จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"

13 ส.ค. 2562 | 12:25 น.

         ธนาคารพาณิชย์แบ่งรับแบ่งสู้ "ลดดอกเบี้ยสนองนโยบายรัฐ" ค่ายกลาง-เล็กพร้อมพิจารณาตามแบงก์ใหญ่ "บัวหลวง"ขอเวลาอีกพัก-กรุงไทยคุมเอ็นพีแอล-เผยภาคเกษตรส่งสัญญาณอ่อนแอ-

               ภายหลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%จากระดับ  1.75% ต่อปีเป็น  1.50% ต่อปีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม2562 โดยประเมินเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง จึงต้องดำเนินนโยบายควบคู่ทั้งมาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน(microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) ขณะที่การส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบธนาคารพาณิชย์นั้น

               นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยตามทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยตามกนง.ที่ปรับลง และเชื่อว่าทุกธนาคารกำลังพิจารณากันอยู่ จะเห็นว่าครั้งที่ผ่านมากนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยธนาคารก็ไม่ได้ปรับตาม แต่ครั้งนี้ทุกคนกำลังดูอยู่

จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"
 

             นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน)กล่าวว่า  ธนาคารกรุงเทพต้องใช้เวลาในการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารอีกสักพัก 

จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"

               นายผยง​ ศรี​วณิช​ กรรมการ​ผู้จัดการ​ใหญ่​ บมจ.ธนาคาร​กรุงไทย​(KTB​)​กล่าว​ว่า​ การปรับเปลี่ยน​อัตรา​ดอกเบี้ย​ของกรุงไทยนั้นจะต้องพิจารณาความเหมาะสม ทั้งบริบทความเป็นธนาคาร​ของรัฐ และเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะลูกค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการยังไม่พร้อมสำหรับต้นทุนดอกเบี้ย​ที่จะ​เพิ่มขึ้น​ เช่น กลุ่ม​เอสเอ็มอี​ก็เห็น​สัญญาณ​ความอ่อนแอ​มาระยะหนึ่ง​แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่​จะเป็​น​กลุ่ม​เกษตรที่แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)สูงขึ้น​แต่โดยรวมควบคุมได้อยู่ นอกจากนี้ที่ผ่านมาเมื่อมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นและเมื่ออัตราดอกเบี้ย​กลับลงมาสู่ระดับ​เดิม ก็ไม่มีผลอะไร​กับธนาคาร​

จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"

      นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บมจ.ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจำเป็นต้องดูภาวะตลาด และธนาคารโดยรวมมีการปรับลดดอกเบี้ยลงหรือไม่ อีกทั้งจำเป็นต้องติดตามนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ว่าจะปรับดอกเบี้ยลงหรือไม่ เนื่องจากธนาคารรัฐถือเป็นแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ จะเห็นว่าในระยะหลังๆ ธนาคารรัฐมีการออกแคมเปญเงินฝากออกมาต่อเนื่อง ทำให้มีการดึงสภาพคล่องของระบบไปในช่วงที่ผ่านมา

จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"

               ขณะเดียวกัน การเก็บภาษีกองทุนและตราสารหนี้ระยะสั้น จะทำให้มีสภาพคล่องบ้างส่วนย้อนกลับเข้ามาในระบบเงินฝาก ดังนั้น ธนาคารไม่มีความจำเป็นในการระดมเงินฝากต้นทุนสูง ซึ่งตอนนั้นอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงก็ได้ เพราะสองตลาดมีความเชื่อมโยงกัน อย่างไรก็ดี หากมีการปรับลดดอกเบี้ยลง น่าจะลงทั้ง 2 ขา ทั้งเงินกู้ และเงินฝาก เพื่อไม่ให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารได้รับผลกระทบ

               นายประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารอยู่ที่ 90% โดยประเด็นปรับลดดอกเบี้ยนั้น ต้องพิจารณาแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อ หรือดูสภาพคล่องในระบบและในส่วนของธนคารควบคู่กัน ระหว่างนี้จึงต้องประเมินสถานการณ์เป็นระยะ  ขณะที่ทั้งปีนี้ยังคงมั่นใจสินเชื่อรวมของธนาคารจะเติบโตคามเป็าที่ระดับ7%

จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"

               นายยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารยู โอบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ธนาคารพร้อมขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ทั้ง 2 ขา คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้

จับตาแบงก์ใหญ่"ลดดอกเบี้ย"