เรื่องด่วนที่รอไม่ได้ โจทย์ใหญ่ นายกฯใหม่หน้าเดิม

08 มิ.ย. 2562 | 05:00 น.

พล..ประยุทธ์ จันทร์-โอชาได้นั่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ต่อ อีกสมัย หลังที่ประชุมร่วม 2 สภา คือ วุฒิสภา(..) และสภาผู้แทนราษฎร(..) ลงมติด้วยคะแนน 500 เสียง เหนือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่ได้ 244 เสียง

ทำให้เกิดความสบายใจได้ว่านโยบาย มาตรการ โครงการต่างๆ จะได้รับการสานต่อลุยเดินหน้าได้ทันทีอย่างต่อเนื่อง แต่มีอย่างน้อย 4 เรื่อง ที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่หน้าเดิมต้องเร่งเครื่องลุยเต็มสูบไม่ให้สะดุด

 

เจ้าภาพผู้นำอาเซียน

ภารกิจแรกที่ด่วนที่สุด เพราะจวนเจียนจะเริ่มงานแล้ว คือ การเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายนนี้ ที่กรุงเทพฯ งานใหญ่งานนี้จะมีการรับรองเอกสารโดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน 4 ฉบับ และไทยจะต้องออกแถลงการณ์ของประธานการประชุมฯ อีก 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 มิถุนายน 2562 มีมติเห็นชอบ ร่างแถลงการณ์จำนวน 3 ฉบับ

ได้แก่ 1. ร่างวิสัยทัศน์ผู้ นำอาเซียนว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน 2. ร่างเอกสารมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิด อินโด-แปซิฟิก 3. ร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ส่วนอีก 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒน- ธรรมอาเซียน .. 2562 ที่ครม.ให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้แล้ว

 

เร่งพ...งบฯปี 63

ความเร่งด่วนถัดมาคือ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ..2563 หากไม่รีบจะมีปัญหาหนักแน่นอน

งบปี 2563 ครม.เห็นชอบวงเงินเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 จำนวน 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.7% โดยเป็นงบประมาณขาดดุลจำนวน 4.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 2.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5 หมื่นล้านบาท รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 6.2 หมื่นล้านบาท รายจ่ายลงทุน 6.9 แสนล้านบาท รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 8.7 หมื่นล้านบาท รายได้สุทธิ 2.75 ล้านล้านบาท คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวม 3.25 ล้านล้านบาท

โดยปกติปฏิทินงบประมาณประจำปี ...จะต้องแล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนกันยายน เพื่อไม่ให้สะดุด แต่เนื่องจากมีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 กระบวนการต่างๆ ทอดยาวมากว่า 3 เดือน ทำให้กระทบปฏิทินงบประมาณพอสมควร

ทำให้ ครม. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 มีมติ.เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ปรับปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  

 

เรื่องด่วนที่รอไม่ได้  โจทย์ใหญ่  นายกฯใหม่หน้าเดิม     

เนื่องจากจะมีความล่าช้าออกไปประมาณ 3 เดือน ให้ทุกหน่วยงานทบทวนเพิ่มเติม และยืนยันคำของบประมาณให้สำนักงบประมาณในเดือนกรกฎาคมนี้ จากนั้นจึงรวบรวมเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระที่ 1 ปลายเดือนกันยายน 2562 และในวาระที่ 2-3 ต้นเดือนธันวาคม  2562 ก่อนเสนอให้วุฒิสภากลางเดือนธันวาคม 2562 จากนั้นจึงนำร่างพ...งบประมาณฉบับใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณได้เดือนมกราคม 2563”

ทำให้ระหว่างการตั้งครม.ใหม่ หน่วยงานต่างๆ สามารถใช้งบประมาณปี 2562 ไปพลางก่อนได้ ซึ่งตั้งไว้ไม่เกิน 50% สามารถใช้ได้ในส่วนของงบรายจ่ายประจำของแต่ละหน่วยงาน ส่วนโครงการลงทุนใหม่ยังไม่สามารถใช้ได้ เพราะต้องรองบประมาณปี 2563 ประกาศใช้เท่านั้น

 

ปัญหาศก.รอแก้ไข

งานด่วนที่ 3 คือ การ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและราคาสินค้าเกษตร ซึ่งจากข้อมูลของ สำนัก งานเศรษฐกิจการคลังพบว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุดในช่วงไตรมาส 1 ปี 2562 มีแนวโน้มแผ่วตัว อันมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจโลกที่มีการชะลอตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้าและบริการของไทย รวมถึงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ลดลง ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายยังคงอยู่ในระดับสูง

ส่วน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์และประมาณการภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 1/2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 145.8 หรือเพิ่มขึ้น 0.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 145.2 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 127.8 ลดลงจากช่วงเดียวกันที่อยู่ที่ระดับ 128.7 หรือลดลง 0.7%

สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยลดลง ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน ยางแผ่นดิบ ปาล์มนํ้ามัน และ ลำไย โดยข้าวมีราคาลดลงเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น อ้อยโรงงานราคาลดลงตามราคานํ้าตาลของโลกอยู่ในภาวะล้นตลาด ยางแผ่นดิบมีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเนื้อที่เปิดกรีดยางใหม่

ปาล์มนํ้ามันมีผลผลิตออกมาสู่ตลาดมาก และสต๊อกนํ้ามันอยู่ในระดับสูงกว่าสต๊อกเพื่อความมั่นคง ส่วนลำไยมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากจากการผลิตลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้น

 

รับมือสงครามการค้าโลก

และงานเร่งด่วนที่ 4 คือ การรับมือสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งเริ่มมีผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีสั่งการระหว่างการประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้กับผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลกว่า ขอให้ทุกสำนักงานเร่งผลักดันการส่งออกอย่างเต็มที่เพื่อให้การส่งออกปี 2562 ขยายตัวให้ได้ 3% จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายขยายตัว 8% โดยจะต้องเชื่อมโยงการทำงานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการผลักดันการท่องเที่ยวและดึงการลงทุนคู่ขนาน

ทูตพาณิชย์ต้องจัดทำแผนเจาะตลาดรายภูมิภาครวมถึง เมืองรองโดยเฉพาะตลาดอินเดีย-จีน-ฮ่องกง-ไต้หวัน-ญี่ปุ่น-ตลาดอาเซียน

และมอบให้ BOI ตั้งทีมดึงการลงทุน ขึ้นมาเน้นนักลงทุนจีน-ญี่ปุ่น เนื่องจากนักลงทุนกลุ่มนี้กำลังหาแหล่งลงทุนใหม่หลังจากเกิดปัญหาสงครามการค้า ซึ่งหากไม่มาที่ประเทศไทยก็อาจจะย้ายฐานไปยังเวียดนาม

ดังนั้น ไทยควรใช้ วิกฤติให้เป็นโอกาสโดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ จะกลายเป็นโอกาสสำคัญรวมถึงตลาดใหญ่อย่างอินเดียด้วย

 

รายงาน โดย จิรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง

หน้า 14 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,477 วันที่ 9-12 มิถุนายน 2562

เรื่องด่วนที่รอไม่ได้  โจทย์ใหญ่  นายกฯใหม่หน้าเดิม