ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

25 กรกฎาคม 2562

ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

“Rabo Research” ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของธนาคารราโบ (Rabo Bank) เนเธอร์แลนด์รายงานว่าในปี 2560 ทั่วโลกสามารถผลิตผลไม้ได้ 825 ล้านตัน ประเทศจีนเป็นผู้ผลิตผลไม้อันดับหนึ่งของโลกสัดส่วน 32% ตามด้วยอินเดีย 11% และบราซิล 4% ตามมาด้วย สหรัฐฯ ตุรกี เม็กซิโก สเปน อินโดนีเซีย อิตาลี และฟิลิปปินส์

ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

ในส่วนของอินเดียสามารถผลิตผลไม้ได้หลากหลายชนิดติดอันดับต้นๆ ของโลก ที่ผลิตได้อันดับ 1 ของโลก เช่น มะม่วง กล้วย และมะนาว (ไม่ใช่ผลไม้แต่ผลิตอันดับหนึ่งของโลก) อันดับ 2 โลก ได้แก่  ข้าว  ข้าวสาลี หอมใหญ่  มะเขือเทศ รัฐที่สามารถผลิตผลไม้ได้มากที่สุดก็คือรัฐ Tamil Nadu ร้อยละ 14 ของผลผลิตผลไม้ทั้งหมด ตามด้วยรัฐ Andhra Pradesh ร้อยละ 14 รัฐ Maharashtra ร้อยละ 12 รัฐ Gujarat ร้อยละ 10 รัฐ Karnataka ร้อยละ 9 และ รัฐ Uttar Pradesh ร้อยละ 8

ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

 

ปี 2561 อินเดียส่งออกผลไม้ไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มูลค่า 281 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 20.95 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้ทั้งหมด ตามมาด้วย เนเธอร์แลนด์ด้วยมูลค่าส่งออก 207 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 13.31 ซาอุฯ 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 13.06 ตามลำดับ

 

สำหรับไทยเป็นตลาดส่งออกผลไม้อันดับที่ 25 ของอินเดีย โดยมูลค่าส่งออกผลไม้มายังประเทศไทยมีมูลค่า 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้ทั้งหมดของอินเดีย ได้แก่ องุ่น ตามมาด้วยทับทิม

 

อินเดียมีการนำเข้าผลไม้เพิ่มขึ้นทุกปี จากระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์เป็น 4,000 ล้านดอลลาร์ (ปี 2560) ส่วนใหญ่นำเข้าจากอเมริกาสัดส่วนร้อยละ 22 ได้แก่ การนำเข้าถั่วประเภทต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 81 ของการนำเข้าจากอเมริกาทั้งหมด  (ส่วนใหญ่เป็นถั่วอัลมอนด์) และร้อยละ 14 เป็นโกตดิวัวร์ (Cote d lvoire) เป็นมะพร้าวสดและผลิตภัณฑ์มะพร้าวคิดเป็นร้อยละ 99 และอันดับ 3 เป็นการนำเข้าจากประเทศแทนซาเนีย (Tanzania) ร้อยละ 6.7 ส่วนใหญ่ยังเป็นมะพร้าว

ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

 

สำหรับประเทศในอาเซียน อินเดียนำเข้าผลไม้จากประเทศอินโดนีเซียคิดเป็นร้อยละ 56 เป็นมะพร้าว ตามด้วยร้อยละ 20 จากเมียนมาซึ่งเป็นถั่ว และเวียดนามร้อยละ 17 เป็นมะพร้าวสด และตามด้วยไทยเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน  คิดเป็นร้อยละ 4.8 ส่วนใหญ่เป็นมะขาม มังคุค และฝรั่ง

ตลาดการส่งผักและผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชี(ตามสื่ออินเดีย) คือ  “Asadpur Wholesale Market” ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองนิวเดลลี 50 กม. ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชม. ตั้งเมื่อปี 1977 มีผู้ประกอบการจำนวน 4,000 บริษัท และมีผู้นำเข้าผลไม้จากต่างประเทศจำนวน 200 บริษัท ขนาดพื้นที่ 225 ไร่ ขายวันละ 4.8 ล้านตัน เป็นผลไม้ 2.2 ล้านตัน และผัก 2.6 ล้านตัน มีร้านค้าทั้ง 1,366 ร้าน (ร้านเล็ก 928 ร้าน ร้านใหญ่ 438 ร้าน) ผู้ค้าส่งจำนวน 1,544 ราย พ่อค้าคนกลาง (Commission Agent) 2,121 ราย ห้องเย็น 6 แห่ง ซื้อขายผลไม้ 68 ชนิด และผัก 50 ชนิด มีรถขนส่งเข้าออกวันละมากกว่า 5,000 คัน มีคนเข้ามาซื้อของ 100,000 คนต่อวัน แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีการซื้อขายมากสุดปีละ 7 แสนตัน ตามด้วยมันฝรั่ง 6 แสนตันต่อปี หอมแดง 4 แสนตันต่อปี และกล้วย 5 หมื่นตัน

ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

ตลาดแห่งนี้ มีตัวละครที่เกี่ยวข้อง 6 กลุ่มคือ เกษตรกร พ่อค้าคนกลาง หรือที่เรียกว่า “Commission agent หรือ Arhtiyas” ผู้ค้าส่งรายใหญ่ ผู้ค้าส่งรายย่อย ผู้ค้าปลีกรายย่อย และ คณะกรรมการตลาดและผลิตสินค้าเกษตรของรัฐบาล (Agricultural Produce Marketing Committee : APMC) ตลาดนี้ซื้อขายกันด้วยวิธีการประมูล โดย Arthiyas ประมูลจากเกษตรกร โดยคิดค่าใช้จ่าย 5-10% ของมูลค่าการซื้อขาย + ค่าจัดจ่าย + ค่าธรรมเนียมของ APMC 1% ของมูลค่าขาย

 

 Dr. Mahammed Wasim Siddiqui จาก “Bihar Agriculture University” เขียนหนังสือเรื่อง “Posthavest Quality Assurance of Fruits” บอกว่าตลาดแห่งนี้มีประเด็น   6 ประเด็นที่น่าติดตามคือ 1.ไม่มีการคัดเลือกตัดเกรด และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะเห็นว่ามีการบรรจุกล่องถูกบรรจุมาจากในสวนของเกษตรกรมาแล้ว 2.ห้องเย็นมีไม่พอ หากปริมาณของผักและผลไม้ที่เยอะมาก แต่มีห้องเย็นเพียง 6 แห่ง (ส่วนใหญ่อยู่นอกตลาด) ทำให้เปอร์เซ็นต์การสูญเสียผักและผลไม้ต่อวันค่อนข้างสูงมาก (10-20% ของปริมาณซื้อขาย)

ชี้ช่องบุกผลไม้ไทยในอินเดีย อีก 1 ตลาดใหญ่ที่ยังเปิดกว้าง

 

 3.ขาดแรงจูงใจให้ทำสินค้าคุณภาพ สินค้าส่วนใหญ่จะไม่มีการแบ่งเกรดคุณภาพ  4. ถูกควบคุมและผูกขาดโดย APMC และ Commission Agent  5.การประมูลราคาไม่มีความโปร่งใส่ เพราะราคาที่เกษตรได้รับทราบจากผู้ ซึ่งไม่ได้เป็นราคาจริงจากการประมูล 6.ไม่มีความสะอาด ทั้งกองขยะเน่าเสีย วัว และการวางขายบนพื้น

 

 สำหรับเส้นทางในการขนส่งผลไม้ไทยเข้ามาในอินเดียหากเป็นมังคุจะโดยทางเครื่องบิน และหากเป็นมะขามหวานนำเข้าจากท่าเรือมุมไบ (ใช้เวลา 15 วันจากท่าเรือแหลมฉบัง) และใช้เวลาอีก 2 วันในการขนส่งสินค้าไปที่นิวเดลลี (ผลไม้ที่อยู่ภายใต้กรอบ FTA ไทยอินเดียที่ภาษีเป็นศูนย์ คือ เงาะ มังคุ ลำไย ทุเรียน องุ่น แอปเปิล และทับทิม)

 

ผมพอจะสรุปได้ว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการสำหรับการเจาะตลาดผลไม้อินเดียคือ 1.จัดกิจกรรม “Taste the Best Fruits”  2. พบปะกลุ่มเกษตรกรไทยกับผู้นำเข้าอินเดีย เพราะขณะนี้ผู้นำเข้าอินเดียต้องการรู้จักผู้ผลิตแต่ไม่สามารถหาช่องทางในการรู้จักกันได้ 3. ไทยควรสร้าง “Thailand Pavilion” เพื่อแสดงศักยภาพของผลไม้ไทย และประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักได้กว้างขวางมากขึ้น ตัวอย่าง กรณีทุเรียนไทย ผู้นำเข้าอินเดียไม่รู้จัก แต่มีความสนใจ 4.ให้ข้อมูลและรู้จัก ผลไม้ไทย กับผู้นำเข้าและผู้บริโภคอินเดียให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างกรณี ทุเรียนไทย ที่คนอินเดียไม่รู้ 5.ใช้เที่ยวบิน “Low Cost” ในการขนส่งผลไม้ไทย เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง รักษาความสดใหม่ของผลไม้ถึงมือผู้บริโภคอินเดียได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาในการขนส่ง