เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

05 ส.ค. 2562 | 23:30 น.

การเขย่าพอร์ตธุรกิจโรงแรมและรีเทล มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ด้วยการโอนอสังหาริมทรัพย์แนวไลฟ์สไตล์ส่วนหนึ่ง จากปัจจุบันที่กลุ่มบริษัททีซีซีฯมีโรงแรมและรีสอร์ตในมือ 51 แห่ง ใน 11 ประเทศ รวมห้องพักกว่า 1 หมื่นห้อง นำออกมา 15 โรงแรมในไทย และรีเทล ในพื้นที่ไพรม์โลเกชันเข้ามาอยู่ในพอร์ตของบริษัท แอส เสทเวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือAWC” ซึ่งกุมบังเหียนโดยทายาทสาววัลลภา ไตรโสรัสและเตรียมนำ AWC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าจะเปิดขาย IPO 6,957 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาทภายในปีนี้

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

 

โฟกัสลงทุนระดับอัพสเกล

แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเจ้าสัวเจริญ ต้องการสร้างมาตรฐานการดำเนินธุรกิจโรงแรม-รีเทล ให้เป็นระบบ ไม่ยึดติดกับความเป็นธุรกิจครอบครัว ภายใต้กลยุทธ์AWC Transformation” ที่ในภาพใหญ่เน้นการปรับโครง สร้างองค์กร (คอร์ปอเรต ทรานส์ฟอร์เมชัน) การทำแผนธุรกิจเพื่อรองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดด ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็นกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ เป็นที่ชื่นชมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเน้นการลงทุนระยะยาวที่สร้างคุณค่าและเติบโต ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน (Build a better Future)

นี่เองทำให้โครงการลงทุนของ AWC จึงโฟกัสเฉพาะโครง การคุณภาพ ที่จะมีส่วนในการยกระดับโครงสร้างของประเทศ จึงเห็นว่าโรงแรมของ AWC ทั้ง หมด 14 แห่งที่เปิดให้บริการแล้ว ครอบคลุม 10 เดสติเนชัน ท่องเที่ยว ล้วนมีตำแหน่งทาง การตลาดในระดับมิดสเกลไปจนถึงระดับ Upper ซึ่งบริหารโดยเชนโรงแรมระดับท็อปของโลก

 

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

 

 

ทุ่ม4หมื่นล.ผุด13โปรเจ็กต์

ทั้งยังมีแผนลงทุนใหม่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกร่วม 13 โรงแรม มูลค่าการลงทุนราว 4 หมื่นล้านบาท ในช่วง 3 ปีนี้ ซึ่งกว่าจะเปิดโรงแรมทั้งหมดก็คาดว่าจะใช้เวลาราว 5 ปี ซึ่งมีทั้งการซื้อและโอนย้ายโรงแรมในบริษัททีซีซีฯ มาเป็นของ AWC และการสร้างโรงแรมใหม่ ส่งผลภาย ในปี 2568 จะมีโรงแรมที่เปิดให้บริการทั้งหมดรวม 27 แห่ง มีจำนวนห้องพักราว 8,506 ห้อง จากปัจจุบันมีห้องพักที่เปิดให้บริการอยู่ราว 4,960 ห้อง

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

อีกทั้งในแต่ละปี AWC  ยังตั้งงบการลงทุนเพิ่มเติมอีกปีละราว 1 หมื่นล้านบาท สำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ที่เพิ่มจาก 13 โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาดังกล่าวด้วย นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ยํ้าว่า กว่า 30 ปีที่ทีซีซี ลงทุนในอสังหาริม ทรัพย์ และปีนี้เราโฟกัสให้ AWC นำร่องการเติบโตด้าน ไลฟ์สไตล์ เรียลเอสเตท ของกลุ่มทีซีซี โดยบาลานซ์การสร้างรายได้ใน 2 ด้าน คือด้านรีเทล และธุรกิจโรงแรม เพื่อสร้างกระแสเงินสด และรองรับการลงทุนมิกซ์ ดีเวลอปเมนต์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการลงทุนต่างๆ เรามองผลตอบแทนในการลงทุน IRR อยู่ที่ 12% และด้วยการลงทุนไซซ์ใหญ่ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาโครงการของเราจะอยู่ที่ครึ่งหนึ่งจากตลาดที่ทำได้

