ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

04 ก.ค. 2562 | 14:00 น.

อธิบดีกรมปศุสัตว์ประชุมคอนเฟอร์แรสซ์ โชว์ความสำเร็จสกัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เน้นสร้างการรับรู้เชิงรุก ให้เจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ย้ำ ”รู้โรคเร็ว แจ้งเรื่องเร็ว ควบคุมโรคได้เร็ว” ชี้หากสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้ จะเป็นโอกาสทางธุรกิจเพิ่มส่งออก

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

วันที่ 4 ก.ค. 2562 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้เข้าร่วมประชุมทางไกลออนไลน์ (Web Conference) เรื่อง การชี้แจงแนวทางการควบคุม กำจัด ป้องกันและแก้ไขปัญหา โรคระบาดในพืชและสัตว์ โดยมีนายสุรจิตต์ อินทรชิต รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมฯ จากในช่วงฤดูฝนได้เกิดสถานการณ์ความเสี่ยงของการระบาดทั้งโรคพืชและโรคสัตว์ในหลายพื้นที่ต่างๆ หนึ่งในโรคที่กรมปศุสัตว์เฝ้าระวัง ก็คือ "โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร" โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการจัดชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่เสี่ยงให้ปฏิบัติหน้าทีอย่างเข้มแข็งและฉับไว เพื่อเป็นการควบคุม กำจัด ป้องกันและปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เน้นย้ำว่า "รู้โรคเร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมโรคได้เร็ว" ปัจจุบันสถานการณ์ยังควบคุมไม่ได้มีแนวโน้มจะขยายเป็นวงกว้าง

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท กรมจะจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเวรในการปฎิบัติงานสอบสวนทางระบาดวิทยาเบื้องต้นและเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ในกรณีได้รับแจ้งสัตว์ป่วยตายจากการตามนิยามหรือพบวิการจากการเฝ้าระวังที่โรงฆ่าสัตว์และอบรมให้ความรู้เกษตรกรรายย่อย  ซ้อมแผน (Functional Exercise) Functional Exercise) Functional Exercise) Functional Exercise) และประชาสัมพันธ์ผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผ่านเสียงตามสาย ประจำหมู่บ้าน ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบโดยทั่ว

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) แก่ด่านกักกันสัตว์ในพื่นที่เสี่ยงที่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการสร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะสำหรับขนส่งปศุสัตว์ที่ด่านกักสัตว์ชายแดน ใน 5 จังหวัดเป้าหมาย เพื่อสร้างปราการป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้ามาทำลายภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยได้อย่างเด็ดขาด

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

นายสัตวแพทย์สรวิศ  กล่าวว่า หากไม่มีแผนการรับมือที่ดี จะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป เนื้อสุกรมีชีวิต คิดเป็นมูลค่า ปีละ 5,050 ล้านบาท ด้านธุรกิจเวชภัณฑ์ ปีละ 2,100 ล้านบาท ด้านธุรกิจอาหารสัตว์ปีละ 4 หมื่นล้านบาท  และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรเป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลาการฟื้นฟูนาน แต่หากมีแผนป้องกันที่ดี เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท กล่าวคือประเทศเพื่อนบ้านต้องการสุกรมากขึ้น ส่งออกเพิ่ม และราคาในประเทศเพิ่มขึ้น

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

“โรค ASF แม้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่เป็นโรคระบาดร้ายแรงในสุกร ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและควบคุมโรค เชื้อโรคทนทานในผลิตภัณฑ์จากสุกรและสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 210,978 ราย เป็นเกษตรกรรายย่อย 208,192 ราย เลี้ยงสุกรขุน 80,000 ตัว สุกรพันธุ์ 63,000 ตัว ลูกสุกร 733,000 ตัว เป็นเกษตรกรรายใหญ่ 2,758 ราย เลี้ยงสุกรขุน 8,800,000 ตัว สุกรพันธุ์ 1,137,000 ตัว และลูกสุกร 4,670,000 ตัว ดังนั้นหากเกิดการระบาดของโรคแล้วทำลายสุกร กรณีเกิดโรคร้อยละ 30 ของสุกรที่เลี้ยง เสียหายรวม 21,168 ล้านบาท กรณีเกิดโรคร้อยละ 50 ของสุกรที่เลี้ยง เสียหายรวม 35,280 ล้านบาท หากเกิดโรคร้อยละ 80​ของสุกรที่เลี้ยงเสียหายรวม 56,448 ล้านบาท และถ้าเกิดการระบาดทั้งหมดจะเสียหายรวม 70,560 ล้านบาท”

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน

หากประเทศไทยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี รวมทั้งระบบการทำลายสุกรที่เป็นโรคและซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดเป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านภาคการผลิตด้านปศุสัตว์ของไทยให้ได้ผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจให้แก่เกษตรกรและเป็นการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

ไทยคุมโรคเข้ม!ผวาอุตสาหกรรมหมูเจ๊ง 5 หมื่นล้าน