สศอ.แนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์รับมือสงครามการค้า

28 พ.ค. 2562 | 09:39 น.

สศอ.แนะภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาร่วมมือกันปรับโครงสร้างการผลิต  เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ตลาดต้องการ  พร้อมก้าวไปสู่การเป็นซัพพายเชนของโลก  และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการย้ายฐานการผลิต

สศอ.แนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์รับมือสงครามการค้า

นายอดิทัต  วะสีนนท์  รองผู้อำนวยการ  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนนั้น  สศอ. ต้องการนำเสนอแนวทางการรับมือ  และกลยุท์ในการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ในภาพรวม  ซึ่งในลำดับแรกสศอ. มองเห็นว่าทั้งภาครัฐรวมถึงภาคเอกชน  และสถาบันกาศึกษาจะต้องร่วมมือกันปรับโครงสร้างการผลิต โดยมาตรการต่างๆที่ออกไปเรื่องการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า  เรื่องออโตเมชั่น  และอาหาร  เป็นต้น  เหล่านี้เป็นการปรับตัวไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น  และเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะต้องยอมรับว่าภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายใน 1-2 เดือนจะต้องมีการวางแผนการผลิต 

ทั้งนี้  อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญอย่างมากก็คือ  จะดำเนินการอย่างไรให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันในการนำพาตนเองเข้าไปเป็นหนึ่งในซัพพายเชนของโครงข่ายการผลิตระดับประเทศให้ได้  ซึ่งปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมก็มีความร่วมมือกับหลายประเทศ  เช่น ญี่ปุ่น ,จีนซึ่งมีแผนไปตั้งสำนักงานอุตสาหกรรม  หรือรัสเซียที่จะร่วมมือให้เป็นซัพพายเชนซึ่งกันและกัน  เรียกว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าไทยก้าวไปสู่ซัพพายเชนของโลกให้ได้

สศอ.แนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์รับมือสงครามการค้า

และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิต หากสามารถทำได้จะเป็นภาพใหญ่ที่จะช่วยส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้สามารถปรับตัวได้  เพราะเรื่องสงครามการค้ามีระยะเวลาที่ยาวนาน  ดังนั้น  จึงต้องมีมาตรการที่เป็นภาพรวมในระยะยาว  ส่วนระยะสั้นนั้นในการดูแลผู้ประกอบการ  หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความพยายามเร่งมือกันอย่างเต็มที่  ไม่ว่าจะเป็นการหาตลาดใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่ผู้ประกอบการ  หรือสถานประกอบการสามารถดำเนินการได้ในลำดับแรกคือจะต้องรัดเข็ดขัดตนเอง  รวมถึงเพิ่มผลิตภาพของตน  หรือจะดำเนินการอย่างไรเพื่อลดต้นทุน  มีการเพิ่มนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม  โดยเป็นแนวทางที่ภาคเอกชนจะต้องเร่งดำเนินการ

สศอ.แนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์รับมือสงครามการค้า

นายอดิทัต กล่าวต่อไปอีกว่า สงครามการค้าฯครั้งนี้มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อสินค้าของไทยที่เป็นวัตถุดิบชั้นต้น  ชั้นกลางที่ใช้ในการผลิตของห่วงโซ่อุปทาน  หรือซัพพายเชนของจีนที่จะส่งไปยังสหรัฐฯ เช่น อิเล็กทรอนิกส์  และยาง เป็นต้น  นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมโลจิสก์ติก  โดยเฉพาะทางเรือหากมูลค่าการส่งออกของสหรัฐนและของโลกลดลง  อุตสาหกรรมดังกล่าวนี้ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย  

“โครงสร้างการส่งออกของโลกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง  สหรัฐฯยังส่งออกไปแคนาดาอันดับหนึ่ง  และส่งออกไปยังจีนเป็นอันดับ 3  หรือสหรัฐฯยังคงนำเข้าจากจีนเป็นอันดับหนึ่ง  เพราะฉะนั้นลำดับโครงสร้างยังไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าสงครามการค้าจะมีผลกระทบต่ออัตราการเติบโตบ้างก็ตาม

นายอดิทัต กล่าวต่อไปอีกว่า ล่าสุด สศอ. ได้มีการประบคาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ทั้งปีลงเหลือ 1.5-2.5% จากคาดเดิมที่อยูที่ประมาณ 2.0-3.0% โดยเป็นผลกระทบมาจากสงครามการค้าฯ  การค้าของโลกที่ชะลอตัวลง  การลดเงินอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ (QE) ของประเทศต่างๆ  และการคาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ  หรือจีดีพี  จากองค์กรต่างๆทั้งภายในและต่างประเทศที่ปรับลดลงทั้งหมด