ชาวสวนเมืองคอนเฮ! กยท.เปิดจุดนำร่องซื้อน้ำยางสด 15 ก.ค.

13 ก.ค. 2562 | 08:00 น.

ข่าวดี! ส้มหล่นใส่ชาวสวนเมืองคอน บิ๊ก กยท.เปิดจุดนำร่องจังหวัดแรกซื้อน้ำยางสด 15 ก.ค.นี้ ป้อนกระทรวงกลาโหม 1.7 หมื่นตัน ใช้ราคากลางประกาศรับซื้อ เผยสาเหตุเลือกจังหวัดนี้ เพราะมีโรงงานน้ำยางข้นเอง อนาคตคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อทยอยมาเรื่อยๆ จะเปิดจุดจังหวัดต่อไป

เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นชอบให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกร สถาบันเกษตรกร จำนวน 1.7 หมื่นตันป้อนกระทรวงกลาโหมเพื่อทำถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ ซึ่งคำสั่งซื้อจะเริ่มเปิดในวันที่ 15 ก.ค.นี้

ชาวสวนเมืองคอนเฮ! กยท.เปิดจุดนำร่องซื้อน้ำยางสด 15 ก.ค.

วันที่ 13 ก.ค.2562 นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านบริหาร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากนโยบายดังกล่าวที่ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซื้อน้ำยางสดในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ ผลการประชุมได้มีมติเห็นชอบที่เปิดจุดรับซื้อน้ำยางสด ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนำร่องก่อน จำนวน 1.7 หมื่นตัน 

ชาวสวนเมืองคอนเฮ! กยท.เปิดจุดนำร่องซื้อน้ำยางสด 15 ก.ค.

"เป็นปกติที่เริ่มจังหวัดนี้ก่อน มาจากโครงการเดิมของรัฐบาลที่ผ่านมาก็ใช้จังหวัดนครศรีธรรมราชนำร่อง ที่สำคัญมีโรงงานน้ำยางข้นของ กยท.  หากในอนาคตมีคำสั่งซื้อมาจากหน่วยงานของรัฐใช้เพิ่มเติมก็จะเปิดจังหวัดอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ แต่เชื่อว่าโครงการของรัฐบาลจะมีมาเรื่อยๆ"

ชาวสวนเมืองคอนเฮ! กยท.เปิดจุดนำร่องซื้อน้ำยางสด 15 ก.ค.

นายสุนันท์ กล่าวอีกว่า สำหรับราคาที่รับซื้อน้ำยางสดจะต้องซื้อในราคากลาง ที่ กยท.กำหนด ก็คือจะประกาศราคาทุกวันผ่านเว็บไซต์ กยท.ก่อนเวลา 9.00 น. เมื่อประชุมเสร็จแล้วได้มอบหมายให้การยางเขตภาคใต้ตอนกลาง กับการยางจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นผู้ดำเนินงานในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ในการดำเนินงานจะมีรายชื่อสถาบันเกษตรกรกันอยู่แล้วให้ดำเนินการประชุมกันเองแล้วแจกจ่ายโควตากันเองตามศักยภาพของแต่ละสถาบัน

ชาวสวนเมืองคอนเฮ! กยท.เปิดจุดนำร่องซื้อน้ำยางสด 15 ก.ค.

อนึ่ง ยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยางพาราประมาณ 22 ล้านไร่ (ครอบคลุมกว่า 60 จังหวัด) และสามารถผลิตยางธรรมชาติได้ 4.4 ล้านตัน โดยผลผลิตดังกล่าวได้สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่มีอยู่จำนวน 1.6 ล้านครัวเรือน (หรือ 6 ล้านคน) ประมาณ 3 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 200,000 คน และในแต่ละปี “ยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ยาง” สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศไม่น้อยกว่า 400,000 ล้านบาท จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง และ ยะลา