‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”

09 พ.ค. 2562 | 03:05 น.

หลังเปิดตัวแคมเปญไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โครงการไฟ-ฟ้า (FAI-FAH) ได้เดินหน้าสานต่อ โดยจัดกิจกรรม “The Ordinary Mission จุดประกายสร้างเด็กธรรมดา” พร้อมจับมือ 5 สถาบันองค์กร เครือข่ายเพื่อเด็กและเยาวชน จัดเวิร์กช้อปร่วมกันถอดองค์ความรู้ของแต่ละองค์กร เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ “คู่มือสร้างเด็กธรรมดาให้สังคม” เพื่อนำไปเผยแพร่สู่พ่อแม่ ครู และบุคคลทั่วไป ให้ได้เห็นถึงแนวทางในการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุตรหลานเป็นเด็กธรรมดาที่มีความสุขในรูปแบบของตนเอง โดยเมื่อสรุปแนวทางเสร็จสิ้น จะจัดทำให้ดาวน์โหลดผ่านช่องทางเว็บไซต์ของมูลนิธิทีเอ็มบี

‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”

สำหรับ 5 สถาบัน องค์กร เครือข่ายเพื่อเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย

1.       Saturday School ห้องเรียนนอกหลักสูตรวันเสาร์ กับพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมและผลักดันคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาศักยภาพสูงสุดอย่างเสมอภาคของเด็กไทย ผ่านกิจกรรมนอกหลักสูตร

2.       Teach For Thailand องค์กรส่งเสริมให้เด็กไทยทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน

3.       EdWINGS ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีความตั้งใจจะเป็นตัวกลาง ในการนำนวัตกรรมที่มีคุณภาพทุกรูปแบบจากนอกห้องเรียนเข้าไปช่วยครูและนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทั่วประเทศ 4.a-chieve ธุรกิจเพื่อสังคมที่ต้องการทำให้นักเรียนมัธยมทั่วประเทศสามารถ เลือกเส้นทางการเรียนและอาชีพทีตนเองรักได้อย่างมั่นใจและตรงกับความชอบ ความถนัดและคุณค่าในชีวิตของตัวเอง

‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”

4.       TED Club by TEDxBangkok พื้นที่แห่งโอกาสสำหรับ “เด็กสมัยนี้” ที่สนับสนุนให้พวกเขาได้บอกเล่าความคิด ตั้งคำถามและส่งต่อไอเดียให้สังคมผ่านเวทีของพวกเขาเอง

5.       Eyedropper Fill บริษัทที่ทำงานด้าน “มัลติมีเดียดีไซน์” ที่สนใจใช้งานศิลปะบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนคลองเตย ผ่านการสร้างห้องเรียนสุดพิเศษให้กับ “เด็กคลองเตย” จนเกิดโปรเจ็กต์ “Connext Klongtoey”

 

นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมห้องเรียนสำหรับพ่อแม่ในการสอนลูกอย่างไรให้เป็นเด็กธรรมดาที่มีความสุข โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ได้มาร่วมกระตุ้นสังคมไทยให้เปิดโอกาสสร้างพื้นที่แก่เด็กธรรมดา พร้อมจุดประกายให้มีพลังในการค้นหาตัวเอง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันชุมชน และสังคมและประเทศชาติ ซึ่งมีพ่อแม่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังอย่างคับคั่ง

‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”

นายแพทย์ประเสริฐ ให้คำแนะนำถึงวิธีการเลี้ยง “เด็กธรรมดา” ให้กลายเป็น “คนธรรมดา” นั่นคือ คนที่เอาตัวรอดได้ ผ่านบันได 7 ชั้น และการพัฒนาเด็ก โดยการมุ่งเน้นสร้างสิ่งที่เรียกว่า EXECUTIVE FUNCTION (EF) หรือ ความสามารถระดับสูงของสมอง ที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้เด็กคนหนึ่งไปได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่งได้หรือไม่ในอนาคต การสร้าง EF จะทำได้มากสุดในช่วงอายุตั้งแต่ 4-7 ปี และแข็งแรงเต็มที่เมื่อมีอายุ 25 ปี โดยช่วงวัยก่อนนั้น พ่อแม่ต้องสร้างฐานที่แข็งแรงให้ลูก จากกติกาสำคัญ 3 ข้อคือ พัฒนาการเป็นลำดับขั้น ช่วงเวลาวิกฤติ และหน้าที่

