กลุ่มซื้อลงทุน  ผนึก 3 ขาสู้ LTV

30 มิ.ย. 2562 | 00:05 น.

บิ๊กอสังหาฯพลิกเกมสู้ แอลทีวี หลัง 3 เดือน กำลังซื้อวูบหนัก ค่ายพฤกษา ก่อกำแพง ตั้งหน่วยประสานงาน ระหว่าง เอเยนต์-ผู้ซื้อ-ผู้เช่า ขณะออริจิ้น มองกลุ่มซื้อลงทุน เกาะกลุ่ม วิเคราะห์ทำเล ด้านแบงก์ชาติ ระบุ ยอดซื้อจริงพุ่ง ดับฝัน กลุ่มเก็งกำไร วี.เอ็ม.พี.ซี.กระจายเสี่ยง

จากกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมา สรุป ผลการบังคับใช้ เกณฑ์สินเชื่อใหม่ แอลทีวีนับตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 โดยยืนยันว่า ไม่กระทบบ้านหลังแรก แต่ผู้กู้ 2 หลังขึ้นไปมีปริมาณการซื้อที่ลดลง จากข้อมูล 4 เดือนแรกของปี 2562 พบว่าจำนวนลูกค้าที่ได้รับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ของสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นการขายของ|ผู้ประกอบการ เพื่อดึงดูดผู้ซื้อให้เร่งการตัดสินใจเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ท่าทีธปท. คงไม่ปรับแก้หรือยกเลิกมาตรการ ตามที่ผู้ประกอบการเรียกร้อง ทางออกจึงต้องพลิกเกมสู้ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งผู้ซื้อ นักลงทุน-เก็งกำไร และ ดีเวลอปเปอร์ ในครึ่งปีหลังนี้

กลุ่มซื้อลงทุน   ผนึก 3 ขาสู้ LTV

นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท แวลู เปิดเผยว่า แผนรุกครึ่งปีหลัง เน้นพัฒนาเซ็กเมนต์ราคาสูงมากขึ้นทั้งโครงการแนวราบและแนวสูง เพราะลูกค้ากลุ่มบนไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ โดยคอนโด มิเนียมจะเปิด 9 โครงการ มูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นระดับราคา 7-10 ล้านบาท ประมาณ 4,700 ล้านบาท ซึ่งปีนี้จะนำแบรนด์ไอวี่ ซึ่งเป็นแบรนด์
ไฮเอนด์ของกลุ่มแวลูกลับมาทำตลาดอีกครั้ง อีกกลุ่มราคาที่เน้นอย่างมากคือระดับ 2-3 ล้านบาท ประมาณ 8,000 ล้านบาท เพราะเซ็กเมนต์นี้เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของตลาดคอนโดมิเนียม

ในส่วนบ้านเดี่ยว วางแผนเปิด 9 โครงการ มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมาเซ็กเมนต์ระดับราคา 3-5 ล้านบาทมีสัดส่วนค่อนข้างมาก แต่ปีนี้จะเปิดประมาณ 3,000-3,500 ล้านบาท ส่วนระดับราคา 5-7 ล้านบาท จะเปิดประมาณ 4,000 ล้านบาท และระดับราคา 7-15 ล้านบาท จะเปิดประมาณ 3,500 ล้านบาท

“ปีนี้การเปิดตัวโครง การใหม่ในตลาดคอนโดมิเนียมติดลบ เพราะนักลงทุนและต่างชาติหายไปค่อนข้างมาก จากภาวะเศรษฐกิจและมาตรการรัฐ แต่จะไปโหมกันในไตรมาส 3-4 ของกลุ่มพฤกษาฯเน้นเปิดโครงการที่มีขนาดไม่ใหญ่ ประมาณ 600 ยูนิต แบ่งเป็นเฟสๆ เกิดความคล่องตัวในการขาย และเลือกทำเลที่มีกำลังซื้อ แต่ราคาแข่งขันได้”

นายปิยะ ยํ้าว่าความต้องการที่อยู่อาศัยของคนในกรุงเทพฯและปริมณฑลยังมีอีกมาก แต่ปัจจัยสถานการณ์เศรษฐกิจทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถซื้อได้ ต้องเช่าอยู่ บริษัทได้สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ประสานความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อลงทุนและผู้ที่ต้องการเช่า โดยจัดตั้งหน่วยงานมาดูแลโดยเฉพาะชื่อ “ดีล” ประสานกับเอเยนต์ซึ่งมีลูกค้าทั้งผู้เช่ากับผู้ซื้อลงทุนมาซื้อโครงการของพฤกษา ขณะนี้โครงการที่ประสบความสำเร็จมีพลัม ปิ่นเกล้า และพลัม อะไลฟ์ รังสิต ได้กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ โครงการนี้มีผู้เช่าสูง 70% เต็มตลอด ผลตอบแทนไม่ตํ่ากว่า 5%

นายสิริพงศ์ ศรีสว่างวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาดและการขาย บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า มาตรการรัฐทำให้การทำตลาดอสังหาฯเปลี่ยนไป ขณะนี้คอนโด มิเนียมในตลาดบนราคา 7 ล้านบาทขึ้น การขายค่อนข้างช้าลง เพราะผู้ซื้อใช้เครดิตไม่คล่องตัวเหมือนอดีต การตัดสินใจซื้อก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีและคุ้มค่า ทางออริจิ้นฯปรับแผนการขายโครงการพาร์ค 24 มุ่งเจาะลูกค้านิชมาร์เก็ต ระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้น ด้านกลุ่มลูกค้าที่ซื้อลงทุนในระยะยาวก็คาดว่าต้องปรับตัวเช่นกัน หันมาเกาะกลุ่มและช่วยกันวิเคราะห์โครงการ ราคาเทียบกับทำเล ที่ให้ผลตอบแทนและกำไรส่วนต่างจากการลงทุน เป็นหลัก

นายปริญญา เธียรวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี.เอ็ม.พี.ซี. จำกัด (VMPC) เปิดเผยว่า บริษัท กระจายความเสี่ยง ด้วยการประกอบธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์ทั้งเพื่อขายและให้เช่ามีสัดส่วนรายได้จากอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 60% และอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า 40% โดยในส่วนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย เน้นเจาะตลาดระดับบนหรือกลุ่มไฮเอนด์ โดยแต่ละโครงการตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพติดถนนสายหลัก  

 

หน้า 25-26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ปีที่ 39 ฉบับ 3483 วันที่ 30 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2562

กลุ่มซื้อลงทุน   ผนึก 3 ขาสู้ LTV