมันต์ หรือกี้ พงศ์เรืองรอง อายุ 55 ปี แกนนำ นปช.ที่ 24

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

ในความผิด 6 ข้อหาฐานร่วมกันก่อการร้าย โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐประโยชน์สาธารณะโดยมีความมุ่งหมายขู่เข็ญรัฐบาลไทยให้กระทำการใด หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 , ขู่เข็ญว่า จะทำการก่อการร้ายโดยสะสมกำลังพลหรืออาวุธ หรือตระเตรียมการสมคบกันเพื่อก่อการร้าย ตาม ม.135/2 , ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใดที่ไม่ใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินฯ ม.116 , มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ หรือเป็นหัวหน้าสั่งการฯ ม.215 , เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการกระทำแล้วไม่เลิก ม.216 ,ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

โดยจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ขณะที่จำเลยส่วนใหญ่ได้รับการประกันตัวชั้นพิจารณาด้วยหลักทรัพย์ 600,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการใดๆ ลักษณะดูหมิ่นผู้อื่น ยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ของผู้อื่น หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กับห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

สำหรับคดีนี้อัยการทยอยยื่นฟ้องกลุ่มแกนนำ นปช. เป็นชุดๆ รวม 4 สำนวน ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2553 เป็นคดีหมายเลขดำ อ.2542/2553 ,  อ.4339/2553 ,  อ.757/2554 , อ.4958/2554 จนครบ 24 คน และมีการรวมพิจารณาคดีเดียวกัน ซึ่งใช้เวลาพิจารณาพยานหลักฐานและสืบพยานบุคคล มานานร่วม 9 ปี โดยระหว่างการสืบพยานศาลจะพิจารณานัดดพร้อมเป็นระยะๆ เพื่อร่วมคู่ความกำหนดกรอบประเด็นสืบและระยะเวลาสืบพยานเนื่องจากทั้งโจทก์-จำเลย ต่างเสนอขอสืบพยานนับร้อยปาก โดยทำการสืบพยานต่อเนื่องซึ่งเริ่มสืบพยานโจทก์ตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค.55 และเริ่มสืบพยานจำเลยปี 2562 กระทั่งได้นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ (14 สิงหาคม 2562)

 

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช. โดยฟ้องของโจทก์ ระบุพฤติการณ์กล่าวหาสรุปว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 20 พฤษภาคม 2553 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งหมดกับพวก ร่วมกับ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ซึ่งถึงแก่ความตายโดยนายวีระกานต์ จำเลยที่ 1 - ที่ 11 ซึ่งเป็นแกนนำ นปช. (กลุ่มคนใส่เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์)ได้ยุยงปลุกปั่นประชนทั่วราชอาณาจักรไทยให้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและบังคับขู่เข็ญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่อ้างว่า

นายอภิสิทธิ์ มาเป็นนายกฯโดยมิชอบและให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฯฉบับปี 2550 ซึ่งพวกจำเลยได้ร่วมกันจัดการชุมนุมจำนวนหลายหมื่นคนที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ, ฝั่ง ถ.ราชดำเนินตั้งแต่สี่แยกคอกวัวถึงสี่แยกมิสกวัน , ฝั่ง ถ.พิษณุโลกจากสะพานชมัยมรุเชษฐ ถึงสี่แยกวังแดง และยริเวณแยกราชประสงค์ และยังมีการเดินขบวนไปปิดล้อมสถานที่ต่างๆด้วย ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), อาคารรัฐสภา, กรมทหารราบที่ 22 และบ้านพักของนายอภิสิทธิ์ นายกฯ (ย่านสุขุมวิท) โดยมีการใช้อาวุธเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 79 ยิงใส่บ้านพักประชาชนด้วย

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

นอกจากนี้จำเลยกับพวกยังได้สะสมกำลังพลและอาวุธสงครามร้ายแรง มีการฝึกกำลังคนและฝึกการใช้อาวุธใช้ชื่อ “กลุ่มนักรบพระเจ้าตาก”, “กลุ่มนักรบโรนิน” ,  “กลุ่มนักรบพระองค์ดำ” เพื่อการก่อการร้าย สร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนโดยใช้ยานพาหนะเคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุมไปตามถนนใน กทม. แบบดาวกระจายเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความเสียหายแก่การคมนาคม ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนเกรงกลัวอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และยังขัดขวางการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน ซึ่งพวกจำเลยและกลุ่มผู้ชุมนุมยังได้ใช้เลือดจำนวนมากไปเทราดที่หน้าทำเนียบรัฐบาล, หน้าพรรคประชาธิปัตย์ และบ้านพักนายกรัฐมนตรี กับมีการใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่กองรักษาการณ์ของกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ , กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุม ครม. กับยิงใส่กองบัญชาการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) มีทหารได้รับบาดเจ็บ

