“สมคิด” สั่ง ก.อุตฯเน้นช่วยเกษตรแปรรูป/Start up รับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

20 มิ.ย. 2562 | 06:13 น.

รองนายกฯสมคิด สั่งการบ้านกระทรวงอุตสาหกรรมช่วยเหลือภาคเกษตร  ตามรอย ธ.ก.ส. เสริมความเข้มแข็ง  พร้อมช่วยผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ยกระดับสินค้า บุกตลาดต่างประเทศ รองรับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล 

นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์  รองนายกรัฐมนตรี  เดินทางมาที่กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระรวง  และหน่วยงานในสังกัด  โดยในระหว่างการประชุมมอบนโยบายได้ระบุว่า ต้องการให้มีการปรับบทบาทมุ่งเน้นหันไปช่วยเหลือภาคเกษตร ไปสู่เกษตรแปรรูป ด้วยการเข้าไปร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ส่งเสริมหัวขบวนในชุมชนให้เข้มแข็งเป็นหลัก มุ่งช่วยเหลือทั้งด้านเงินทุน บรรจุภัณฑ์ การตลาด ด้วยการยกระดับหน่วยงานในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เข้าไปช่วยเหลือภาคเกษตร กระจายให้ครอบคลุม เพื่อเน้นเกษตรอุตสาหกรรม ด้วยการประสานกับทุกหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือ  

“สมคิด” สั่ง ก.อุตฯเน้นช่วยเกษตรแปรรูป/Start up รับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

นอกจากนี้  กระทรวงจะต้องเปลี่ยนแปลงทั้งการบริหารยุคใหม่ให้ทันประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อแต่งตั้งคระรัฐมนตรี (ครม.)ได้แล้วเสร็จ จะเริ่มเดินหน้าบริหารได้เต็มที่  ดังนั้น จึงต้องการให้ทุกหน่วยงาน ทั้งสถาบันอาหาร สถาบันการศึกษา  และหน่วยงานต่างๆ เตรียมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง  ในเรื่องด้านเกษตรต้องการให้ช่วยเหลือแบบก้าวกระโดด  ต้องการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน ให้เป็นภาคเกษตร 4.0  สำหรับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องนำบุคคลากรที่เชี่ยวชาญมาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ดูแลอุตสาหกรรมเป้าหมาย รองรับนโยบายดิจิตอล one Belt One Road ของจีน 

“2-3 ปีที่ผ่านมา ธ.ก.ส. มีโครงการเข้าไปในชุมชน  เพื่อทำให้ชุมชนเกษตร  และให้สินเชื่อจำนวนมากกับผู้นำเกษตรกร  เพราะฉะนั้นเราจะต้องพยายามเข้าไปช่วยเสริมจุดที่ ธ.ก.ส. ไปให้แข็งแรงขึ้นด้วยงบประมาณแผ่นดิน  หากจะต้องไปเริ่มใหม่ก็จะเป็นการเสียเวลา  และเราเองก็ไม่เชี่ยวชาญเท่ากับ ธ.ก.ส.  โดยจะต้องมีการปรับตัวให้ทำงานกับผู้อื่นแบบบูรณาการ  ซึ่งจากนี้ไปทุกอุตสาหกรรมให้มองเกษตรเป็นเรื่องหลัก ต่อยอดราคาสินค้าเกษตร เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเกษตรเต็มรูปแบบ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ปรับตัวให้เกิดเกษตรกรยุคใหม่ หรือ smart farmer

ทั้งนี้  หลายกรมของกระทรวงควรปรับหน่วยงานระดับภาค รองรับให้เพียงพอในแต่ละภูมิภาคในการดูแลภาคเกษตร   อีกทั้งการเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นคราวหน้า ต้องมีความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบาย Open Innovation Columbus เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ผ่านไทยแลนด์ไซเบอร์พอร์ต  หวังปั้นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 50 ราย ด้วยทุนเริ่มต้น 500 ล้านบาท   ในส่วนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ให้เดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  โดยให้จัดกลุ่มเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุนเพิ่มเติม  

ส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการเขตอีอีซี ในท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง เมื่อผังเมืองเตรียมประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้  เพื่อทำให้การพัฒนาได้รวดเร็วมากขึ้น ด้วยการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่หรือสมาร์ทปาร์ค  การนำสินค้าเกษตรแปรรูป แล้วเก็บไว้จำหน่ายผ่านการใช้ความเย็น LNG มาจัดสร้างห้องเย็นขนาดใหญ่ดูแลภาคเกษตรในภาคตะวันออก  การช่วยเหลือเอสเอ็มอี การจัดการเรื่องขยะ กากของเสีย การสร้างตลาดเอสเอ็มอี

“สมคิด” สั่ง ก.อุตฯเน้นช่วยเกษตรแปรรูป/Start up รับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

นายสมคิดกล่าวต่อไปอีกว่า ภาคเอกชนในเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม ต้องเร่งให้การสนับสนุน กระตุ้นการปรับตัวให้เข้าสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เน้นการใช้ AI และ robotic ผ่านมาตรการจูงใจด้วยการออกมาตราการสำหรับภาคเอกชนที่ต้องการปรับตัว โดยร่วมกับ SME D Bank ในการออกโปรโมชั่นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และสร้างต้นแบบให้ภาคเอกชนเห็นถึงความสำคัญ เพื่อรักษาและเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศ ส่วนผู้ประกอบการรายย่อย ต้องเร่งปรับตัวสู่การผลิตด้วยดิจิทัล

“รัฐบาลต้องดึงให้ภาคเอกชนมาร่วมพัฒนาในเขตที่มีศักยภาพ การนิคมอุตสาหกรรม ต้องนำอุตสาหกรรมเป้าหมายไปลงทุนในพื้นที่เหมะสม จัดหาที่ดินรองรับการตั้งนิคมฯ ของเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพาะเขาเป็นรายย่อย เนื่องจากเอกชนระดับโลกจะไปลงทุนในเขตอุตสาหหกรรมของภาคเอกชน เพื่อสร้างอนาคตให้กับรายย่อย เพื่อสร้างอนาคตให้กับคนตัวเล็ก  เพื่อพัฒนาสินค้าในยุคดิจิตอล ผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ”

นายกอบชัย  สังสิทธิสวัสดิ์  อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม กล่าวว่า เตรียมดึงสถาบันเกษตรกร และหารือกับ ธ.ก.ส. ,ธพว. เพื่อดึงสินค้าภาคเกษตร GI 99 ราย  หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในชุมชน และร่วมมือกับตลาดออนไลน์ บริษัทประชารัฐรักสามัคคี เอกชนรายใหญ่ ร่วมช่วยกันดูแลเกษตรกรแปรรูป และช่วยรับซื้อสินค้าจากชุมชนให้เป็นหน่วยการผลิต ขณะที่รายใหญ่ช่วยส่งเสริมด้านการตลาด   สถาบันอาหารมาช่วยปรับปรุงพัฒนาอาหารชุมชน  ด้วยแผน 3x3 ปั้นจากเเกษตรกรแปรรูปกว่า 55,000 ราย นักธุรกิจเกษตร 15,000 ราย และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร 5,000 ราย นำไปสู่เกษตรแปรรูปเกษตรพันธ์ใหม่ 2,5000 ราย