ส่องอุตฯอาหารเสริม 4 แสนล้านแดนปลาดิบ ตีปี๊บไทยเข็น “ของดี”สู้

09 พ.ค. 2562 | 10:07 น.

 

ส่องอุตฯอาหารเสริม 4 แสนล้านแดนปลาดิบ  ตีปี๊บไทยเข็น “ของดี”สู้

ช่วงระหว่างวันที่ 12 – 16 เม.ย. 2562 ผมได้เดินทางไปเก็บข้อมูลบริษัทอาหารเสริมสุขภาพญี่ปุ่น คือบริษัท Hamari Sangyo Co., Ltd ตั้งอยู่ที่ 541-0041 Osaka-shi, Shuo-Ku, Kitaham 2chome Kitahama Matsuoka Building 7floor (ดูรายละเอีดยบริษัทได้ที่ www.hamarichemicals.com) และบริษัท ITOH Kanpo Pharmaceutical Co., Ltd ตั้งอยู่ที่ 2-4-1 Nagatahigashi Higashiosaka City Osaka

สำหรับบริษัท Hamari ผมได้คุยกับคุณ Tokiro Takami ซึ่งเป็นประธานบริษัท ได้ให้ข้อมูลว่า มูลค่าอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพญี่ปุ่น ปี 2560 อยู่ที่ 1.2 ล้านล้านเยน (ประมาณ 4 แสนล้านบาท) แบ่งออกเป็นกลุ่มอาหารบำรุงร่างกาย 761,900 ล้านเยน กลุ่มอาหารทั่วไป 389,000 ล้านเยน และกลุ่มอาหารที่มีสารสกัด 75,400 ล้านเยนและที่เหลือเป็นอาหารสุขภาพอื่น 206,700 ล้านเยน

พร้อมกับให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ ในญี่ปุ่นจะโตอีกมากด้วยเหตุผล 1.ในปี 2020 ที่จะมีกีฬาโอลิมปิกที่โอซากา ทำให้อาหารเสริมนักกีฬาจะมีความต้องการมากยิ่งขึ้นอีก 2.คนญี่ปุ่นต้องการอาหารสุขภาพที่มาจากธรรมชาติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจากสมุนไพร หรือสารสกัดจากสินค้าเกษตร เพราะวัตถุดิบเหล่านี้มาทำเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้อย่างดี 3.เพื่อรองรับรองสังคมผู้สูงอายุ ความต้องการจึงเพิ่มขึ้น

ส่องอุตฯอาหารเสริม 4 แสนล้านแดนปลาดิบ  ตีปี๊บไทยเข็น “ของดี”สู้

 ส่วนหนึ่งอาหารเสริมสุขภาพของญี่ปุ่น

จุดแข็งของบริษัทคือการวิจัยและพัฒนาอย่างละเอียดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง มีเป้าหมายส่งออกในประเทศเอเชีย เพราะในอนาคตคนจะห่วงสุขภาพและนิยมทานมากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้โฆษณาได้แต่ต้องบอกให้ชัดว่าเป็นอาหารสุขภาพหรือยา ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยควรนำทั้งสมุนไพรและสินค้าเกษตรมาสกัด

ในขณะบริษัท ITOH ผู้ให้สัมภาษณ์คือ คุณ Hideki Tagawa ผู้จัดด้านการตลาด บริษัทนี้ตั้งเมื่อปี 1887 เป็นบริษัทเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปีแล้ว เริ่มทำสมุนตั้งแต่แรก เพิ่งมาทำอาหารสุขภาพเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ช่วงแรกนำสมุนไพรในญี่ปุ่น แต่ช่วง 30 ปีหลังอาหารเสริมได้รับความนิยมมาก ซึ่งขายดีกว่าสมุนไพรที่บริษัทผลิต ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 200 คน ผลิตภัณฑ์มากกว่า 200 ชนิด 90% เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ที่เหลือเป็นสมุนไพรประเภทยา คือ แก้ไข้และยาท้องผูก ส่งออกไปประเทศจีน เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ไม่สามารถส่งมาไทยได้เพราะไม่ผ่าน อย. ของไทย เขาต้องการทำตลาดในไทย แต่ไม่มีหุ้นส่วน วัตถุดิบนำเข้ามาจากจีน มีปัญหาเรื่องคุณภาพ สนใจผลไม้ไทยใช้ได้ทุกตัว แต่เนื่องจากนำมาจากจีน เอาขมิ้นชันมาจากอินเดีย