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

 

6 เชนขายตรงไม่เสียค่า OTA

ขณะเดียวกันการมี 6 โรงแรมเชนร่วมเป็นพันธมิตรที่เราดึงมาบริหารโรงแรมให้ ได้แก่ แมริออท อินเตอร์คอนติเนนทัล บันยันทรี ฮิลตัน โอกุระ มีเลีย ที่ล้วนเป็นเชนโรงแรมระดับโลก มีฐานลูกค้าเป็นสมาชิกรวมกว่า 290 ล้านคนทั่วโลก ทำให้เรามีความเข้มแข็งด้านการขายและการตลาด ส่งผลให้เรามีรายได้จากไดเร็กต์บุ๊กกิ้งสูงถึง 55% ทำให้เรามีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ที่ตํ่า  เพราะไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชั่น 20-30% เหมือนโรงแรมอื่นที่ขายผ่านออนไลน์ทราเวล เอเยนต์ (OTA) จึงทำให้ AWC มีรายได้จากธุรกิจโรงแรมที่สูง ซึ่งก็ถือว่าเราทรานส์ฟอร์มในเรื่องนี้ได้ก่อนทำ ให้ไม่ได้รับผลกระทบต่อการจ่ายค่าคอมมิสชันให้ OTAเหมือนธุรกิจโรงแรมทั่วไป

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

 “ในพอร์ตโรงแรมที่เราเน้นระดับอัพสเกล ไม่เน้นโรงแรมระดับกลางลงมา เพราะมองว่ามีการแข่งขันสูง และได้ราคาขายไม่ดี และในส่วนของโรงแรมเดิมที่มีอยู่ ก็จะรีแบรนด์มาใช้แบรนด์ระดับกลางถึงบนขึ้นไป เพราะเห็นชัดเจนว่าหลังการรีแบรนด์ อย่าง การรีแบรนด์อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค เป็นโรงแรมแมริออท มาร์คีส์ เฉลี่ยแล้วโรงแรมนั้นๆ จะมีรายได้เพิ่มจากเดิมถึง 5เท่านางวัลลภา กล่าว

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม

สำหรับรายได้ของ AWC กว่า 1.2 หมื่นล้านบาทต่อปี 60% เป็นรายได้จากธุรกิจโรงแรม อีก 40% เป็นรายได้จากรีเทล โดยในปีที่ผ่านมาทั้ง 14 โรงแรมที่เปิดให้บริการอยู่ สร้างรายได้ราว 7.86 พันล้านบาท ซึ่งรายได้จากโรงแรมที่เป็นไมซ์โฮเต็ล คิดเป็นสัดส่วน 52% ตามมาด้วยซิตีโฮเต็ล 16.5% ลักชัวรี โฮเต็ล11% ที่เหลือเป็นรายได้จากตลาดเลเชอร์ และมีถึง 11 โรงแรม ที่มี ADR (ค่าเฉลี่ยในการขายห้องพัก) สูงกว่า 120%

ประกอบกับในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตของรายได้ในธุรกิจโรงแรมอยู่ที่ราว 35% และอิบิตดา (กำไรก่อนหักดอก เบี้ยและค่าเสื่อม) ในส่วนของธุรกิจโรงแรมเติบโต 33% และด้วยการเติบโตของการท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของประเทศ ทำให้ AWC ยังมองโอกาสในการลงทุนโรงแรมอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

รายงาน โดย ธนวรรณ วินัยเสถียร 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3493 วันที่ 4-7 สิงหาคม 2562

เปิดแนวรุก ‘เจ้าสัวเจริญ’  ทรานส์ฟอร์มธุรกิจโรงแรม