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช. นอกจากนี้ใช้เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี ยิงใส่กระทรวงกลาโหม, ขว้างระเบิดใส่กรมบังคับคดี และอาคารมูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ , ยิงปืนใส่ธนาคารกรุงเทพ , ขว้างระเบิดใส่ประตูทางเข้าทำเนียบรัฐบาลและสถานที่ราชการต่างๆ อันเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของรัฐและผู้อื่น เพื่อบีบบังคับกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้อง ซึ่งการกระทำของจำเลยกับพวกในการเดินขบวนชุมนุมประท้วงรัฐบาลดังกล่าวไม่เป็นการกระทำโดยใช้สิทธิเสรีภาพตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการกีดกั้นกีดขวางการใช้เส้นทางคมนาคมส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ที่สำคัญเกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตปกติสุขของประชาชน กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตรัฐธรรมนูญฯ ปี 2550 ม.34 , 36

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 นายอภิสิทธิ์ นายกฯ ได้อาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 ม.5 ,11 โดยความเห็นชอบของ ครม. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กทม, ปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ โดยห้ามไม่ให้ชุมนุมหรือมั่วสุมเกิน 5 คนขึ้นไป หรือกระทำการอันใดเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือ กีดขวางการจราจร ปิดทางเข้าออกอาคารหรือสถานที่ ที่จะเป็นการขัดขวางการปฎิบัติงาน หรือประกอบกิจการหรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนทั่วไป , ห้ามประทุษร้ายหรือใช้กำลังทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหายเกรงกลัวอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน

โดยจำเลยกับพวก รู้อยู่แล้วว่าการชุมนุมดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมซึ่งรัฐบาลสั่งให้ยุติการชุมนุมแล้ว แต่จำเลยกับพวกไม่ยุติ มีการนำกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปที่ทำการรัฐสภาทำร้ายร่างกายทหาร แย่งชิงอาวุธปืนเอ็ม 16 ไป 1 กระบอก , บุกรุกไปในสถานีดาวเทียมไทยคม 2 อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

กระทั่งวันที่ 10 เมษายน 2553 จำเลยกับพวก และผู้ชุมนุมได้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ปฎิบัติการกดดันผู้ชุมนุมเพื่อขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และแยกราชประสงค์ โดยมีการใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนสงคราม , ระเบิดขว้าง , เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่ทหารประชาชน เป็นเหตุให้ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

หลังจากนั้นมีการลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูง ที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อต้องการให้ไฟฟ้าดับทั่ว กทม. อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ

ต่อมาวันที่ 14 เมษายน 2553 จำเลยกับพวก ยังได้ไปร่วมตัวชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ปิดเส้นทางการจราจร , สร้างเครื่องกีดขวางรอบพื้นที่ชุมนุม โดยดัดแปลงใช้ไม้ไผ่ ไม้ปลายแหลม ยางรถยนต์ปิดกั้นเส้นทางบริเวณแยกศาลาแดง , แยกหลังสวน , แยกเพลินจิต , แยกชิดลม , แยกประตูน้ำ , แยกปทุมวัน , แยกเฉลิมเผ่า มีการยิงระเบิดใส่ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาสีลม และสาขาอื่นๆกับสถานที่ต่างๆ ไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวแก่ประชาชนและระบบเศรษฐกิจ โดยวันที่ 28 เมษายน จำเลยกับพวก ได้ยุยงให้ผู้ชุมนุมไปที่ตลาดไท และได้ใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร บริเวณหน้าอนุสรณ์สถาน และสนามบินดอนเมือง มีการใช้อาวุธยิงทหารเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 2 คน และยังมีผู้อื่นบาดเจ็บอีก 16 คน

เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลยกฟ้อง“คดีก่อการร้าย”24นปช.

นอกจากนี้ในต่างจังหวัดก็ได้ทำการปิดถนน ตั้งด่านตรวจพาหนะ, บังคับให้ขบวนรถไฟที่บรรทุกยุทธภัณฑ์ทางทหารไม่ให้เดินทางต่อ จากนั้นวันที่ 29 เมษายนจำเลยกับพวกยังได้นำผู้ชุมนุม 200 คนไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อ้างว่ามีทหารแอบซ่อนตัวอยู่ ทำให้แพทย์ พยาบาลไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ ซึ่งนอกจากการกระทำของพวกจำเลยดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วยังก่อให้เกิดความวุ่นวาย นำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ มีการใช้กำลังขัดขืนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีเจตนาบิดเบือนให้เกิดการเข้าใจผิดเพื่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆทั่วราชอาณาจักร กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ

กระทั่งเมื่อวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2553 รัฐบาลได้ดำเนินการกระชับพื้นที่และกดดัน ให้จำเลยกับพวกผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่และยุติการชุมนุม แต่จำเลยกับพวกมีการสะสมกำลังพลและมีอาวุธสงครามร้ายแรงต่อสู้ขัดขวาง ใช้ปืนยิงต่อสู้เจ้าพนักงาน และวางเพลิง