ส่องอุตฯอาหารเสริม 4 แสนล้านแดนปลาดิบ  ตีปี๊บไทยเข็น “ของดี”สู้

เมื่อหันมาดูผลิตภัณฑ์สุขภาพของไทย อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสกัด “เห็ดหลินจือ” แบรนด์ “SAVITA” ของนายหัวเล็ก (อรรถพล สำลีพันธุ์) คนสุราษฎร์ธานี ไปทำไร่ปลูกเห็ดหลินจือและแปรรูปที่จังหวัดเลยจำนวน 30 ไร่ ด้วยผลผลิต 1 ปี ได้ 3 รอบๆ ละ 2 ตัน รวม 1 ปีได้ผลผลิตเห็ดหลินจือ  6 ตัน นอกจากนี้มีการซื้อจากกลุ่มเกษตรกรกิโลกรัม(กก.)ละ 800 บาท ราคาขายหน้าฟาร์ม 1,200 บาทต่อกก. และราคาขายในตลาดอยู่ที่ 2,500 บาทต่อกก.มีเกษตรในเครือข่ายที่มีการควบคุมมาตรฐานการเกษตรที่ดี (GAP) จำนวน 40 ราย มีรายได้เฉลี่ย 10,000 – 30,000 บาทต่อเดือนจากการขายหลินจืดแห้ง (ขึ้นกับขนาดของพื้นที่) ส่วนใหญ่ปลูกเป็นอาชีพหลักในขณะที่อาชีพรองคือปลูกข้าว ผลิตภัณฑ์ “SAVITA” ประกอบด้วย แคปซูล (ถั่งเช่ากับหลินจือ) 60 แคปซูล (1 กล่อง) ราคา 1,500 บาทต่อ 1 ขวด และเห็ดหลินจืดแผ่นสไลค์ขนาด 80 กรัม ราคา 200 บาทต่อซอง

อีกรายเป็นแบรนด์ “Local Mushroom Farm Cafe” ที่ดอยแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ทำเห็ดหลินจือผง เพื่อละลายน้ำกิน และน้ำมันหลินจือเพื่อบำรุงผิว

ทั้งสองกรณีเมื่อมองกับกรณีอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพของญี่ปุ่น ผมพอจะสรุปสิ่งที่ประเทศไทยควรทำเพิ่มเติมคือ 1.สร้างอัตลักษณ์การบริโภคอาหารสุขภาพของไทย เพราะคนไทยยังไม่นิยมบริโภคสมุนไพรไทย แต่นิยมบริโภคสมุนไพรต่างชาติ 2.ต้องพัฒนาและวิจัย “กระชายดำ และไพล” ของไทยในอุตสาหกรรมอาหารเสริมให้มากขึ้น (กระชายดำมีประโยชน์มากกว่าโสมเกาหลี 3 เท่า) 3.นำสมุนไพรไทยเข้าไปผสมกับสินค้าเกษตร เช่น น้ำสับปะรดผสมกระชายดำ หรือกับน้ำผลไม้อื่น หรือ นำหลินจืดผสมกับน้ำผลไม้ไทย เป็นต้น 4.Business Model ของไทยกับญี่ปุ่นต่างกัน บริษัทญี่ปุ่นซื้อวัสดุดิบมาสกัดเอง แต่บริษัทเอาวัสดุดิบให้บริษัทแปรรูปให้

ส่องอุตฯอาหารเสริม 4 แสนล้านแดนปลาดิบ  ตีปี๊บไทยเข็น “ของดี”สู้