ผวานิรโทษ ‘เรือประมงพื้นบ้าน’ แสนลำจ่อตีทะเบียน

04 ก.ค. 2562 | 03:20 น.

ปมร้อนระอุ นายก “กำจร” แฉ หลังจากนายกสมาพันธ์พื้นบ้านปูด เผยกลางเวทีลั่น ยังมีเรือเถื่อนเพียบกว่าแสนลำจ่อขึ้นทะเบียน ผงะ! ออกโรงค้าน ผวารัฐ 2 มาตรฐาน ชี้ต้องคุมกำเนิด ยังโยนคำถามกลับใครกันแน่ทำปลาทูวิกฤติ 4-5 ปี อนุรักษ์ไร้ผล 

ผวานิรโทษ ‘เรือประมงพื้นบ้าน’ แสนลำจ่อตีทะเบียน

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 22/2560 ประเทศไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมมาอย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินการในครั้งนี้มุ่งเน้นให้มีการตรวจสอบเรือประมงและจัดทำอัตลักษณ์เรือประมงให้เกิดความถูกต้อง และสร้างความเชื่อมั่นของนานาประเทศและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศปัจจุบันมีเรือที่ใช้ทำการประมงที่มีทะเบียนเรือ และใบอนุญาตใช้เรือที่ระบุว่าขนาดไม่ถึง 10 ตันกรอส มีจำนวน 2.2 หมื่นลำ

ผวานิรโทษ ‘เรือประมงพื้นบ้าน’ แสนลำจ่อตีทะเบียน

ดังนั้นเพื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้เปิดรับลงทะเบียนให้เจ้าของเรือประมง ยื่นใบคำร้อง ก.5 พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของเรือ หรือผู้แทนหนังสือมอบอำนาจ สำเนาใบทะเบียนเรือไทย สำเนาใบอนุญาตใช้เรือหรือสำเนาใบสำคัญการรับรองการตรวจเรือฉบับปีปัจจุบัน โดยลงนามรับรองเอกสารทุกฉบับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบนัดหมายวันและเวลา พร้อมทั้งระบุพื้นที่จอดเรือเพื่อทำการตรวจสอบเรือ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.-31 ก.ค.2562

ผวานิรโทษ ‘เรือประมงพื้นบ้าน’ แสนลำจ่อตีทะเบียน

นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ผมไม่กลัวหากมีเรือประมงพื้นบ้านวัดขนาดเกิน แล้วจะต้องมาเข้าระบบเรือประมงพาณิชย์ แต่ห่วงว่าเรือประมงพื้นบ้านที่ไม่มีอะไรเลย กว่าแสนลำ กำลังเดือดร้อน นี่เป็นคำพูดของคุณสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ผมนึกว่าฟังผิด หูเพี้ยน ก็เดินไปถามว่าจริงหรือ  เพราะคิดว่าจะมีแค่ 2-3 หมื่นลำเท่านั้น ก็ตอบว่าจริง เพราะมีการต่อเรือทุกวัน เป็นเรือไฟเบอร์

ผวานิรโทษ ‘เรือประมงพื้นบ้าน’ แสนลำจ่อตีทะเบียน

“ผมก็ตกใจ นึกภาพว่าหากกรมเจ้าท่าและกรมประมงจะไปร่วมกันจดทะเบียนให้ใหม่ทั้งหมด ก็มองว่าไม่ใช่แล้ว เพราะควรจะให้เฉพาะกับคนที่มีทะเบียนเดิมเท่านั้น อีกด้านหนึ่งก็มองว่าหากภาครัฐจะจำกัดแค่ประมงพาณิชย์ แต่จะปล่อยปละละเลยกับพื้นบ้าน ก็มองว่าไม่สามารถที่จะรักษาทรัพยากรได้ ดังนั้นเสนอควรจะจัดระเบียบแบบประมงพาณิชย์ กล่าวคือแยกออกเป็น 2 กอง ก็คือ เรือที่มีทะเบียนกับเรือที่ไม่มีทะเบียน เช่นเดียวกับเรือประมงพาณิชย์”

ผวานิรโทษ ‘เรือประมงพื้นบ้าน’ แสนลำจ่อตีทะเบียน

นายกำจร กล่าวอีกว่า ให้ลองคำนวณเล่นๆ หาสาเหตุดูว่า “ปลาทู” หายไปไหน ฝ่ายประมงพื้นบ้านก็กล่าวหาว่าประมงพาณิชย์เป็นตัวการ จริงหรือไม่ ซึ่งอีกฝ่ายอาจจะมองข้าม พื้นที่ชายฝั่ง “ทะเลไทย”มีความยาวกว่า 2,800 กิโลเมตร   หากมีเรือประมงพื้นบ้าน 3-4 หมื่นลำ ตามตัวเลขกรมประมงเดิม ในเครื่องมืออวนลอย คัดออกมาแค่ 6-7 พันลำ วางอวนแค่ 5 กิโลเมตร (ต่ำสุด) ยังไม่หารกับเครื่องมืออื่นๆ แค่คิดคำนวณเครื่องมืออวนลอย เมื่อคำนวณออกมาจะเห็นตัวเลขชัดวางรอบทะเลได้กี่รอบ ผมถามว่าปลาจะเล็ดรอดไปไหนก็ติดพ่อแม่พันธุ์ เพราะอะไรอนุรักษ์มา 4-5 ปี ปลาทูถึงไม่ฟื้น? แล้วเอาแต่โทษประมงพาณิชย์ทำลายล้าง ลองมองภาพจึงถามกลับไปว่าใครกันแน่ที่ทำลายล้าง!!