“พัฒนาการเป็นลำดับชั้น เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยเชื่อ แต่ถ้าเราทำชั้นที่หนึ่งแข็งแรง ชั้นถัดไปจะแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าลงทุนชั้นแรกเยอะ ชั้นต่อไปจะลงทุนน้อยลง ถ้าเราทำชั้นที่หนึ่งไม่แข็งแรงเวลาล้มจะพังครืน และโจทย์เรื่องเวลาวิกฤติ เป็นช่วงที่เรามีหน้าที่ต้องทำ หากปล่อยให้ล่วงเลยจะหมดโอกาส แม้พ่อแม่จะต้องทำงานหาเงิน แต่ต้องบริหารเวลาให้สมดุล สุดท้ายคือ หน้าที่ ในแต่ละชั้นของการพัฒนาเด็กจะหน้าที่ ซึ่งพ่อแม่ต้องปล่อยให้ทำเพื่อจะพัฒนาสู่ช่วงชั้นถัดไปอย่างง่ายๆ”

พัฒนาการของเด็กในช่วง 3 ปีแรกมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในขวบปีแรก ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องรักษาสมดุลระหว่างการทำงานหาเงิน และการเลี้ยงลูกให้ดี ซึ่งวงจร EF แบบง่ายๆ จะเริ่มตั้งแต่เด็กมีอายุ 3 เดือน ด้วยการสร้างสายสัมพันธ์ให้รู้ว่าแม่มีจริง และสร้างความไว้ใจที่มีต่อแม่และโลก ก่อนจะพัฒนาเป็นวงจรที่ซับซ้อนขึ้น ในช่วงอายุ 8 เดือน ก็จะเรียนรู้มีปฏิกิริยาสองขั้นตอนคือ การหยุดแล้วเปลี่ยน เป็นการเลิกทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หันไปทำสิ่งที่มีประโยชน์ โดยในช่วงของการพัฒนานั้น “แม่” มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงต้องเริ่มที่แม่เป็นอันดับแรก และในช่วงแรกเกิดจนถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่มีสำคัญอย่างยิ่ง จึงมีคำพูดว่า ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สร้างเสร็จเมื่อ 3 ขวบ พ่อแม่จึงต้องใช้เวลากับลูกให้เต็มที่

‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”

สิ่งสำคัญในการเลี้ยงลูกต้องไม่กดดัน หรือเปรียบเทียบ เพราะในช่วงวัยหนึ่งเด็กจะพัฒนาโดยอัตโนมัติ หน้าที่ของพ่อแม่คือ การสอนให้รู้เรื่องกาลเทศะ กฎกติกามารยาทในสิ่งทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ไม่ควรมีข้อห้ามที่มากเกินไป ปล่อยให้มีการลองผิดลองถูก เพื่อทดสอบพลังกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งสำหรับการก้าวต่อไป ซึ่งหากมีการกดดันหรือเปรียบเทียบ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ควรเป็นล่าช้า หรืออาจถึงขั้นถดถอย

“เราไม่เปรียบเทียบเลี้ยงลูกสบายๆ ไม่มีอะไรต้องเร่งเลยแม้แต่น้อย มีงานต้องทำอยู่แค่เรื่องเดียวคือ สร้างวินัย นอกจากนั้น เราปล่อยให้พัฒนาตามเส้นทางของเด็กธรรมดา ไม่มีอะไรต้องเร่งตั้งแต่แรก ถ้าเร่งถูกคนก็รอดตัวไป ถ้าเร่งผิดคนเด็กคนนั้นจะถดถอย การสร้าง EF ขึ้นอยู่กับความใจถึงของพ่อแม่ ยอมให้เสี่ยงเยอะก็สร้างได้เยอะ เพราะมันคือ การกำหนดเป้าหมาย แล้วควบคุมตัวเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย”

‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”

การเล่นและการทำงานบ้าน เป็นต้นทางของการสร้าง EF ที่ดี เพราะการเล่นทำให้ได้ปลดปล่อย ขณะที่การทำงานบ้านไม่ใช่เรื่องสนุก ซึ่งความสามารถที่จะเอาชนะความขี้เกียจและไม่สนุกได้ก็คือ EF ต้องพยายามฝึกให้ได้ก่อนอายุ 7 ขวบ เป็นการสร้างเด็กธรรมดา โดยเมื่อกลับมาถึงบ้านให้ทำงานแล้วค่อยเล่น ให้เจอของไม่สนุกก่อนไปเล่นสนุก นี่คือวิธีสร้าง EF ในบ้าน เริ่มได้ตั้งแต่ 3 ขวบไปจนถึงอายุ 18 ปี เพื่อสร้างสมองที่ดี ไม่ได้หมายถึงฉลาด แต่มี สร้าง EF ที่ดี ทำให้เด็กควบคุมตัวเองไปจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่เขาเป็นผู้กำหนดเอง

‘ทีเอ็มบี’ เปิดพื้นที่ระดมไอเดีย สานต่อแคมเปญ “เด็กธรรมดา...คือสิ่งสวยงาม”